Saturday, September 30, 2006

 

UIUC Ph.D. Candidate View

-

วันนี้ได้เข้าไปอ่านบทความของว่าที่ด๊อกเตอร์ทางกฏหมายอีกท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Illinois Urbana-Champaign (UIUC), United States (คุณ POL_US)

เลยเอามาให้อ่านครับ ว่าเขาคิดเห็นอย่างไร และแตกต่างหรือเหมือนกับแนวความคิดของผมอย่างไร

"ผมว่านะ .... กงล้อประวัติศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรอก ... คอยติดตามดูแล้วกัน ..... ตั้งแต่ในอดีตมา 'รัฐประหาร ... ประชาชนยินดี ... ผู้นำรัฐประหารพยายามครองอำนาจและแสวงประโยชน์ ... ผู้ยึดอำนาจหรือพวกพ้องร่ำรวยล้นฟ้า .... ประชาชนเพิ่งรู้สึกตัว .... เรียกร้องประชาธิปไตย ..... ตามด้วยประชาธิปไตยเบ่งแบนแบบสุด ๆ จนดูเหมือนไร้ขอบเขต ..... คอรับชั่นแพร่หลาย มากับนักการเมืองที่เรามองว่าชั่ว ...... แล้วก็รัฐประหาร .............ประชาชนออกมายินดี ........'

กงล้อประวัติศาสตร์ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง .... แล้วคุณจะกลับไปอยู่ในวงล้ออย่างนั้นหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ใจจะไขว่คว้าครับ "

"Thailand subjected to evil circle at all the time as my following elaborated:

Notorious corruption problems in politics -- Coup d'tate -- No protest; no violence; greeting by people who hate civilian government -- Attempt to continously dominate political mechanism by coup leader -- Publicly protesting by people -- Democracy plus anarchy -- Notorious corruption problems in politics again. "


บางท่านอาจจะคิดและตั้งคำถามกับผมว่า แล้วไม่มีกลุ่มคนที่องค์ความรู้ใกล้เคียงผม (หรือมากกว่าผม) มีความเห็นต่างกับผมบ้างหรือ?

ผมก็เรียนตามตรงว่าก็ต้องมีอยู่แล้วครับ เพราะว่าบางทีการเลือกข้างที่ตัวเองชอบ ก็ไม่ได้มาจากฐานทางความรู้ที่มีอย่างเดียว อาจจะมีปัจจัยอื่นเป็นตัวส่งผลเข้ามามากมาย มิติของความรู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นฐานของการตัดสินใจ แต่สุดท้ายแล้ว บุคคลนั้น ๆ ก็จะเอาหลาย ๆ อย่างเข้ามาในการตัดสินใจของตัวเอง

ซึ่งผมไม่กล้าบอกหรอกครับ ว่าความคิดเห็นของผมต้องถูกต้อง หรือในมิติกลับกันก็คือความคิดเห็นต่างกับผมต้องไม่ถูกต้อง

แต่ผมเคราพความเห็นต่างกับผมนะ คุณอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร ผมไม่ซีเรียส และผมก็ยินดีที่จะเคราพความเห็นของผู้อื่น ให้เกียรติความคิดของผู้อื่น

ผมว่าอันนี้สำคัญมาก เป็นสิ่งที่คนไทยควรจะต้องมี ถ้าเราไม่ให้เกียรติกัน สังคมเราเดินไปไหนไม่ได้หรอกครับ

เชื่อผมเถอะครับ

"I may not agree with what you say, but to your death I will defend your right to say it."

Voltaire: 1694-1778; Fr. Writer and philosopher


และขอฝากไว้อีกอย่างครับ


ว่ามิติของการให้ความรู้จะทำให้ประเทศไทยยั่งยืน แต่มิติการให้ความ
dramatize มิติของการไม่ให้เกียรติความรู้ผู้อื่น จะทำให้ชาติพัง และแตกเป็นเสี่ยง ๆ


Friday, September 29, 2006

 

Oxford Ph.D. View

-

วันนี้พึ่งพูดถึงมหาวิทยาลัยOxfordไป ไม่ทันไร มีคนรู้จักที่เป็นคนต่างชาติที่เรียนจบPh.D.จากOxford ก็อีเมลมาหาเลย ไม่รู้ทำไมบังเอิญจังเลย

ผมตัดเอาข้อความบางส่วนจากอีเมลผม มาให้อ่านกันสนุก ๆ ล่ะกันครับ ว่าในมุมมองของคนต่างชาติจบการศึกษาระดับPh.D.จากOxford

ว่าเขาคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้


" I'm looking forward to see what changes the Coup leaders have brought about.


Thailand has never been short on ruthless generals with a lust to rule. By my calculation since 1932 when clique of army officers overthrew the last absolute monarch, Thailand has suffered 18 coups.


I guess the Coup will be unpopular with the farmers and with the poor but popular with the people of Bangkok, who have long wanted Thaksin out. (I was certainly no great admirer of his corruption but liked his work with the poor and his attenpt to crack down on the terrorists in the South). But I have a great concern that Thailand 's young democracy once again is in the hands of the army.


Some argue that Thailand's generals did the right thing they removed Thaksin whose business dealings tarnished his government, and they have resolved a political stalemate that had paralyzed Thailand for all of this year.

But I wonder if by going outside the democratic system to save Thailand, the now ruling "old guard"the military leadership and its backers in the Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy has done more harm than good.


For a start, they have shown an apparent indifference toward the majority of Thais, especially the rural population that still staunchly supports Thaksin. Their voices have been silenced by the refusal of the Council to hold a fresh ballot for at least a year.


Equally troubling is that the Council has bypassed or undermined democratic institutions such as parliament and the Constitutional Court, which renders judgment on issues such as the validity of elections.


The Council says fresh elections will be held in a year; that's too long to wait. It is only through a return to genuinely accountable, elected government that Thailand can have long-lasting stability and prosperity. A house full of mice eating at the foundations of Thailand's democracy is a health hazard to all."


คุณ ๆ ท่าน ๆ อ่านกันแล้ว คิดเห็นกันอย่างไรล่ะครับ??

ไว้อาลัยหรือว่าดีใจกับเหตุการณ์ Coup d'etat ครั้งนี้กันเหรอครับ

เหอ ๆ


สำหรับตัวผมเอง ผมคงไม่บอกว่าผมเห็นด้วยหรือเห็นต่างกับมิติความเห็นข้างต้น แต่ที่แน่ ๆ คือผมเคราพในความเห็นของเขา ผมเคราพความเห็นของผู้อื่น ที่แม้ว่าจะเหมือนหรือไม่เหมือนตัวผมเองก็ตาม

แต่ผมก็เคราพ และยินดีรับฟังครับ

Thursday, September 28, 2006

 

Students at Oxford regret coup

-

ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเราแตกความคิดเห็นออกเป็นสองฝั่งอย่างDramatize และทำให้เกิดการดูถูกกันระหว่างกลุ่มอย่างรุนแรงเฉกเช่นปัจจุบัน เกิดการไม่ให้เกียรติทางความคิดของกลุ่มบคคลฝั่งตรงข้าม

ยกตัวอย่างเช่น

ว่ากลุ่มหนึ่งเขลากว่ากลุ่มของตัวเองบ้างล่ะ อีกกลุ่มหนึ่งมิติขององค์ความรู้ไม่พอบ้างล่ะ หรืออีกกลุ่มไม่มีการศึกษาพอบ้าง มิติการคิดต่ำกว่าStandardบ้างล่ะ


บางท่านไปดูถูกกลุ่มรากหญ้าบ้างว่าไม่มีความรู้

บางท่านก็ไปดูถูกกลุ่มพันธมิตรบ้าง ว่าเชื่อใดยไม่ใช้สติ


ผมมีความเชื่อมั่นว่ามิติของการดูถูกกันอย่างนี้ ผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่าจะนำพาให้สังคมเราแตกเป็นเสี่ยง ๆ

สังคมที่ความคิดDramatizeเกินไป ไม่ใช้เหตุและผลในการแก้ปัญหา ไม่เคราพให้เกียรติผู้อื่น เป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ เป็นสังคมที่ขาดหลักที่จะยึดเหนี่ยวสังคม


ผมสมมติว่าถ้าเกิดเราไม่มีหลักของสังคมที่เป็นตัวยึดประเทศไว้ แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ประเทศไทยเราจะอยู่ได้อย่างไร น่าเป็นห่วง



บางทีไม่ได้เกี่ยวกับความรู้ไม่พอหรอกครับ แต่บางทีคนเรามองเหรียญสองด้าน แต่คนล่ะมิติการมองเท่านั้นเองล่ะครับ


ประเด็นคือสิ่งที่เราควรทำคือการเคราพสิทธิของบุคคลฝ่ายตรงข้าม

เคราพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง รู้จักการให้เกียรติความคิดของบุคคลฝ่ายตรงข้าม อันนี้สำคัญครับ


ผมเชื่อว่าถ้าสังคมเราไม่ให้เกียรติกันแล้ว สังคมเราอยู่กันไม่ได้หรอก บ้านเมืองเราจะเดินไปข้างหน้าไม่ได้หรอกครับ


อันนี้ผมเชื่อเป็นการส่วนตัว ว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหน หรือฝั่งที่เป็นกลางจริง ๆ ทุกฝ่ายก็อยากให้บ้านเมืองเราอยู่กับล่องกับลอย ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง


แต่อาจต่างกันที่มิติของการImplement ต่างกันด้วยกลยุทธวิธีการของแต่ล่ะบุคคล


วันนี้ผมเลยเอาความเห็นของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่น่าจะเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นบุคคลที่เขลา มาให้อ่านกันครับ เป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยOxford


ที่ ๆ เดียวกับที่ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับปริญญาโทมา ก่อนที่ปัจจุบันจะมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์นั่นแหละครับ


หรือก็คือที่เดียวกับ Tony Blair, PM of UK นั่นแหละครับ ที่เดียวกัน


Oxford - A discussion group of postgraduate Thai students at Oxford University, called "Oxford Initiative" (OI) said at a meeting last Thursday that the group was in the process of issuing a statement to express disagreement with the coup. The monthly informal discussion, which was held at the Royal Oak pub on Woodstock Road, represented the first reaction to the coup from Thai students in the United Kingdom


Speaking on condition of anonymity, a leading Oxford Initiative member said he regretted that the Thai military had chosen to achieve political ends through non-democratic means.


"I don't understand why the problem cannot be solved through a dialogue and people's participation. Democracy cannot exist without people expressing their views. So I'm preparing a statement to express the group's disagreement with the coup,'' said a member of Oxford Initiative.


Another member of the OI said that there had been informal talks within the Thai students' community at Oxford, but most of them hesitated to express their views publicly. The same student admitted that the current state of political situation in Thailand was not so conductive to students voicing critical views of the political situation. As a result Oxford Initiative emerged as the only group to put forward their views to the media.


All OI members hope that the Council for Democratic Reform (CDR) will return a civilian rule to Thailand as soon as possible. "I hope that the CDR will allow the Thai people to have their say as soon as possible,'' an OI member said.

The Nation

หรือว่ากลุ่มนักศึกษาOxfordกลุ่มนี้ จะเขลาเท่ากับกลุ่มที่คุณไม่เห็นด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ (รึเปล่าครับ)


ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน


ผมคิดว่าวันนี้เราเล่นการเมืองเกินจุดที่เราควรเล่น คือเราเล่นกันแบบหมดหน้าตัก


คือไม่เอาจนตัวเองตายก็ต้องเอาอีกฝั่งให้ตายให้ได้ ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมโดยรวมเสีย ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย มันจะเป็นแผลในใจของคนกลุ่มนึง


ซึ่งอาจจะคือกลุ่มที่แพ้กลุ่มไหนก็ตาม ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา เป็นคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

 

Ultraman vs Coup

-












Ultraman: We want democracy back, and therefore we will kick you out from Thailand now.

Coup: Freeze now!! We have many tanks to attack you if you don't freeze.

Ultraman: No. We will fight until we got the democratical country back.

Coup: Fight back!!!!!!!

เห็นรูปนี้ผมก็อดขำไม่ได้ อันนี้ไม่ได้เห็นด้วยหรือในทางตรงข้ามผมก็ไม่ได้เห็นต่างอะไรในตัวรูปนี้นะครับ กล่าวคือไม่ได้มีนัยยะทางการเมืองไทยแต่อย่างใด แต่เห็นแล้วก็ขำจริง ๆ ครับ ว่าคนคิดเรื่องนี้ คิดได้อย่างไร แถมมีแปลงร่างให้ดูอีก



เชื่อเลยว่า

"Imagination is more important than knowledge"


วันนี้คลายเครียดวันนึงนะครับ เดี๋ยวคนอ่านจะเครียดกันที่เอาแต่เนื้อหาวิชาการมาให้อ่านกันเยอะไป การเมืองต้องอย่าไปซีเรียสกับมันมากครับ

If you feel serious about Thai politics, I suggest you to take a deep breath and chill out.

