Sunday, September 24, 2006
Definitions of Overthrow and Coup D'etat
คนไทยยังคงสับสนและใช้ปนกันอยู่ ระหว่างคำว่าปฏิวัติ และ รัฐประหาร บางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร วันนี้โอกาสดีมาจำแนกคร่าวๆให้ฟัง
ปฏิวัติ [V] overthrow, See also: stage a revolution, Syn. เปลี่ยนแปลง, ปฏิรูป, Example: ผู้นำทหารปฏิวัติไม่สำเร็จเลยต้องหนีออกนอกประเทศ
รัฐประหาร [N] coup d'etat, See also: overthrow a government, Example: การขึ้นสู่อำนาจของเขานั้นไม่ใช่ได้มาโดยการทำรัฐประหาร แต่ได้มาโดยการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปัญญาชน, Thai definition: การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
revolution [N] การปฏิวัติ, Syn. mutiny, rebellion, revolt
revolution [N] การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง, Syn. innovation, transformation
revolution [N] การหมุนหนึ่งรอบ, Syn. circle, rotation
revolution [N] วัฏจักร, Syn. cycle
coup [N] รัฐประหาร, See also: ปฏิวัติ, Syn. revolution, overthrow
coup d'etat [N] การรัฐประหาร, See also: การชิงอำนาจ, การปฏิวัติ, Syn. putsch, takeover
*coup d'etat อ่านว่า คู-เด-ทา
อันนี้อย่าไปอ่าน โค-ดี-แต๊ด นะครับ มีเพื่อนผมอ่านผิดเยอะมาก ผมก็อดขำไม่ได้ บางคนไปเรียนต่างประเทศตั้งนาน แต่ก็เข้าใจครับ คำพวกนี้ ประเทศเจริญแล้วเขาไม่ค่อยเจอครับ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2541 ให้ความหมายทั้ง 2 คำนี้ไว้ว่า
คำ : รัฐประหาร
เสียง : รัด-ถะ-ปฺระ-หาน; รัด-ปฺระ-หาน
คำตั้ง : รัฐ; รัฐ-
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา :
นิยาม : การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง :  98/4/2
คำ : ปฏิวัติ
เสียง : ปะ-ติ-วัด
คำตั้ง : ปฏิวัติ
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ป. ปฏิวตฺติ)
นิยาม : การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง :  98/4/2
ซึ่งเราจะใช้ในโอกาสต่างๆดังนี้ (จริงๆแล้วถ้าไม่ได้ใช้จะดีกว่า)
ปฏิวัติ ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและล้มล้างระบบการปกครองเดิม ไปสู่การปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ ประชาธิปไตย"
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ สังคมนิยม"
"สังคมนิยม ไปสู่ ประชาธิปไตย"
ในไทยเคยมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือเมื่อปี 2475 คณะราฎร ล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตย
รัฐประหาร ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและดำเนินการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลไปสู่รัฐบาลใหม่ โดยที่ยังคงระบบการปกครองเดิมไว้
แถม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่ยกเลิกไป http://www.local.moi.go.th/law1.htm
http://www.gamer-gate.net/index.php?a=bbs&b=view&id=31454&p=1
ซึ่งจริง ๆ จะเห็นว่าไม่ใช่คนอื่น ๆ หรอกครับที่ยังไม่เข้าใจ ผมเองก็เรียกผิดเยอะครับระหว่างปฏิวัติ กับรัฐประหาร ไม่เชื่อดูบทความผมสิครับ :) แต่เอาเถอะครับ ผมไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์เอกภาษาไทยเหมือนกับอาจารย์ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพิ่มเติมข้อมูลการปฏิวัติ-กบฏ-รัฐประหารในประเทศไทยนะครับ
-ปฎิวัติ 1 ครั้ง (4 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร)
-กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฎ ร.ศ.130
2.กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)
3.กบฎนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)
5. กบฎเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พย. 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)
8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)
10.กบฎ 26 มีนาคม 2520
11.กบฎยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)
12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)
-รัฐประหาร 8 ครั้ง -> 9 times
1.พ.อ. พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิ.ย. 2476)
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พ.ย. 2490)
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พ.ย. 2494)
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)
6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)
7.พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)
8.พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)
9. พลเอกสนธิ ในปี2549 นั่นเอง
Comments:
<< Home
แต่ความเห็นผม นะวันนี้ ยังถือว่าเป็นการปฏิวัติ
แต่หากมีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจไปยังรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญที่มีการเลือกตั้งนั่นล่ะถึงจะแปรสภาพเป็นการปฏิรูป
เพราะ ข้ออ้างว่าเป็นการปฏิรูปนั้นสามารถโฆษณาชวนเชื่อหลอกกันได้
เพราะยังไม่มีหลักประกันว่าจะเปลี่ยนไปเป็นระบอบการปกครองเดิมจริงๆ
แต่หากมีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจไปยังรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญที่มีการเลือกตั้งนั่นล่ะถึงจะแปรสภาพเป็นการปฏิรูป
เพราะ ข้ออ้างว่าเป็นการปฏิรูปนั้นสามารถโฆษณาชวนเชื่อหลอกกันได้
เพราะยังไม่มีหลักประกันว่าจะเปลี่ยนไปเป็นระบอบการปกครองเดิมจริงๆ
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
ส่วนตัวผม ผมมองว่าไม่ใช่ทั้งปฎิวัติ และ ปฎิรูปน่ะครับ
ปฎิวัติ ไม่น่าใช่คำนี้แน่ ถ้าอ่านจากบทความข้างต้นของผม
ส่วนปฎิรูป ก็แล้วแต่ว่าคนชนะเขาจะตั้งชื่อน่ะครับ เขาอยากให้ชื่ออะไรก็แล้วแต่เขาน่ะครับ
ส่วนตัวน่าจะเชื่อว่าต้องใช้ชื่อว่า Coup D'etat หรือ รัฐประหาร เพราะว่าตรงที่สุด ตรงมากกว่า Coup De Grace อีกครับ
อันนี้คือที่ผมคิด ความเห็นส่วนตัวผม แต่ผมไม่ใช่คนเรียนมาทางด้านภาษาศาสตร์ เอกภาษาไทยโดยตรง ไม่มีPh.D.ด้านภาษาไทยมารองรับ เพราะงั้นผมก็ไม่การีนตีครับ เป็นความเห็นของผมเท่านั้นน่ะครับ
Post a Comment
ส่วนตัวผม ผมมองว่าไม่ใช่ทั้งปฎิวัติ และ ปฎิรูปน่ะครับ
ปฎิวัติ ไม่น่าใช่คำนี้แน่ ถ้าอ่านจากบทความข้างต้นของผม
ส่วนปฎิรูป ก็แล้วแต่ว่าคนชนะเขาจะตั้งชื่อน่ะครับ เขาอยากให้ชื่ออะไรก็แล้วแต่เขาน่ะครับ
ส่วนตัวน่าจะเชื่อว่าต้องใช้ชื่อว่า Coup D'etat หรือ รัฐประหาร เพราะว่าตรงที่สุด ตรงมากกว่า Coup De Grace อีกครับ
อันนี้คือที่ผมคิด ความเห็นส่วนตัวผม แต่ผมไม่ใช่คนเรียนมาทางด้านภาษาศาสตร์ เอกภาษาไทยโดยตรง ไม่มีPh.D.ด้านภาษาไทยมารองรับ เพราะงั้นผมก็ไม่การีนตีครับ เป็นความเห็นของผมเท่านั้นน่ะครับ
<< Home