Wednesday, September 27, 2006

 

What is Democracy?

-

วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับคำว่าประชาธิปไตยกันเถอะครับ ว่าความหมายของตัวประชาธิปไตยเอง หมายถึงอย่างไร

Definition of Democracy:

Democracy, from wikipedia website, (literally "rule by the people", from the Greek demos, "people," and kratos, "rule") is a form of government for a nation state, or for an organization in which all the citizens have a vote or voice in shaping policy.

เห็นหลายคนเข้าใจความหมาย Democracyไปในตามความเข้าใจของตัวเอง ผมเลยเอาความรู้เรื่อง Democracy ที่เป็นสากลมาให้ดูกันครับ ไม่รู้ว่าจะเบื่อกันไหม ถ้าน่าเบื่อก็ขออภัยด้วยครับ

บางท่านบอกว่ารู้จัก Democracy ดี ใครบ้างเอ๋ยที่จะรู้ว่า Democracy มีด้วยกันกี่ชนิดด้วยกัน

1. Direct

Direct democracy is a political system where the citizens vote on all major policy decisions. It is called direct because, in the classical forms, there are no intermediaries or representatives. Current examples include many small civic organizations (like college faculties) and town meetings in New England (usually in towns under 10,000 population).

2. Representative

Representative democracy is so named because the people select representatives to a governing body. Representatives may be chosen by the electorate as a whole (as in many proportional systems) or represent a particular district or constituency), with some systems using a combination of the two. Some representative democracies also incorporate some elements of direct democracy, such as referenda.

Liberal

Liberal democracy is a representative democracy (with free and fair elections) along with the protection of minorities, the rule of law, a separation of powers, and protection of liberties (thus the name liberal) of speech, assembly, religion, and property. Conversely, an illiberal democracy is one where the protections that form a liberal democracy are either nonexistent, or not enforced. The experience in some post-Soviet states drew attention to the phenomenon, although it is not of recent origin. Napoleon for example used plebiscites to ratify his imperial decisions.


หลักการของระบบประชาธิปไตยประกอบด้วย 5 หลักการคือ

1. หลักเสียงข้างมากที่รับฟังเสียงข้างน้อย (Majority Rule and Minority Right)

2. หลักเสรีภาพ (Rule of Freedom) ทุกคนมีเสรีภาพในการครองชีวิต ที่ไม่ไปละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น

3. หลักเสมอภาค (Rule of Equity) ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการบริการพื้นฐานของรัฐเท่าเทียมกัน

4. หลักผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง (Popular Sovereignty) เพราะผู้บริหารที่มาปกครองบ้านเมืองเป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง และทำสัญญาประชาคมกับประชาชนว่าจะมาทำงานใดให้กับประชาชน

5. หลักกฎหมาย (Rule of Law) กฎหมายที่ออกมาต้องบังคับใช้กับทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียมกัน

เอาล่ะ ถ้าเรามาCompareกับบ้านเมืองเราดู เรามาดูว่ารัฐบาลทักษิน เข้ากับหลักข้อไหน และไม่เข้ากับหลักข้อไหนบ้าง

หรือถ้าอีกมิติหนึ่งก็คือว่าคปป.หรือรสช.จะเข้าหรือไม่เข้ากับหลักข้อไหนบ้าง อันนี้ผมให้แต่ล่ะคนวิเคราะห์กันเองนะครับผม

อ๊ะ ๆ จะมาถามผมล่ะสิ ว่าผมคิดเห็นอย่างไร ไม่ตอบหรอก รู้หน่า จะจัดข้างให้ผมใช่ไหมล่ะ :P ยังไงก็ปล่อยผมอยู่ตรงกลางเป็นคนให้ความรู้คนอื่น ๆ ล่ะกันนะครับ

ไม่รู้จะทำให้หลายคนง่วงนอนไหม เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนล่ะกันครับ

Monday, September 25, 2006

 

มูชาราฟ ปัดข่าวรัฐประหารระหว่างไปต่างประเทศ

-

" ประธานาธิบดีเปรเวซ มูชาราฟ ของปากีสถาน ออกมาปฏิเสธข่าวลือที่ว่ามีการก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทหารของเขาในช่วงที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกา พร้อมกับย้อนถามผู้สื่อข่าวว่า ปากีสถานเป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือถึงได้เกิดรัฐประหารง่าย ๆ "


อันนี้ผมไม่ได้กล่าวเองนะครับ แต่เป็นประธานาธิบดีเปรเวซ มูชาราฟ ของปากีสถาน ณ วันที่26 September 2549 วันนี้พอดีตื่นขึ้นมาลองมาอ่านข่าว ก็เจอเขาเขียนอย่างนี้ ฟังแล้ว ก็นึกสงสารประเทศเราเหมือนกันเนอะครับ เจอขนาดประเทศปากีสถานยังพูดอย่างนี้เลย เหมือนเขาตั้งใจจะว่ากระทบชิ่งเราเลย ว่า

"ปากีสถานเป็นประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศไทยหรือ ถึงได้เกิดรัฐประหารง่าย ๆ อย่าเอาประเทศปากีสถานไปเทียบกับประเทศเยี่ยงนั้น ผมรับไม่ได้"



บางคนมาถามผมว่าประเทศไทยเรา จะย้อนกลับไปกี่ปี บางคนบอกย้อนไป10ปี บางคนบอก15ปี

โดยส่วนตัวผม ในแง่ของเศรษฐกิจหรือในแง่สังคม ผมคงตอบไม่ได้ว่าย้อนไปไกลขนาดไหน แต่ถ้าผมมองในแง่ความเติบโตของระบอบประชาธิปไตยของไทยเรา ผมมองว่ามันย้อนไป15-39ปี อันนี้ ผมมีเหตุผลในมิติคำตอบของผมเอง ไว้ว่าง ๆ เดี๋ยวจะมาตอบเหตุผลล่ะกันครับ ว่าทำไมผมคิดอย่างนั้น

บางคนก็บอก "We stepped backward to move forward" โอเค ผมก็ฟังนะ ผมก็คิดอยากให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เถอะ แม้ว่าทางวิชาการแล้วมันจะเป็นไปไม่ได้ก็ตาม

เมื่อวานก็นั่งถกกับเพื่อนต่างชาติเรื่องนี้ เขาถามคำถามที่ผมไม่รู้จะตอบยังไงมาหลายคำถาม ไว้จะเอามาเล่าสู่กันฟังด้วยเช่นกันครับ


Sunday, September 24, 2006

 

Update News

-

ผมจะUpdateในหัวข้อ Future Political Analysis - Questions and Answers ที่อยู่รองล่างสุดเป็นหลักนะครับ ถ้ามีคนไหนถามผมมา มาจะเอาลงหัวข้อนี้เป็นหลักครับ

เพิ่มเติมครับ : ว่าผมเอามาแบ่งเป็นหัวข้อด้านบนด้วย เพื่อที่จะได้อ่านง่าย ๆ ครับ

ติดตามUpdateได้ครับ เขียนหัวข้อนี้ขึ้นมาตั้งแต่ตอนวันที่23 September ครับ แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มเติมบางคำถามแทรกเข้าไป อาจจะยาวหน่อย แต่ก็ให้คนอ่านถือว่าคล้าย ๆ กับเป็นการเรียนประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ แทรกกับความรู้ทางกฏหมายไปในตัวครับ ไม่รู้คนอ่านจะเบื่อกันไหม ยังไงก็ขอให้สนุกกับการอ่านบทความผมล่ะกันครับ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

 

Power as aphrodisiac, particularly Coup Power

-

History, after all, presents many examples of military men who have found it hard to give up the power they seized.

In Pakistan, Gen Pervez Musharraf overthrew Prime Minister Nawaz Sharif in 1999 and named himself president in 2001.

He was elected to a five-year term in 2002 but - despite international and domestic pressure - has reneged on a promise to relinquish his role as head of the army.

In Chile, Gen Augusto Pinochet seized power in 1973 and finally left office in 1990, after his surprise defeat in a 1988 plebiscite which he intended would grant him a further eight years in office.

For eight years after leaving power he remained commander-in-chief of the army, immune from prosecution or removal, and then became a senator-for-life.

Nigeria's former military ruler Ibrahim Babangida - who has said he will stand in next April's presidential elections - came to power in a 1985 coup and was only toppled in 1993 by mass protests.

Power as aphrodisiac

Richard Reeve, an Africa analyst at the London-based Chatham House think-tank, says the military leaders involved in coups often remain in charge far longer than they themselves initially envisaged.

"Very often they don't intend to stay in power when they seize power - it's that old 'power as an aphrodisiac' thing. Once you have it, it's hard to give up. There's also a fear of prosecution [if they leave power].

"It's very hard to go back to your previous life as a soldier, so you would be looking for a financial pay-off, an amnesty or to keep the power yourself."

The length of time a coup leader stays in power may also depend on the size of the force behind him, Mr Reeve says, with larger, more structured armies better equipped to take over the role of government.

"There's often a feeling that the military is a more permanent institution than the political institution," Mr Reeve said.

Although Gen Sonthi and his military council have proposed a 12-month timetable for a return to a democracy, only time will tell if they stick to that commitment.


ขออภัยคนที่ไม่ชอบอ่านภาษาอังกฤษนะครับ แต่พอดีsourceมาเป็นภาษาอังกฤษน่ะครับ

http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5368328.stm


กล่าวโดยสรุปก็คืออย่างที่ผมกล่าวไปน่ะครับ ว่าบางทีเจ้าตัวที่มีอำนาจอยู่ ก็ไม่ได้อยากอยู่หรือครับ แต่ว่าจะลงก็ไม่ได้ เพราะว่าก็กลัว จะอยู่ก็จะโดนอำนาจประชาชนไล่ คือทั้งขึ้นทั้งล่อง ประวัติศาสตร์เขียนไว้ชัดครับ

อันนี้ค่อนข้างWorld Wide ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของไทยอย่างเดียวหรอกครับ ผมคิดอย่างนี้ แต่ถ้าถามไปถึงเรื่องการลงอำนาจของทหาร ว่าลงเมื่อไหร่ หลายคนถาม ว่าเขาจะลงเมื่อไหร่ ต่อให้ผมเป็นคปป. หรือ รสช.

ผมก็คงบอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน

แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งยากครับ ไม่ง่าย ยุทธวิธีที่มีอยู่ ผมว่าไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหานี้ได้ครับ


 

Democracy


ผมไปเจอการDiscussกันระหว่างสองกลุ่มความเห็นในแง่มิติของระบอบประชาธิปไตย และเห็นแง่มุมของคุณคนหนึ่ง น่าสนใจ เลยเอามาให้ดูครับ

"Do not try to give excuses to your ignorance of the essence of democracy by quoting countries like China, Japan, and US. First, have you been working or studying in China, Japan, and US?

Will you be willing to live in China 10-20 years ago, when they gunned down students in the Square??

We only accept China, as of today, because we see it is heading more and more towards democracy where the country and people respect the free speech and freedom of others, within the limit that no others' rights are violated.

Ask Taiwanese today if they wanna join China like Hong Kong, they will say, "yeah, maybe if China become more democratic."


It has nothing to do with following the developed to every inches of details. It is about democracy was taken away from the people. And my rights and others are violated badly, when the constitution was revoked.

Quoting "Thai style" is not the excuse to get away with this issue.

We are not discussing how to build best environment-friendly autos, or best industry QCs(none of which Thailand is ever good at, anyhow), we are discussing democracy and fundamental rights.
"

โดยส่วนตัวสำหรับผม ผมว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร จะดีหรือไม่ดีอย่างไร มันคงเป็นปรัชญาที่เถียงกันไม่จบ ไม่ว่าในClassปรัชญาต่าง ๆ ก็คงถกกันได้นาน แต่แต่จากประวัติศาสตร์โลกและของไทย จากสิ่งที่เรามีประสบการณ์ และการสังเคราะห์ทางวิชาการนั้น

พบว่าการที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สามารถมีอำนาจเหนือคนกลุ่มอื่นๆในประเทศหรือสังคม ล้วนอันตราย

โดยเฉพาะเมื่อคนกลุ่มนั้นถืออาวุธไว้ เฉกเช่นทหาร ไว้ผมจะเอาประวัติศาสตร์การทำใช้กำลังเข้ายึดอำนาจของต่างประเทศมาให้ดูกัน

การแทรกแซงโดยกลุ่มผู้มีอาวุธนั้นล้วนอันตราย
และไม่เคยจบลงแบบดีๆ สักครั้งเดียว การCheck and Balanceที่ขาดหายไป จะทำให้สังคมแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ
ผมไม่อยากให้ประเทศไทยเป็นอย่างนั้น แต่ผมคงไม่สามารถ Shape ประเทศให้ไปทิศทางนั้น ๆ ได้โดยตัวผมเอง ผมทำได้แต่ให้ความรู้แก่คนอื่น ๆ ให้ทัศนะของผม แล้วก็ให้สังคมส่วนใหญ่เป็นคนตัดสินใจไป

 

Definitions of Overthrow and Coup D'etat


คนไทยยังคงสับสนและใช้ปนกันอยู่ ระหว่างคำว่าปฏิวัติ และ รัฐประหาร บางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร วันนี้โอกาสดีมาจำแนกคร่าวๆให้ฟัง

ปฏิวัติ [V] overthrow, See also: stage a revolution, Syn. เปลี่ยนแปลง, ปฏิรูป, Example: ผู้นำทหารปฏิวัติไม่สำเร็จเลยต้องหนีออกนอกประเทศ

รัฐประหาร [N] coup d'etat, See also: overthrow a government, Example: การขึ้นสู่อำนาจของเขานั้นไม่ใช่ได้มาโดยการทำรัฐประหาร แต่ได้มาโดยการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปัญญาชน, Thai definition: การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

revolution [N] การปฏิวัติ, Syn. mutiny, rebellion, revolt
revolution [N] การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง, Syn. innovation, transformation
revolution [N] การหมุนหนึ่งรอบ, Syn. circle, rotation
revolution [N] วัฏจักร, Syn. cycle

coup [N] รัฐประหาร, See also: ปฏิวัติ, Syn. revolution, overthrow
coup d'etat [N] การรัฐประหาร, See also: การชิงอำนาจ, การปฏิวัติ, Syn. putsch, takeover

*coup d'etat อ่านว่า คู-เด-ทา

อันนี้อย่าไปอ่าน โค-ดี-แต๊ด นะครับ มีเพื่อนผมอ่านผิดเยอะมาก ผมก็อดขำไม่ได้ บางคนไปเรียนต่างประเทศตั้งนาน แต่ก็เข้าใจครับ คำพวกนี้ ประเทศเจริญแล้วเขาไม่ค่อยเจอครับ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2541 ให้ความหมายทั้ง 2 คำนี้ไว้ว่า

คำ : รัฐประหาร
เสียง : รัด-ถะ-ปฺระ-หาน; รัด-ปฺระ-หาน
คำตั้ง : รัฐ; รัฐ-
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา :
นิยาม : การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง :  98/4/2


คำ : ปฏิวัติ
เสียง : ปะ-ติ-วัด
คำตั้ง : ปฏิวัติ
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ป. ปฏิวตฺติ)
นิยาม : การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง : &nbsp98/4/2


ซึ่งเราจะใช้ในโอกาสต่างๆดังนี้ (จริงๆแล้วถ้าไม่ได้ใช้จะดีกว่า)
ปฏิวัติ ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและล้มล้างระบบการปกครองเดิม ไปสู่การปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ ประชาธิปไตย"
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ สังคมนิยม"
"สังคมนิยม ไปสู่ ประชาธิปไตย"
ในไทยเคยมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือเมื่อปี 2475 คณะราฎร ล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตย

รัฐประหาร ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและดำเนินการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลไปสู่รัฐบาลใหม่ โดยที่ยังคงระบบการปกครองเดิมไว้

แถม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่ยกเลิกไป http://www.local.moi.go.th/law1.htm

http://www.gamer-gate.net/index.php?a=bbs&b=view&id=31454&p=1

ซึ่งจริง ๆ จะเห็นว่าไม่ใช่คนอื่น ๆ หรอกครับที่ยังไม่เข้าใจ ผมเองก็เรียกผิดเยอะครับระหว่าง
ปฏิวัติ กับรัฐประหาร ไม่เชื่อดูบทความผมสิครับ :) แต่เอาเถอะครับ ผมไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์เอกภาษาไทยเหมือนกับอาจารย์ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพิ่มเติมข้อมูลการปฏิวัติ-กบฏ-รัฐประหารในประเทศไทยนะครับ

-ปฎิวัติ 1 ครั้ง (4 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร)

-กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฎ ร.ศ.130
2.กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)
3.กบฎนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)
5. กบฎเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พย. 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)
8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)
10.กบฎ 26 มีนาคม 2520
11.กบฎยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)
12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

-รัฐประหาร 8 ครั้ง -> 9 times
1.พ.อ. พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิ.ย. 2476)
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พ.ย. 2490)
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พ.ย. 2494)
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)
6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)
7.พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)
8.พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)
9. พลเอกสนธิ ในปี2549
นั่นเอง

 

Thai Coup D’etat in 2006

Thai Coup D’etat in 2006

I decided to write this statement because I want to give you information about coup d’etat , particularly 2006 Thai coup d’etat, in the world history without any bias (i.e., purely knowledge).

What is coup d’etat?

This is the definition of coup d’etat from wikipedia information: “A coup d'état (pronounced /ku de'ta/), or simply coup, is the sudden overthrow of a government through unconstitutional means by a part of the state establishment, that mostly replaces just the top power figures.”


I truly agree with the wikipedia definition and anyway want to re-write the definition again as my opinion for easy to understand.


In my personal definition, coup d’etat is the way that the coups come up to exercise the power using their weapons of destruction rather than using any kind of democratic method, while this action always did in the non-democratic world and also be condemned by many democratic countries.


Coup d’etat can be called in Ku-DeTa- in Japanese language but I truly believe that many Japanese people do not know the definition of this word well as from my real experience (i.e. even in Japanese language), because they don’t have a chance to face with the coup d’etat action before as Japan is one of the democratic countries and the second world's largest economies in 2006.


Why do I say that the coup d’etat is for the non-democratic world?

Please see the following information[1] and observe about the name of each country, so that you will clearly understand why I said that the coup d’etat is for both of the non-democratic world and non-civilization world.

Currently-serving leaders who came to power via coups

I am quite sure that many of you don’t know each 11 countries well, as I did before, so that I want to give randomly some brief explanations.

Mauritania (Arabic: موريتانية Mūrītāniyyah), officially the Islamic Republic of Mauritania, is a country in northwest Africa. According to many sources[3] , it can be called as one of the poorest countries in the world as well as a curse bringing corruption and violence to the country.


Central African Republic[4] (French: République Centrafricaine IPA: /ʀepyblik sɑ̃tʀafʀikɛn/ or Centrafrique /sɑ̃tʀafʀik/) is a landlocked country in central Africa. The Central African Republic is one of the poorest countries, if not the very poorest, in the world.


Pakistan, officially the Islamic Republic of Pakistan (Urdu: اسلامی جمہوریۂ پاکستان), is a country located in South Asia that overlaps with the Greater Middle East. The economic information[5] of this country is being a very poor country in 1947, and imprudent policies led to a slowdown markedly in the late 1990s.


Sudan (officially the Republic of the Sudan or Republic of Sudan) is the largest country by area in Africa, situated in Northern Africa. Sudan[6] has turned around a struggling economy with sound economic policies and infrastructure investments, but it still faces formidable economic problems as it must rise from a very low level of per capita output.


This is some examples of all 11 countries which is currently-serving leaders who came to power via coups. I personally believe that imprudent policies and non-democratic politics system lead to bring each 11 country as very poor countries compared to the others.


Currently, some minority Thai people are really proud themselves because their country name can be put in this above source in 2006. However, many civilization countries (i.e., surely the democratic countries and civilization world in year of 2006) don’t agree with the Thai coup d’etat and did the convictions in all aspects and all methods.


From my source information, they reported that Japan, United Kingdom, USA, European Union states (25 countries including United Kingdom), Australia, New Zealand, South Korea, South East Asia, and United Nation condemn unreservedly this 2006 Thai coup d'eta action officially and urged everyone to do likewise.


Almost democratic countries always did the sanctions in term of both of economics and politics for the country which does the coup d’etat. Surely, it is absolutely obvious that the economies of above democratic countries can be thought to be much bigger than the non-civilization and non-democratic countries as the information shows that the first and second world's largest economies[2] in this century are USA and Japan respectively. The following third, fourth and fifth world’s largest economies are from both European Union states and United Kingdom.


It means that it is very obvious that the 1-5 worlds’ largest economies condemn directly to Thailand and they intend to extremely sanction Thailand in all aspects because of the 2006 Thai coup d’etat and this will bring Thailand to be one of the world’s poorest countries very soon as Mauritania, Pakistan, Sudan, Central African Republic and many undemocratic countries.


However, I am not aware of why some Thai people who would like the coup to exercise their guns and weapons of mass destruction power without any rule of laws and constitutions, and also why they want to put their nation name in the above world history list (i.e., in the world record history of currently-serving leaders who came to power via coups).


If you were them, do you really want to proud about this action as a non-civilization and undemocratic method? Why do they don’t care about the sanctions from almost democratic countries which are the world’s biggest economies in this century? Why do they want to bring their country to be the same level as Libya, Equatorial Guinea, Lansana Conté, Blaise Compaoré, Zine El Abidine Ben Ali, Tunisia, Sudan ,The Gambia, Pakistan, the Central African Republic, and Mauritania which were expected in all senses to be as non-civilization and non-democratic countries in this century?


On 20th September 2006 in Japan, Shinzo Abe won his party's support (LDP) to replace Prime Minister Junichiro Koizumi and embarked on an agenda that includes rewriting the pacifist constitution as purely democratic way, while Thailand ended the democratic PM and replace him by military coup PM as a coup d’eta and using absolutely non-democratic technique to rewrite their constitution.


Why do Japanese people can allow the government to rewrite the constitution without using military method and undemocratic way? Why do Thai people can not rewrite the constitution with using democratic ways as civilization technique?


In conclusion, I personally believe and feel extremely confident that this coup d’tat will bring Thailand to end as street violence in 1992 in the future, because almost Thai people will not accept the rule of military again as the past, so that this country will be one of the poorest countries in the world.


References

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Coup_d'%C3%A9tat

[2]http://www.australianpolitics.com/foreign/trade/03-01-07_largest-economies.shtml

[3] http://en.wikipedia.org/wiki/Mauritania

[4] http://en.wikipedia.org/wiki/Central_African_Republic

[5] http://en.wikipedia.org/wiki/Pakistan

[6] http://en.wikipedia.org/wiki/Sudan#Economy


 

Future Political Analysis - Questions and Answers



PS. สรรพนามอาจจะดูงง ๆ บ้าง เพราะว่าเป็นการตอบคนหลายคน หลายระดับนะครับ



1.) เขาจาออกไหมเนี่ย สองอาทิตย์อ่า / You think your general will give up power in two weeks?


(คำถามนี้โดนถามทั้งคนไทยและคนต่างชาติเลย เป็นคำถามยอดฮิต แต่ขอเอาเฉพาะที่คำตอบเป็นภาษาไทยมาล่ะกัน)


เรื่องเวลา แม้แต่ตัวเขาเองก็บอกไม่ได้หรอก มันต้องดูเวลาต่อเวลา นาทีต่อนาที คือจุดสุดท้ายเลยคือเรื่องเวลา ว่าจะเอาเท่าไหร่ถึงจะดี



อันนี้ถ้าผมอยู่ฝ่ายกุนซือพลเอกสนธิ ผมก็จะแนะนำให้เขาดูดี ๆ ว่าให้เหมาะสมที่สุด แต่พอทำจริงเวลาเท่านี้อาจไม่เวร์คก็ได้ เพราะมันยากมาก ว่าเวลาเท่าไหร่ถึงดี


พอเป็นงี้ เขาก็จะแย่ ไม่รู้จะเอาไงดี เหมือนที่ทักษินเป็นอยู่เมื่อก่อน จะลงก็ลงไงดี ลงไม่ได้ และที่จะแนะนำพลเอกสนธิได้อีกอย่างถ้าผมเป็นคนแนะนำเขาก็คือ

พยายามกำจัดคนที่เป็นตัวตั้งตัวตีที่จะออกมาก่อม๊อบ เอาไปคุมขังไว้ก่อนซึ่งก็ต้องยอ้นกลับไปดูรัฐธรรมนูฐที่เขากำลังเขียนขึ้นมา ว่าอำนาจในนั้นเขาว่าอย่างไร



แต่นั่นคือทางทฤษฎี พอเอาเข้าจริงจะรู้ได้ไงว่าคนจะไม่ออกมา ยิ่งขัง คนยิ่งรับไม่ได้ และอีกอย่างเพราะเขาเคยออกมากันได้แล้วนิ อย่างกลุ่มคาระวานคนจนก็เคยออกมาแล้ว ออกมาเองอีกครั้งก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องยาก


รัฐบาลนั้น ๆ จะแก้ไง แก้ยากมากคือตอนนี้การเมืองไทย มันเล่นกันแบบหมดหน้าตัก คือคนนึงต้องอยู่ อีกคนต้องไป สังคมเลยแตกเป็นสองส่วนอย่างเห็นได้ชัด อันนี้มันเกินไป ไม่เป็นสังคมที่น่าอยู่

ตอนนี้ถามผมว่าจะแก้สถานการณ์ไงให้ดีที่สุด ก็คงอยากที่แนะนำไป


แต่พอเอาเข้าจริง มันยากและยิ่งทางปฏิบัติทำไม่ได้ง่าย ๆ เลย ที่กลุ่มม๊อบทำส่วนหนึ่งก็คือให้การเรียนรู้กับประชาชน ก็ถูกแล้ว


แต่บางอย่างที่มันdrammatizeไป ถึงขนาดทำให้คนเกลียดกัน แล้วไม่ฟังกันเลย คือพูดนิดหนึ่งก็ถูกจัดข้างเลย ผมคิดว่าสังคมอย่างนี้ไม่น่าอยู่

สังคมไทยกำลังจะเป็นสังคมแบบนี้ในวันนี้ แล้ววันหนึ่ง ผมสมมติว่าถ้าเกิดเราไม่มีหลักของสังคมที่เป็นตัวยึดประเทศไว้ แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ประเทศไทยเราจะอยู่ได้อย่างไร น่าเป็นห่วง


ผมคิดว่าอย่างนั้น ผมไม่ได้หมายความว่ายุทธวิธีมีไม่ได้ มันมีได้ ในทางการเมืองมันก็คือการต่อสู้กันในทางยุทธวิธี แต่ปัญหาก็คือ มันต้องทำถึงขนาดไหน การเมืองควรจะเล่นกันขนาดไหน ผมคิดว่าวันนี้เล่นกันหมดหน้าตัก ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมโดยรวมเสีย ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย


แล้วสมมติว่าล้มทักษิณได้อย่างถาวร ความร้าวฉานในสังคมจะมีไปอีกยาวนานแบบที่เป็นอยู่ในตอนนี้ คือเขามาโดยระบบ แต่เขาไปโดยไม่ใช่ระบบ แล้วคนที่เลือกเขามาแล้วโดนทำอย่างนี้ ก็จะเจ็บปวด สังคมก็จะแบ่งเป็นสองฝั่ง



ผมพูดอย่างนี้ละกัน คือไม่ได้ว่าเขาถูกหรือผิด จะดีจะเลวเราไม่รู้ แต่ว่าเขามาตามระบบ เพราะระบบสร้างเขาขึ้นมา เราถึงต้องจัดการกับตัวระบบ ไม่ใช่จัดการกับตัวนายกฯ จะจัดการตัวนายกฯก็ว่าไปตามระบบนั่นแหละ


บางคนคิดว่าทักษินได้แพ้ไปแล้ว หรือบางคนก็คิดว่าทักษินอาจจะได้กลับมา ผมคิดว่าถึงที่สุดคุณทักษินก็อาจจะแพ้ ก็เป็นไปได้ แต่จะแพ้อย่างไรผมไม่รู้

แต่ถ้าแพ้กันอย่างที่เป็นอยู่และแบบที่หลาย ๆ คนคิด คือเล่นกันหมดหน้าตัก โดยการไปทำนอกระบบ หมายถึงว่ารัฐบาลไปเลยอย่างที่เป็นนี้ แล้วก็จะมีนายกฯที่ทหารคุมมาเข้ามาหรือมีอะไรเข้ามา


ผมคิดว่าความร้าวฉานในสังคมมันจะเป็นบาดแผลลึกสำหรับคนซึ่งเขาอยู่อีกฟากหนึ่ง ที่เขาชื่นชอบการบริหารราชการของคุณทักษิน มันจะเป็นแผลในใจของคนกลุ่มนี้



ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา เป็นคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ไม่อยากให้สังคมต้องแบ่งไปเลยว่าคนที่ตัวเลือกเข้ามาต้องเป็นคนดี และอีกฝั่งต้องเลวอย่างที่สุด สังคมมันเดินไม่ได้ ถ้าคิดอย่างนั้น

-----------------------


2.) ตอนนี้ทักษิณยังไม่ยอมหรอก คิดว่าไง


ตอนนี้เหรอ คิดว่างี้ ถ้าผมเป็นกุนซือทักษิน ก็คงต้องให้ไปขอร้องคณะปฎิวัติ ให้ละเว้นโทษแก่ตัวเขาเองบ้าง แต่เรื่องยึดทรัพย์ อันนี้เชื่อเป้นการส่วนตัว ว่าถึงยึด ก็คงยึดได้บ้าง แต่คงยึดได้ไม่เยอะ หรือถ้ายึดได้เยอะ ไม่นาน ก็มีกฎหมายนิรโทษกรรม ก็ต้องคืน


เพราะว่าอะไร ทำไมผมถึงคิดอย่างนั้น?


คือประเด็นคืออำนาจของกลุ่มไหน ยังไงมันก็อยู่นานไม่ได้หรอก มันมีขึ้นมีลง เพราะว่าอำนาจไม่ได้อยู่ยงคงค้ำฟ้า มันมีปฏิสัมพันธ์ มีกลุ่มผลประโยชน์ มีได้ มีเสีย มีขึ้น และมีลง

ไม่ว่าจะทักษินหรือพลเอกสนธิ วันบางอย่นึงพลเอกสนธิก็ต้องมีวันลง อยู่นานไม่ได้หรอก แต่จะลงอย่างไหนเมื่อไหร่ อันนี้ยังบอกไม่ได้


แต่ใจลึก ๆ ทักษินเขาคงมองว่า สักวันนึง เขาคงกลับมา เพราะว่าเขามีเสียงของประชาชนอยู่เยอะ คือถ้าเลือกตั้งใหม่ ทักษินก็ยังได้ ถ้าเขาได้ลง เลือกตั้งเขาคงเชื่ออย่างนั้น

แต่เอาเข้าจริงมันคงไม่เป็นไปตามนั้นได้ทั้งหมดหรอก เพราะต่อให้รัฐบาลทหารนี้ โดนไล่ออกไป คนตายไปแล้ว ตอนนั้น ทักษินเขาก็อาจไม่ได้เสียงเยอะอย่างนี้แล้วก็ได้


เพราะว่าสังคมไทยตอนนั้นคงหวังเอาคนที่เป็นกลาง ๆ เลยแบบไม่ดุดันเข้ามาหรือก็คือชอบแบบสายพิราบ คือฐานความนิยมของคนเปลี่ยนไปเลย ว่าไม่อยากได้คนสายเหยี่ยว ไม่อยากได้คนทำงานเร็ว ๆ

ตอนนี้คนจำนวนมากอยากได้คนทำงานแบบเร็ว ๆ เพราะว่าประเทศเรามันเคยช้ามาก ไม่เร่งซะที อันนี้ไม่ได้บอกว่าทำงานเร็วดีหรือไม่ดี มันแล้วแต่คนชอบ แล้วแต่ความนิยมของคนแต่ล่ะยุคสมัย


และอีกปัจจัยก็คือมันก็อยู่ที่ตัวเขาด้วยล่ะ ว่าจะกลับมาไหมด้วย เพราะเขาเป็นนายกที่ต่างกับนายกคนอื่น ๆ คือเขาเป็นคนรวยมาก เพราะงั้นคนรวยมาก


บางทีเขาไม่ต้องการอำนาจก็ได้ถ้าเขาเคยพังมาหนนึงเพราะอำนาจแล้ว เขาก็อยู่เป็นสุขได้จากเงินที่มี ต่างกับนายกเก่า ๆ คนอื่น ๆ ที่เขาไม่รวยมากเท่านี้ แต่อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ความรู้เชิงรัฐศาสตร์


โดยส่วนตัวคิดว่ากว่าจะถึงวันนั้นคงอีกนาน ถึงนานมากๆ หรืออาจจะไม่มีวันที่ทักษินจะได้กลับมาเป็นอีกเลยก็เป็นได้ เพราะสังคมตอนนั้นได้รับรู้ว่าสังคมมันพังไปแล้ว โดยไม่รู้ว่าจะมาแก้ยังไงกัน

-----------------------


3.) คิดอย่างไรกับว่าที่นายกที่จะมาเป็นคนใหม่ / คิดอย่างไรกับ ประธานศาล อักขราทร ที่จะมาเป็นนายก


นายกที่มาใหม่ เป็นใครไม่สำคัญ บางคนบอกว่าสำคัญที่สุด แต่จริง ๆ ไม่สำคัญเท่าไหร่ ความสำคัญที่สุดอยู่ที่รัฐธรรมนูญใหม่ที่จะให้อำนาจทหารอย่างไรมากกว่าที่จะเป็นตัวคุมเกมส์ยุทธศาสตร์จริง ๆ


จะตอบคำถามนี้ขอย้อนกลับไปอธิบายกับประวัติศาสตร์หน่อย ใครรู้จักรัฐบาลหอยไหม

บางคนได้ยินชื่อนี้อาจตลกในตัวชื่อ แต่จริง ๆ ชื่อนี้มีจริง ๆ ในปีพ.ศ. 2519 ไม่ใช่เสนาหอย เกียรติศักดิ์ ที่ร้องเพลงแอบเหงาในปัจจุบัน


ต้องมองย้อนไปสมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกครั้งหลัง14ตุลา


หลังจากการชุมนุมของนักศึกษาต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาล พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้



แล้วแต่งตั้งให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ให้สังเกตให้ดี ว่านายกธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็จะคือผู้พิพากษา ที่มาจากนักวิชาอดีตอธิการบดีของธรรมศาสตร์ที่ทหารได้ตั้งขึ้นมา เป็นศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนเก่งมากคนหนึ่ง

ซึ่งก็คล้ายกับ PM Candidate อักขราทรคนนี้มาก คือเป็นผู้พิพากษาเชิงนักวิชาการ เรียนเก่งมากคนหนึ่งเช่นกัน



ถ้าเราไปดูProfileเขา เป็นนักกฎหมายมหาชนมือต้น ๆ ของประเทศเหมือนกัน ได้Ph.D.มาทางด้านกฏหมายมหาชน มหาวิทยาลัยโรม ประเทศอิตาลี และที่เหมือนกันอีกก็คือเป็นศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เช่นเดียวกัน


รัฐบาลเผด็จการพลเรือนของธานินทร์ อยู่ภายใต้การสนับสนุนและเห็นชอบ ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน



ซึ่งนายกธานินทร์เปรียบไว้ว่า รัฐบาลเปรียบเสมือนเนื้อหอย มีเปลือกหอยซึ่งได้แก่ทหารเป็นผู้ให้ความคุ้มครอง จึงถูกสื่อมวลชนขณะนั้นขนานนามให้ว่า รัฐบาลหอย


ในเวลานั้น ใช้การทหารนำหน้าการเมืองปราบปรามผู้มีแนวความคิดต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง มีการแต่งตั้งสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก340คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ

นายกรัฐมนตรีในยุคนั้นมีอำนาจล้นฟ้า โดยใช้มาตรา21ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2519ประหารชีวิตใครก็ได้ เหมือนกับ มาตรา17ในอดีต

ต่อมาเกิดกบฎในวันที่26มีนาคม พ.ศ.2520 นำโดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ โดยมี ทส.คู่ใจคนสนิทคือ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ ที่ยศตอนนี้เลื่อนไปเป็นพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์


เมื่อทำรัฐประหารไม่สำเร็จ พลเอกฉลาดถูกประหารชีวิตโดย มาตรา21



ส่วนพันโทสนั่นถูกจับเข้าคุกและก็ได้นิรโทษกรรมออกมาตั้งพรรคมหาชนในปัจจุบัน



การบริหารประเทศของธานินทร์สมัยนั้น ตึงเกินไปก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นมากมายในวงราชการ เช่น ปลดนายอำนวย วีรวรรณ ออกจากปลัดกระทรวงการคลัง พักราชการนายอานันท์ ปันยารชุน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ


แล้วในที่สุดคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในชื่อใหม่ คณะปฏิวัติ ภายใต้การนำของจอว์ใหญ่ พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ คนเดิมที่เป็นคนให้อำนาจนายกธานินทร์เอง คือตั้งเองปลดเอง เพราะว่าตัวเองมีอำนาจทางทหารอยู่



ภายใต้ข้ออ้างที่ว่าสมัยนั้นคือ รัฐบาลบริหารประเทศแล้วเกิดการแตกแยกในหมู่ข้าราชการและประชาชน เศรษฐกิจทรุดลง แผนพัฒนาประชาธิปไตย 3 ขั้น 12 ปี นานเกินความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน



ซึ่งจะเห็นว่าเป้นข้ออ้างเหมือนกับตอนนี้ที่เป็นอยู่ในการไล่รัฐบาลทักษินโดยใช้อำนาจทางทหาร อันนี้คือประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี2519


ซึ่งถามว่ารัฐบาลที่ได้ตั้งใหม่โดยทหาร แล้วสร้างรัฐบาลหอยแบบใหม่ขึ้นมา จะย้อนรอยไปแบบเดิมเมื่อปี2519ไหม อันนี้ผมตอบไม่ได้ เพราะว่ามันมีตัวแปรอื่นอีกมาก

ขึ้นอยู่กับทหารและรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนขึ้นมาว่าเขาอยากให้ไปทิศทางไหน มันอาจจะย้อนไปเหมือนตอนรสช.เมื่อปี2534ก็ได้ แต่ไม่ว่าทิศทางไหน ก็ยังมีปัญหาที่คาดไม่ถึงอีกมากที่ประเทศเราต้องเจอ


เพราะถ้าทหารเขาให้ความเป็นอิสระต่อรัฐบาลหอย(ใหม่)ในปัจจุบันมากเกินไป บุคคลที่ชอบทักษิน เขาก็จะออกมาประท้วงได้ และถ้าเกินการอดทนของรัฐบาลรัฐบาลที่จะไปสลายชุมนุม อาจจะนานหรือไม่นาน ก็ขึ้นกับรัฐบาลนั้น ๆ


แต่สุดท้ายก็จะทนไม่ไหววันนึง แล้วก็ย้อนรอยไปกับการใช้ความรุนแรง ฆ่าคนบริสุทธิ์ที่มาชุมนุม ทั้ง ๆ ก็คนไทยเหมือนกัน แค่เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านเท่านั้นเอง



ส่วนถ้าให้อำนาจน้อยเกินไป ก็คือทหารเข้ามามีบทบาทมาก รัฐบาลสั่งอะไรไม่ได้ คนก็มองว่าเป็นเผด็จการ ก็ไม่ยอมรับกันอีก แต่อาจเป็นคนล่ะฝั่งกันที่ออกมาไล่รัฐบาล


หรืออาจจะเป้นทั้งสองส่วนเลยก็ได้ที่ออกมาไล่รัฐบาล ส่วนถ้ารัฐบาลนี้ไม่เชื่อทหาร ก็จะโดนทหารทำแบบรัฐบาลธานินทร์เลย ย้อนไปเหมือนปี2519


ผมคิดว่านักกฎหมายมหาชนจะมีบทบาทมากในการร่างรัฐธรรมนูญอันใหม่นี้แม้ว่าจะโดนทหารสั่งการก็ตาม ว่าจะทำให้ทิศทางของประเทศไปทางไหนในแง่ของการวางโครงสร้างของระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญในยุคนี้

แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็จะโดนฉีกอีกรอบแน่นอนโดยทหาร แต่อาจคนล่ะกลุ่มกัน อันนี้ไม่ดีแน่นอน แต่มันก็จะเกิด



ปัญหาที่มีคือมันเกิดการdramatizeทางความคิดกันเกินไป และเราไม่ใช้หลักในการแก้ปัญหา เราใช้มวลชนที่ปรุงแต่งมากเกินไป



ถ้าเราย้อนกลับไปคดีตอนสมัยทักษินจะเข้ามาเป็นนายกถ้าเราคิดกันตามศาสตร์ของPublic Law

คดีซุกหุ้นภาคแรก ผมพยายามดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ


ก็เห็นได้ชัดเจนว่าในทางกฎหมายนี่ยากมากเลยที่นายกทักษินจะไม่ผิด ยืนยันว่าผิดแน่ๆ แต่ถามว่าปัจจัยที่ทำให้ทักษินไม่ต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปีเพราะอะไร


คำตอบคือวิธีคิดที่จะเอาเป้าหมายโดยไม่สนวิธีการ คนจำนวนมากตอนนั้นก็สนับสนุน คือ ขอให้ทักษิณอยู่เถอะ แม้ว่าจะบิดกฎหมายบ้าง แม้ว่าไม่เอาหลักการบ้าง เอาไว้ข้างๆ ก่อนก็ไม่เป็นไร



หรืออย่างเรื่องการแทรกแซงองค์กรอิสระ ที่เมื่อสมัยตอนเมื่อ3-4ปีที่แล้ว

ที่บอกให้ทักษินเขาแทรกแซงไปเถอะ ไม่เป็นไรหรอกเพราะเราต้องให้ประเทศมันเดินได้เร็ว ไม่ต้องสนใจการตรวจสอบที่ให้องค์กรอิสระที่เป็นเสาที่ปักค้ำยันสังคมไว้หรอก

ให้ทักษินแทรกเซงไปเถอะเพราะจะทำให้สังคมเดินได้เร็ว ปราศจากการตรวจสอบ หลายคนที่วันนี้กลับมาเป็นคนที่ต่อต้านก็คือคนที่เชียร์ทักษินสุดลิ่มทิ่มประตูในวันนั้น กฎหมายไม่เป็นไรหรอก ใช้กลุ่มคนชุมนุมไปให้กำลังใจทักษิน กดดันศาลรัฐธรรมนูญในเวลานั้นว่าให้ทักษินเข้ามา


วันนั้นเราคิดอย่างนั้น วันนี้แบบเดียวกันแต่มิติเรากลับกัน

วันนี้คือเอาทักษินออก เมื่อจะเอาทักษินออก ไม่ต้องเอาหลักการหรอก กฏหมายและรัฐธรรมนูญฉีกทิ้งไปก็ได้ ไม่ต้องสนใจหรอก ใช้กำลังทหารก็ได้ ประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จะคิดยังไงก็ไม่ต้องสนเพราะเราเป็นประเทศของเรา ไม่ต้องติดต่อการค้ากับใครก็ได้ ไม่ต้องใช้เหตุผลหรอก


วันนี้ธงคือเอาทักษินออก เพราะฉะนั้นวิธีการยังไงก็ได้ เราจะไม่มีการเรียนรู้ คือถึงที่สุดก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาอีก คนตายกันอีก ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อีก วนกลับไปกลับมาตามประวัติศาสตร์


ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป สังคมที่ทำอย่างนี้ทุกคราวไป เป็นสังคมที่เสี่ยงกับการเกิดความรุนแรง ความแตกร้าวในสังคมจะเกิดขึ้นง่ายเหมือนที่กำลังจะเป็นในอนาคตนี้


ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องซึ่งเราคงจะต้องใช้เหตุผลบ้าง มากกว่าใช้กำลัง เพราะระบอบประชาธิปไตยถึงที่สุดแล้วคือการให้คนส่วนมากมีโอกาสในการปกครอง ก็คือฝึกให้คนได้รู้จักใช้เหตุผล ไม่ใช่ให้คนคอยตามใครคนใดคนหนึ่งบงการมาแล้วก็ shape ประเทศไปในทิศทางนั้น


เราควรให้ความรู้แก่ประชาชน ว่าทำไมเลือกทักษินเข้ามาถึงไม่ดี(อันนี้คือสำหรับคนที่เชื่อว่าถ้าเขาไม่ดีจริง) เราก็ต้องให้ความรู้ แต่การให้ความรู้กับการให้ความdramatizeมันต่างกัน เราให้ความรู้ได้ แต่เราไม่ควรให้ความdramatize



การให้ความรู้จะทำให้ประเทศไทยยั่งยืน แต่การให้ความdramatizeจะทำให้ชาติพัง แล้วก็ทำให้คนไม่ใช้เหตุผล



คือเชื่อไว้ก่อน มีธงไว้ก่อนเลยว่าคนนี้ต้องดีที่สุดหรือเลวที่สุด ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นสองฝั่ง ทั้งฝั่งที่เชียร์ทักษิณและฝั่งที่ต่อต้านทักษิน คนที่อยู่ในด้านหนึ่งก็เชื่อไปแล้วว่าอีกด้านหนึ่งต้องเลวสุดขีด โดยไม่ต้องคิดอะไรแล้ว



เชื่อไปแล้วว่าอีกฝั่งคือParadise อีกฝั่งคือHellไปเลย ทำอะไรก็ถือว่าอยู่ฝั่งตรงข้ามฝั่งของตัวเอง


ผมจึงบอกว่า ถ้าเราพูดว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แล้วเราไม่พูดโดยเหตุผล เราก็เป็นประชาธิปไตยที่ประหลาดอยู่ เพราะเป็นประชาธิปไตยแบบที่ไม่ฝึกให้คนใช้เหตุผล ไม่ฝึกให้คนได้ใช้ความรู้ ไม่ทำให้คนฉลาดขึ้นโดยกระบวนการของมันเอง



ไม่มีการให้องค์ความรู้จริง ๆ ให้แต่ความdramatizeไปคนล่ะฝั่ง คนอยู่ตรงกลางไม่ได้ ถึงขนาดทำให้คนเกลียดกัน แล้วไม่ฟังกันเลย คือพูดนิดหนึ่งก็ถูกจัดข้างเลย ผมคิดว่าสังคมอย่างนี้ไม่น่าอยู่


บางคนอาจเห็นด้วยหรืออาจไม่เห็นด้วยว่ามันจะเกิดอย่างที่ผมคาดการณ์ไว้จริง ๆ ผมก็ไม่ตำหนิอะไร เพราะผมรอได้ นักประวัติศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็จำเป็นต้องรอ


เพื่อให้เวลาเป็นมิติในการพิสูจน์คำตอบที่เขาคาดการณ์ เพราะเวลาจะเป็นเครื่องตอบในมิติตัวเอง ว่าวันนั้นเป็นอย่างไร


ผมพยากรณ์ประเทศตามหลักมิติของนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์โดยพยายามใช้ศาสตร์ได้ผสมผสานกันอย่างบูรณการ อันนี้กล่าวติดตลกว่าไว้หนหน้าจะใช้ศาสตร์ของวิศวกรรมศาสตร์บูรณการเข้าไปด้วยกับการวิเคราะห์การเมือง ถ้าเป็นไปได้


ผมไม่ได้เป็นหมอดูอีที (E-Thi) ของพม่า แต่ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็น ๆ กันอยู่ ผมวิเคราะห์ไปตามหลักวิชาการ คาดการไปตามหลักหรือศาสตร์วิชาการที่ผมพอจะมีบ้าง อาจจะไม่มากอะไร ผมอดทนได้ที่จะรอคำตอบ


อย่างไรก็ตาม แต่อย่างที่บอก ประชาธิปไตยคือการเคารพฝ่ายข้างน้อย ขอเพียงแต่ว่าผมได้รับการเคารพ ไม่ถูกคุกคาม ข่มขู่ได้มีโอกาสพูด ได้มีโอกาสเสนอความเห็น


แม้ว่าคนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร ถ้าตราบเท่าที่ผมยังได้อยู่มีสิทธิพูด ให้ความรู้คนอื่น ผมรับได้ แม้ว่าผมจะต้องยืนอยู่ตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ตลอดเวลา ผมไม่ซีเรียส



เพราะผมเชื่อว่าวันหนึ่งมันก็จะกลับไปกลับมา มันมีปฏิสัมพันธ์ มีได้ มีเสีย มีขึ้น และมีลง


ผมอยากให้คนอดทน ระบอบประชาธิปไตยในอีกแง่หนึ่งก็คือการฝึกให้คนอดทน ฝึกให้คนให้เกียรติคนกลุ่มมาก ที่เราก็ไม่รู้ว่าหรอกว่าเสียงกลุ่มมากจะถูกไหม แต่เราต้องเคราพ และก็พยายามทำให้เสียงข้างน้อย(ที่หลายคนเชื่อว่าถูกต้อง)กลับเป็นเสียงข้างมาก ตามหลักประชาธิปไตยโดยไม่ใช้ทหารเข้ามา


โดยการให้องค์ความรู้แก่กลุ่มบุคคลที่เราเห็นว่าเขาคิดไม่ถูกต้อง เห็นว่าเขาเขลา เราต้องให้องค์ความรู้ลงไปแก่เขา แล้วให้เขาตัดสินใจ มันอาจจะช้าหน่อย แต่มันจะรักษาคุณค่าของระบอบเอาไว้


หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือในแง่มุมหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเราจะอดทนอย่างไรที่จะทำให้เสียงข้างน้อยค่อย ๆ กลับกลายเป็นเสียงข้างมากในที่สุดโดยไม่ใช้รถถังหรือความรุนแรง ใช้เหตุและใช้ผลในการแก้ปัญหา ในการหาทางออก ใช้องค์ความรู้



แต่เมื่อวันนี้เราไม่อดทนกันแล้ว ดีใจกันถ้วนหน้าที่ทหารเข้ามาฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนทิ้ง และเมื่อเวลาผ่านไปวันข้างหน้าสังคมก็จะแตกเป็นเสี่ยง ๆ เราก็ย้อนกลับไปแก้แบบเดิม ๆ

ซึ่งเมื่อวันนั้นคำตอบที่ผมคาดการณ์ไว้เป็นจริงขึ้นมา


ผมก็ไม่ได้ดีใจเลยที่ทุกอย่างเป็นเหมือนที่ผมคาดการณ์ในปัจจุบันนี้


ซึ่งจริง ๆ ถ้ากล่าวไปถึงประชาธิปไตย คือหลักของการใช้แง่ของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนที่รวมไปถึง กฏหมายปกครอง กฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงกฏหมายสารบัญญัติ (Substantive law)



ซึ่งโดยรวมแล้วก็คือการที่เราจะบังคับใช้กฎหมายอย่างไร ให้บ้านเมืองของเราเดินไปได้ ซึ่งมันอาจจะช้าหน่อย แต่ในระยะยาวผมคิดว่าจะทำให้สังคมเราเข้มแข็งขึ้น มันจะรักษาคุณค่าทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เอาไว้ได้


เราได้เรียนรู้ เราแก้ปัญหาได้มากขึ้น เราได้เรียนรู้เหตุและเรียนรู้ผลของเหตุการณ์ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยสันติ แก้กันอย่างระบอบประชาธิปไตย


ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวผมจะไม่ชอบนโยบายหลายอย่างของทักษิณ (บางนโยบายก็ชอบเช่นกันครับ เดี๋ยวคนที่ชอบทักษินจะน้อยใจผม) แต่ผมก็เป็นคนหนึ่งในสังคม



และผมก็ไม่ควรมีสิทธิ์มากกว่าคนอื่นที่จะไปบอกว่าประเทศ มันต้องเดินไปในทิศทางนี้ทิศทางเดียว

ผมน่าจะมีสิทธิ์แต่เพียงบอกว่าผมคิดอย่างไร แล้วคนอื่นเห็นกับผมหรือไม่


ผมควรมีหน้าที่ที่จะให้ประชากรส่วนใหญ่ในสังคม มีความรู้ มีความคิด มีเหตุมีผลในการตัดสินใจด้วยตัวเอง มันน่าจะเป็นอย่างนั้นมากกว่า ไม่ว่าผมจะเรียนดีหรือเรียนไม่ดี มีความมั่งคั่งทั้งทางด้านความรู้และด้านเงินทองหรือไม่มีก็ตาม

ผมก็ไม่ได้มีศักดิ์และสิทธิมากไปกว่าคนอื่น ๆ ทั่วไปหรอกครับ


อันนี้คือหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยทั่วโลก ผมไม่ได้ตั้งขึ้นมาเอง ผมว่ามันไม่คุ้มหรอก เพื่ออะไร เพื่อล้มคนคนหนึ่ง เราลงทุนจ่ายกันขนาดนั้นเลยเหรอ เราต้องลงทุนโดยการทำลายระบอบกฎหมาย และ/หรือ ระบอบประชาธิปไตยให้สิ้นซากเลยหรือ



หลายคนบอกว่าคุ้ม ผมคิดว่าไม่คุ้ม แล้วสุดท้าย ประเทศไทยก็จะพังและแตกเป็นเสี่ยง ๆ

ผมก็ไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น แต่ผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่ามันจะเป็นอย่างนั้นและยากที่จะแก้ได้



ผมคิดว่าอย่างนั้น ผมไม่ได้หมายความว่ายุทธวิธีมีไม่ได้ มันมีได้ ในทางการเมืองมันก็คือการต่อสู้กันในทางยุทธวิธี



แต่ปัญหาก็คือ มันต้องทำถึงขนาดไหน การเมืองควรจะเล่นกันขนาดไหน


ผมคิดว่าวันนี้เล่นกันหมดหน้าตัก คือไม่เอาจนตัวเองตายก็ต้องเอาอีกฝั่งให้ตายให้ได้ ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมโดยรวมเสีย ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย มันจะเป็นแผลในใจของคนกลุ่มนึง ซึ่งอาจจะคือกลุ่มที่แพ้กลุ่มไหนก็ตาม



ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา เป็นคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

-----------------------


4.) ทำไมถึงคิดว่าต้องมีคนตายด้วยเหรอ / แล้วคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร


ยังไงก็จะมีคนตายจากการรัฐประหารครั้งนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนจริง ๆ


ทำไมผมถึงกล่าวอย่างนั้น?


พลเอกสนธิคือเหมือนที่ได้บอกไป ว่าถ้าเขาเขียนรัฐธรรมนูญอ่อนไปแล้วเขาไม่เข้าไปยุ่ง ให้คนมาประท้วงได้ ซึ่งเหมือนจะดีในแง่ให้สิทธิคน แต่เขาก็จะแย่ตรงที่จะโดนคนชอบทักษินไล่ มาชุมนุมไล่



แล้วเขาจะแก้ยังไง อันนี้น่าคิด


หรือว่าถ้าเขาใช้ทหารมาฆ่าคน ไม่ให้ชุมนุม ก็จะกลายเป็นอีกอย่าง คือเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแรง ๆ เลย ว่าห้ามคนชุมนุมเด็ดขาด



แน่นอนล่ะ แรก ๆ ก็คงได้ ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือเขียนอย่างนี้จะเขียนนานเท่าไหร่ เพราะถ้าเขียนนานเกินไป ก็จะโดนคนหาว่าบ้าอำนาจ คนก็ออกมาไล่อีก แล้วก็จะมีคนตาย พลเอกสนธิก็จะกลายเป็นทรราช


เพราะงั้น ถ้าผมเป็นทีมที่ปรึกษาพลเอกสนธิ ผมก็จะแนะนำไปตามนี้ แต่เรื่องเวลา บอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม



เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งไม่สงบหรอก


มันคุมยากทักษิน คุมไม่ได้ แล้วพลเอกสนธิก็จะคุมได้เหรอ ตอนนั้นทักษินมีมากกว่าพลเอกสนธิอีกนะ มีทั้งคนที่ชอบเป็นฐานอยู่ต่างจังหวัดเยอะ มีทั้งกองทัพ มีทั้งตำรวจ มีทั้งเงิน



หรือถ้าไปเปรียบกับอดีตเลย ตอนนั้นพลเอกสุจินดามีก็เหมือนพลเอกสนธิตอนนี้ล่ะ แต่ก็เอาตัวไม่รอด

จัดม๊อบมาชนก็ก็ไม่จบง่าย ๆ แต่ที่แน่ ๆ จะทำให้มีคนตาย นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่า จะมีคนตายแน่ เพราะไม่ว่าจะทำไง ก็ต้องมีการปะทะ



แล้วก็ต้องใช้กำลัง แล้วคนก็ตาย ประเทศพังไปแล้ว


หรือถ้าจะกล่าวอีกในนัยยะหนึ่งก็คือ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่า คณะปฎิรูป จะเลือกที่จะปิดกั้นความคิดเห็นและการรวมตัวกันก็ไม่เป็นผลดี



และหากจะเลือกให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและการชุมนุมทางการเมืองก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายทั้งสิ้น ไม่มีทางใดที่จะเป็นผลดีเลย และเป็นทางเลือกที่จะนำไปสู่ทางหายนะของคณะปฏิรูปทั้งสิ้น


โดยความเชื่อส่วนตัวคิดว่าคณะปฏิรูปฯน่าจะเลือกที่จะปิดกั้นสื่อมากกว่า แต่การที่ยิ่งคณะปฏิรูป ยิ่งจะปิดกั้น ก็ยิ่งจะสูญเสียการสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นไปทุกที

และกลุ่มคนอีกฝั่งก็จะมีแนวร่วมมากขึ้นทุกที นี่ช่างเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของสังคมไทยจริงๆ (ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Dilemma ละครับ)



อันนี้ก็วิเคราะห็กันตรง ๆ ปราศจากอคติเลย ใช้ความรู้รัฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ล้วน ๆ


"Very often they don't intend to stay in power when they seize power - it's that old 'power as an aphrodisiac' thing. Once you have it, it's hard to give up. There's also a fear of prosecution [if they leave power].”


"It's very hard to go back to your previous life as a soldier, so you would be looking for a financial pay-off, an amnesty or to keep the power yourself."


The length of time a coup leader stays in power may also depend on the size of the force behind him, Mr Reeve says, with larger, more structured armies better equipped to take over the role of government.


อันนี้มีบางคนวิเคราะห์ก็คล้าย ๆ ผม เลยเอามาให้ดูกัน คือบางทีเจ้าตัว เขาไม่ได้บ้าอำนาจหรอก แต่ว่ามันไม่รู้จะทำไงเหมือนที่ทักษินเคยเป็นและพลเอกสนธิที่กำลังจะเป็น คือลงก็ไม่ได้ ไม่ลงก็ไม่ได้ และปัญหาคือจะเอาเวลาเท่าไหร่ที่ดีที่สุดต่อตัวเองอันนี้แก้ยากมาก


กล่าวโดยสรุป หากวางและเรียกร้องตามแนวคิดที่เขาพยายามจะใช้กำลังทางทหาร ล้มระบอบประชาธิปไตยไป ไม่มีวันล้าง มลทินตามกฎหมายได้หรอกครับ อันนี้

ถ้าผมไปยืนอยู่ในตำแหน่งที่ให้คำปรึกษาพลเอกสนธิได้


ผมก็คงให้คณะรัฐประหารจะต้องปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และห้ามการชุมนุมแน่นอน เพราะมันอันตรายเกินไป สำหรับตัวเขาเอง และยังยืดชีวิตความไม่เป็นทรราช หรือกบฏของเขาไปได้มากกว่าเลือกอีกทาง



(ซึ่งวันนั้น ทั้งนายกทักษินและคปป.พลเอกสนธิก็คงอยู่ไม่ต่างอะไรกับพลเอกสุจินดาในปัจจุบันนี้ ตอนนี้คุณสุจินดาก็อยู่ในประเทศนี่ครับ ผมไม่ได้ว่าคุณสุจินดาถูกหรือผิด เพราะว่าที่สุดแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่เคยผ่านกระบวนการทางกฎหมายเลย เราก็อยู่กันอย่างนี้อีก แล้วมันคุ้มไหมกับการสูญเสีย ผมไม่เข้าใจ)


แต่ก็อีกล่ะครับ ผลก็คือก็จะกลับไปตรงที่ผมวิเคราะห์ไปว่าก็ยังจะทำให้ฝ่ายเห็นด้วยกับนายกทักษิน และฝ่ายต่อต้านรัฐประหารออกมาเรียกร้องขุมนุมมากขึ้นทุกที เขียนตำหนิทุกวัน ออกข่าวต่อว่าทุกวัน สถานการณ์ก็จะกลับไปวุ่นวายเหมือนก่อนรัฐประหาร


ซึ่งจะทำให้คนที่เคยสนับสนุนเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบเปลี่ยนใจและคณะรัฐประหารจะทนไม่ได้ จนอาจจะต้องกลับมาควบคุมการแสดงความคิดเห็นและห้ามการชุมนุมตลอดไป



ซึ่งเมื่อปิดกันการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม ก็จะมีแรงต้านจากประชาชน และต่างประเทศมากขึ้นทุกที่ และจะต้องหายนะในที่สุดโดยพลังของประชาชน


ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป



ซึ่งจริง ๆ เป็นการเดิมพันทะเลาะกันของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่เขาเล่นกันจะหมดหน้าตัก ปรุงแต่งมวลชนเข้ามา เอาความdramatizeที่ปรุงแต่งเข้ามา ไม่ใช้เหตุและผล แต่ประเทศไทยเราก็พังและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ


เหมือนสมัยแต่ก่อนหน้านั้นเราจะต้องเอาพลเอกสุจินดา คราประยูร ออกให้ได้ใช่ไหม ตอนนั้นเราก็ไม่สนหลักการอะไร เราขอเอาเขาออกให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนก็
Happy ที่ไล่นายกชาติชายไปได้โดยวิธีทางทหาร แต่อีกปีให้หลัง ก็ไม่เอาพลเอกสุจินดา ไล่เขาออก

ถ้าเราย้อนกลับไปตอนสมัยพลเอกสุจินดาจะเข้ามาเป็นนายก ถ้าเราคิดกันตามศาสตร์ของประชาธิปไตย หรือคิดตามหลักรัฐธรรมนูญ


พลเอกสุจินดาไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเลยที่มาใช้กำลังทางทหารในปี2534ในการยึดอำนาจ

แต่ถามว่าปัจจัยที่ทำให้พลเอกสุจินดา ได้ความชอบธรรมพอสมควรคือ หนึ่ง เขามีกองทัพในมือ สอง คือเขามีคนกรุงเทพบางส่วนที่ไม่ชอบพลเอกชาติชาย สนับสนุนเขา เอาดอกไม้ไปให้เขา

คำตอบคือวิธีคิดที่จะเอาเป้าหมายโดยไม่สนวิธีการ คนจำนวนมากตอนนั้นก็สนับสนุน คือ ขอให้พลเอกชาติชายไปเถอะ แม้ว่าจะฉีกกฎหมายบ้าง แม้ว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญบ้าง แม้ว่าไม่เอาหลักการบ้าง เอาไว้ข้างๆ ก่อนก็ไม่เป็นไร เอาทหารมาก็ได้



ไม่เป็นไรหรอกเพราะเราต้องให้ประเทศมันเดินได้เร็วในแง่ของการกำจัดคนคอรัปชั่น เราไม่ต้องการพลเอกชาติชาย เพราะจะทำให้สังคมเดินได้ไม่ดีถ้ามีพลเอกชาติชาย เราไม่ต้องการไปติดกับระบอบชาติชาย หลายคนที่วันนั้นคิดอย่างนี้

แต่ผ่านไปหนึ่งปีให้หลัง (ปี2535) คนที่เชียรพลเอกสุจินดาให้ยึดอำนาจรัฐบาลชาติชายก็ คือคนที่กลับมาเป็นคนที่ต่อต้านพลเอกสุจินดาอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูในวันนั้น กฎหมายไม่เป็นไรหรอก ใช้คนไปกดดันให้เขาออก แม้ว่าจะเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน ก็ไม่ต้องสนใจ เพราะเรามีธงคือการเอาพลเอกสุจินดาออก


วันนั้นเราคิดอย่างนั้น วันนี้แบบเดียวกันแต่ต่างที่มิติของเวลา ซึ่งเป็นเวลาที่นานเอาการอยู่คือ15ปี วันนี้คือเอาทักษินออก เมื่อจะเอาทักษินออก ไม่ต้องเอาหลักการหรอก กฏหมายและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉีกทิ้งไปก็ได้ ไม่ต้องสนใจหรอก ใช้กำลังทหารก็ได้ ประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จะคิดยังไงก็ไม่ต้องสนเพราะเราเป็นประเทศของเรา ไม่ต้องติดต่อการค้ากับใครก็ได้ ไม่ต้องใช้เหตุ ไม่ต้องใช้ผลหรอก



วันนี้ธงคือเอาทักษินออก เพราะฉะนั้นวิธีการยังไงก็ได้ เราขอแค่ความสะใจ สนุกกับการขับไล่คนที่ตัวเองไม่ชอบ เราจะไม่มีการเรียนรู้กับประวัติศาสตร์ คือถึงที่สุดก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาอีก คนตายกันอีก ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อีก


วนกลับไปกลับมาตามประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป

ผมถามจริง ๆ คุณยอมรับรัฐธรรมนูญที่จะออกมาใหม่ได้เหรอ รัฐธรรมนูญที่ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ

หรือรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจคนกลุ่มหนึ่งมากเกินไป เอาหละ ตอนนี้อาจมองไม่ออก ผมให้คุณหลับตาจินตนการนึกถึงคนที่คุณไม่ชอบ อาจจะเป็นใครก็ได้แล้วแต่ฝั่งที่คุณยืนอยู่ แล้วคิดว่าเขาใช้อำนาจเด็ดขาดทางทหารมารังแกคุณ คุณจะยอมไหม?

ซึ่งสุดท้าย่แล้ว ตอนนี้คุณสุจินดาก็อยู่ในประเทศนี่ครับ ผมไม่ได้ว่าคุณสุจินดาถูกหรือผิด เพราะว่าที่สุดแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไม่เคยผ่านกระบวนการทางกฎหมายเลย เราก็อยู่กันอย่างนี้อีก แล้วมันคุ้มไหมกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อตอนนั้นครับ



หลายคนบอกว่าคุ้ม แต่ผมว่าไม่คุ้มครับ ตอนนั้นก็เกิดจากการรัฐประหารที่ทุกคนชื่นชมกัน ให้ดอกไม้ทหารกันที่ไล่พลเอกชาติชายออกไปได้




สุดท้ายพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535 ก็เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองและเป็นจุดด่างดำของประวัติศาสตร์การเมืองไทยจุดที่ 3 ต่อจากเหตุการณ์วันมหาวิปโยค เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 และการสังหารโหดเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งสามเหตุการณ์สะท้อนถึงการเสียดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง บ่งบอกถึงความไม่สามารถปรับตัวของสังคมเข้าสู่ดุลยภาพ

พฤษภาทมิฬสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มทหารและกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ในสถาบันการเมือง เนื่องจากการ
ไม่ได้ทำงานของกลไกทางกฎหมาย


ผมขอเล่าย้อนหลังไปกับประวัติศาสตร์ของสมัยที่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจในปี2534 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลให้เกิดพฤษภาทมิฟในอีกหนึ่งปีต่อมา


หลังจากทำการรัฐประหาร ถ้าย้อนกลับสมัยก่อนที่จะการรัฐประหารของกลุ่มรสช. สภาวะของธุรกิจการเมืองธนาธิปไตยสมัยนั้น



ได้นำไปสู่ข่าวลือเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จนทำให้เกิดความหวั่นวิตกกันทั่วไปว่า จะนำประเทศไปสู่ความหายนะ



เพราะพันธะผูกพันที่ทำกับบรรษัทต่างชาติในโครงการใหญ่ๆ ต่าง ๆ ขณะเดียวกัน



(เหมือนไหมครับ กับเรื่องที่เป็นอยู่ในรัฐบาลทักษินในปี2549ไหมครับ ข่าวลือเรื่องการCorruption)

ความอหังการของนักการเมืองโดยเฉพาะรัฐมนตรีบางท่านที่ออกมาปะทะคารมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง



(ปัจจุบันก็เห็นทหารทะเลาะกันรัฐมนตรีหลายท่านในรัฐบาลยุคทักษิน)


แต่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดคือ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในกองทัพบก ซึ่งมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง


(เหมือนไหมครับ กับเรื่องที่เป็นอยู่ในรัฐบาลทักษินในปี2549ไหมครับ กำลังจะปรับโผทหารเลย)

โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากราชการและเข้าร่วมกับรัฐบาลพอเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ซึ่งทุกอย่างก็เข้าแนว กล่าวคือ ทางฝ่าย จปร. รุ่น 5 ได้คุมกำลังและดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพบก ขณะเดียวกันก็มีอดีตผู้บังคับบัญชาเป็นรัฐมนตรีกลาโหม



ซึ่งก็จะคล้ายกันมากกับปัจจุบันเพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นเตรียมทหารรุ่น 6 ของพลเอกสนธิ เหมือนกับยุคนี้ที่รุ่นหกของพลเอกสนธิ คุมทั้งกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และรวมถึงพลตำรวจเอกโกวิทในปัจจุบัน



หรือว่าผมตอนนี้อยู่ปี2534นะครับจริง ๆ กันแน่เนี่ย :P

แต่เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่พัฒนาต่อมาคือ การที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ไปปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ได้ออกมาตอบโต้จนผลสุดท้ายพลเอกชวลิตได้ลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง



ทำให้เกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้น พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ควบตำแหน่งรับมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย

ซึ่งในปัจจุบันพลเอกชวลิตก็ลาออกจากรัฐบาลทักษินเช่นกัน ก่อนที่จะเกิดการรัฐประหาร ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังอูฐคือ การที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจแต่งตั้งพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงกลาโหม


โดยอ้างว่าเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของตน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกชาติชาย และพลเอกอาทิตย์ (สังเกตุว่าแม้แต่สื่อมวลชนปัจจุบันก็ยังใช้คำพูดว่า "ฟางเส้นสุดท้าย" ทำไมเหมือนกันจังครับ ว่าไหมครับ)


มีกำหนดการเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เชียงใหม่ แต่ก็กลายเป็นกับดักตกอับที่สนามบินกองทัพอากาศ โดยเป็นการปฏิวัติของคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

โดยมี พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ รสช. (บิ๊กจอรํดที่เขาเรียกกันน่ะครับ ที่มีปัญหาเรื่องเงินมรดกหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว

ถ้าหลายท่านติดตามการเมืองมานาน จะนึกภาพออกครับ) พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าคณะฯ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะฯ และมี พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขานุการ



(ซึ่งก็จะเหมือนกับที่เรามีผบ.ทบ. ผบ.สส. ผบ.ทร. และ ผบ.ทอ. ที่จะต่างกันตรงที่เอา ผบ.ตร. เข้าไปด้วยในปี2549 เพื่อไม่ให้ทหารยิงถล่มกับตำรวจ)


เหตุผลของการปฏิวัติมี 5 ข้อ คือ


1. มีการทุจริตคอรัปชันในบรรดารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลอย่างกว้างขวาง

2. ข้าราชการการเมืองรังแกข้าราชการประจำ

3. รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา

4. มีการพยายามทำลายสถาบันทหาร

5. บิดเบือนคดีวันลอบสังหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์


จะเห็นว่าเหตุผลของการทำการรัฐประหารก็ยังคล้ายกันอีกเช่นกันกับปี2549 คือเรามีบทเรียน มีประวัติศาสตร์ แต่เราไม่เรียนรู้กับมันเท่านั้นเอง


รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยาชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นักเรียนเก่าจากค่าย Cambridge เข้ามา และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ



มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ผู้มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ โดยมีอดีตรัฐมนตรีถูกประกาศชื่อเป็นผู้อยู่ในข่ายสงสัยจะถูกยึดทรัพย์


(เหมือนอีกไหมครับ กับเรื่องที่เป็นอยู่ในรัฐบาลทักษินในปี2549ไหมครับ)


แต่ที่เป็นประเด็นสำคัญคือ ความอิสระของรัฐบาลอานันท์ ปันยาชุน ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติทหาร และบริหารบ้านเมืองด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ ตามหลักวิชาการ


จนเกิดความรู้สึกว่ามีความขัดแย้งกันขึ้นระหว่าง รสช. และรัฐบาล ซึ่งก็จะย้อนกลับไปคล้ายกับนายกธานินร์ สมัยรัฐบาลหอยอีกในปี2519 ซึ่งก็ย้อนกันไปกันมา


อย่าพึ่งงงนะครับ ท่านผู้อ่าน เหมือนกับปี2549ไหม


แล้วต่อไปเรามาดูอนาคตของปี2549กันต่อ เอ้ย ไม่ใช่ ๆ ครับ มาดูช่วงเวลาต่อจากปี2534กันครับ :P


นอกจากเหนือจากนั้นประเด็นการแปรญัตติรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยคณะกรรมการ ชุดแรก 20 คน โดยคณะกรรมการสามัญ 25 คน ได้นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหนัก


โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลที่เปิดทางให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการเมืองได้ อำนาจของวุฒิสมาชิก



การแก้ไขรัฐธรรมนูญและตัวนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ตำแหน่งประธานรัฐสภา เขตการเลือกตั้ง คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการรัฐสภา

การประท้วงรัฐธรรมนูญที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยได้นำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมือง จนต้องมีการห้ามทัพกัน


ต่อมาเหตุการณ์สำคัญคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนและพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ คุณสมบัติของตัวนายกรัฐมนตรีและอำนาจวุฒิสมาชิก


นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาที่หลงลืมคือ ในบทเฉพาะกาลให้ประธาน รสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี



แทนที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

การเลือกตั้งในวันที่ 22มี.ค. 2535 หลังจากยึดอำนาจนายกชาติชายได้แล้วก็เกิดขึ้น ผลการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ได้จำนวนผู้แทนมากเป็นอันดับ ๑ คือพรรคสามัคคีธรรม (๗๙ คน ) ตามด้วยชาติไทย (๗๔) ความหวังใหม่ (๗๒) ประชาธิปัตย์ (๔๔)พลังธรรม (๔๑) กิจสังคม (๓๑) ประชากรไทย (๗) เอกภาพ ( ๖ ) ราษฎร ( ๔ ) ปวงชนชาวไทย ผ ๑ ) และพรรคมวลชน ( ๑ )



การดำเนินการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเป็นไปอย่างรวดเร็ว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรคสามัคคีที่ได้เสียงมากที่สุดได้รับการเสนอชื่อพรรคสามมีคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร รวมจำนวนเสียงสนับสนุน ๑๙๕ เสียง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๙ ของประเทศไทย



แต่ยังไม่ทันที่ พล.อ. สุนทรจะได้ทูลเกล้าฯ ชื่อนายรณรงค์ ก็มีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่า นายณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ ต้องห้าม ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด


ชื่อของ พล.อ. สุจินดาจึงขึ้นมาแทนที่ในเวลาอันรวดเร็ว ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พล.อ. สุจินดา คราประยูร



ซึ่งลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรับมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยนับจากนั้น



(ซึ่งเมื่อวันก่อนพลเอกสนธิ ก็ได้รับการโปรดเกล้าเป็นหน.คณะปฎิรูป เช่นเดียวกัน)


ความขัดแย้งและความยุ่งยากก็ก่อตัวขึ้น จนนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในเวลาต่อมา การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ในรัฐบาลผสมของพรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และ พรรคสามัคคีธรรม



(ปัจจุบันสองพรรคหลังเลิกไปแล้ว และตอนนี้พรรคอื่น ๆ ก็หายไปด้วยเช่นกันในปี2549)

นับเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่พอใจและการคัดค้านของประชาชน พรรคฝ่ายค้านสี่พรรค ( พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคเอกภาพ) และ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ 7 เมษายน 2535


พลเอกสุจินดาเป็นนายกฯ ท่ามกลางกระแสคัดค้าน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรับมนตรีคนที่ 19 ตามความคาดหมาย เหมือนกับที่เราได้เห็นไม่เมื่อไม่กี่วันก่อนในปี2549นี้ ที่ได้พลเอกสนธิได้รับโปรดเกล้าเป็นหน.คณะปฎิรูป เช่นเดียวกัน


มีข้าราชการทหารและ พลเรือนจำนวนหนึ่งไปมอบดอกไม้แสดงความยินดี อันนี้จะเหมือนกับตอนนี้ที่หลายท่าน ได้เอาดอกไม้ไปให้ทหารยุคพลเอกสนธิหรือไม่ อันนี้ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ


พล.อ. สุจินดาให้สัมภาษณ์ถึงการตั้งคณะรับมนตรีว่า ส.ส. ที่ถูกยึดทรัพย์สามารถเป็นรับมนตรีได้ ซึ่งก็เหมือนกับการจะยึดทรัพย์รัฐบาลทักษินในตอนนี้เข้าไปอีก

องค์กรต่าง ๆ เริ่มเคลื่อนไหวคัดค้าน เช่น การประชุมเพื่อคัดค้านนายกฯ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของคณะกรรมการรณรงค์ เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ( สนนท.)


หลังนั้นมีการวางหรีดอาลัยแก่ตำแหน่งนายกฯ ของพล.อ. สุจินดา ที่สวนรื่นฤดี รวมทั้งมีการแสดงการคัดค้านของนักวิชาการหลายท่าน


ต่อมาคุณฉลาดอดอาหารประท้วง เกิดเป็นชนวนแรกของการคัดค้าน เวลาตีหนึ่ง ร.ต. ฉลาด วรฉัตร อดีต ส.ส. เริ่มอดอาหารประท้วงให้นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง ที่บริเวณหน้ารัฐสภา พร้อมป้ายสีดำข้อความว่า ข้าขอพลีชีพเพื่อประชาธิปไตยนายกรับมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง


ยิ่งมองเข้าไปก็ยิ่งน่าตกใจถึงความเหมือน ซึ่งร.ต. ฉลาด วรฉัตรก็คือคนที่โดนทหารยุคพลเอกสนธิ รวบตัวไปเมื่อช่วงวันที่20 September 2549นี้เอง เพราะว่าออกมากล่าวข้อความในทิศทางเดียวกันกับที่เขาเคยกล่าวไป



ทำไมเหมือนกันอีกเนี่ย ผู้อ่านอย่าพึ่งงงนะครับ ว่าผมเล่าเรื่องในอดีตหรือปัจจุบัน เพราะมันเหมือนกันเหลือเกิน


หลังจากนั้น พลเอกสุจินดาหลั่งน้ำตา เสียสัตย์เพื่อชาติ คือ พล.อ. สุจินดาหลั่งน้ำตากล่าวอำลาตำแหน่ง ผบ.สูงสุด และ ผบ.ทบ. ที่หอประชุมกองทัพบกบอกว่ามีความจำเป็นต้องเสียสัตย์เพื่อชาติและ ขอให้ทหารคิดว่าตนเป็นพลเรือนแล้ว



พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รักษาการ ผบ.ทบ. ได้กล่าวว่า ตนสนับสนุน พล.อ. สุจินดา ๒,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ควรให้รัฐบาลทำงานก่อน ส.ส.ฝ่ายค้านได้ออกมาแสดงการคัดค้าน


พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้นายอาทิตย์ชี้แจงบทบาทของตัวเองในการเลือกนายกรับมนตรี และพรรคฝ่ายค้านทั้งสี่พรรคแถลงว่าจะยึดหลักต่อสู้ต่อไปทั้งในและนอกสภา


ทางฝ่าย ครป. และ สนนท. ได้มีจดหมายส่งถึง พล.อ. สุจินดา คัดค้านการเข้ารับตำแหน่งนายกฯ และขอร้องให้ลาออก มีการเสวนาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผมให้คุณผู้อ่านเทียบกับข่าวของวันที่25 September 2549นี้ จากไทยรัฐครับ ว่าแม้แต่องค์กร ยังชื่อเหมือนกัน คือชื่อ ครป.


(" [1] เลขา ครป.กล่าวด้วยว่า คณะปฏิรูปฯควรนำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มาเป็นกรอบแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 8 เดือน เร่งคืนอำนาจให้ประชาชนตามที่สัญญา เพราะการที่ประชาชนส่วนหนึ่งสนับสนุนรัฐประหารครั้งนี้ ไม่ใช่จะเป็นความชอบธรรมที่คณะปฏิรูปฯ สืบทอดอำนาจในระยะยาว สิ่งที่ควรระวังคือการฉวยอำนาจ สร้างอำนาจ หรือระบอบที่แปลกปลอมชุดใหม่ แทนที่ระบอบทักษิณโดยเฉพาะกลุ่มพลเรือน ที่คณะปฏิรูปฯ มอบหมายอำนาจให้นั้น จะต้องตรวจสอบผลงานและพฤติกรรมอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสสร้างเครือข่ายยึดอำนาจเงียบจากคณะปฏิรูปฯ หรือเป็นการรัฐประหารซ้อนโดยพลเรือน จนทำให้บิดเบือนเจตนารมณ์ของคณะปฏิรูปฯ ทั้งยังควรจับตาการโต้กลับจากระบอบทักษิณ ป้องกันสงครามการเงิน เช่นการโจมตีตลาดหุ้น และไม่ควรออกประกาศลิดรอนเสรีภาพของประชาชนมากกว่านี้")


ย้อนกลับไปปี2534-2535ต่อนะครับ ส่วนนักศึกษาไทยในสหรัฐฯประกาศจะวางหรีดดำประท้วง ซึ่งจะสังเกตอีกว่าพรรคฝ่ายค้านก็คือพรรคประชาธิปปัตย์อีกเช่นเคย เหมือนในปัจจุบัน อะไรจะเหมือนกันขนาดนั้น


พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. และ ผบ.สูงสุด ณ คณะนั้น กล่าวว่ารัฐบาลจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ขณะที่ พล.อ. อิสระพงศ์กล่าวว่า นายกฯ เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประชาชนออกมาสนับสนุนนายกฯ ทั่วประเทศมีประชาชนออกมาสนับสนุนนายกฯ คนใหม่มากมาย จน พล.อ. สุจินดาบอกว่า อยากให้ยกป้ายด่ามากกว่าป้ายเชียร์



(เห็นวันก่อน, ปี2549 มีทำPollออกมา ว่าคนกรุงเทพและคนต่างจังหวัดเห็นด้วยมากกว่า80 % เป็นความเหมือนที่แตกต่างจริง ๆ )


อีกสองวันต่อมา พลเอกสุจินดาได้กล่าวว่า นายกฯ บอกหลับสบาย ก่อนหน้าที่ฝ่ายค้านจะอภิปรายที่ลานพระบรมรูปฯ ในเย็นวันนี้ พล.อ. สุจินดาให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อมีสภาแล้วไม่ควรเล่นนอกสภา และบอกว่าไม่ห่วงเรื่องการปราศรัยเลย ตนพร้อมจะรับคำตำหนิ คิดว่าประชาชนจะมาชุมนุมไม่ถึงแสนคน ไม่หนักใจม็อบต้าน


และบอกว่า ผมไม่เครียดหลับสบายทุกคืน อันนี้ก็ย้อนกลับไปเหมือนที่ทักษินได้พูดเลยในตอนที่เขาคุมมวลชน เหมือนกันมาก


ต่อมา พล.อ.อ. เกษตรกล่าวว่าถ้าเหตุการณ์บานปลายลุกลาม จะใช้มาตรการให้บ้านเมืองสงบ พล.อ. อิสระพงศ์ ก็กล่าว มีแผนจัดการกับผู้ร่วมชุมนุมแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณไม่สงบ ประชาชนเรือนแสนร่วมคัดค้านนายกฯคนนอก



อันนี้คืออยากให้หลาย ๆ คนได้เข้าใจถึงว่า เขาคุมมวลชนอย่างไร ในยุครัฐบาลพลเอกสุจินดา ในยุครัฐบาลทักษิน และในยุครัฐบาลพลเอกสนธิที่จะต้องคุมในเร็ววันนี้


เพราะตอนนี้พลเอกสนธิ จะคล้ายไปที่พลเอกสุจินดาในตอนสมัยปี2534ช่วงที่ได้อำนาจมาใหม่ ๆ มากกว่านายกทักษิน คือเน้นหนักไปที่มีกองกำลังทางทหารมากกว่า



แต่ที่พลเอกสนธิมีตอนนี้ ณ ขณะนี้ด้วยก็คือเสียงหนุนของคนกรุงเทพ ตอนนั้นปี2534ก็ไม่มีเสียเลือกเหมือนกับปี2549นะครับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี คือปี2535 คนก็ล้มตายกัน เกิดการนองเลือด


แต่ในทางกลับกันก็คือก็มีเสียงคัดค้านแบบ Dramatize จากทั้งคนกรุงเทพและคนต่างจังหวัดจำนวนมาก อาจจะไม่ตรงเป๊ะทุกอย่าง เหมือนรัฐบาลพลเอกสุจินดาในเวลานั้น



อันนี้คือความแตกต่าง แต่ถามผมว่าพลเอกสนธิ ผบ.ทบ.ขณะนี้ จะเดินตามรอยรุ่นพี่พลเอกสุจินดาผบ.ทบ.ขณะนั้นหรือไม่ อันนี้ตอบไม่ได้


เขาอาจจะเลือกการคืนอำนาจให้ประชาชนเร็วขึ้น โดยการให้สิทธิเสียงประชาชนในการออกมาชุมนุมได้ ออกมาพูดได้ แสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็อีกครับว่าเราจะย้อนกลับไปประเด็นที่ผมพูด แล้วพลเอกสนธิจะจัดการอย่างไรกับกลุ่มคาราวานคนจนล่ะ


อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องติดตาม ว่าพลเอกสนธิ จะเดินเส้นทางไหน แต่ผมขอตั้งขอสังเกตุว่า ประเทศเราจะได้ประโยชน์จากการกระทำ การcoup d’etat ในยุค century นี้จริง ๆ หรือ?


ในขณะที่ประเทศที่เจริญด้านเศรษฐกิจที่สุดของโลกทั้งห้าของโลก เน้นไปที่ Globolizationที่ เน้นไปที่FTA เน้นไปที่ระบอบประชาธิปไตย ผมก็ไม่รู้หรอกครับ ว่าพวกนี้มันดีไหม พวกนี้ถ้าจะถก มันก็ถกกันได้ครับ

เพียงแต่เขากำลังทำอยู่อย่างนั้นในปัจจุบัน เราอาจจะสร้างInnovationใหม่ ๆ ขึ้นมาเลยก็ได้



ตอนนั้นมหาวิทยาลัยHarvard อาจต้องให้ Doctor of Philosophyพลเอกสนธิเลยก็ได้ที่ได้สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของโลกประชาธิปไตยเชิงทหารอย่างนี้ ผมเองก็ตอบไม่ได้


แต่อยากให้ทุกคนได้คิดกัน ทุกคนต้องคิดด้วยตัวเอง เอาความรู้ที่ได้มา กลั่นกรองเข้ากับประสบการณ์ตัวเองที่ได้เจอ เรียนรู้กับมิติของประวิติศาสตร์ เรียนรู้กับกฏหมาย เรียนรู้กับมิติของรัฐศาสตร์ เพราะว่าประวัติศาสตร์มันสอนกันอยู่ครับ


ทำไมผมถึงบอกว่าเราน่าจะเรียนรู้กับประวิติศาสตร์ ?

เพราะระบอบประชาธิปไตยถึงที่สุดแล้ว ก็คือการให้คนส่วนมากมีโอกาสในการปกครอง ก็คือฝึกให้คนได้รู้จักใช้เหตุผล ไม่ใช่ให้คนคอยตามใครคนใดคนหนึ่งบงการมาแล้วก็ shape ประเทศไปในทิศทางนั้น



เราต้องให้ความรู้แก่ประชาชน ว่าทำอย่างนี้ไม่ดี ให้เหตุและผล ให้องค์ความรู้เขาในด้านต่าง ๆ


แต่การให้ความรู้กับการให้ความdramatizeมันต่างกัน เราให้ความรู้ได้ เราติเราติงกันได้ แต่เราไม่ควรให้ความdramatize การให้ความรู้จะทำให้ประเทศไทยยั่งยืน แต่การให้ความdramatizeจะทำให้ชาติพัง และแตกเป็นเสี่ยง ๆ

-----------------------


5.) แต่ถ้ามันไม่ปะทะกันล่ะ


ถ้าไม่ปะทะกัน คนก็ชุมนุมเรื่อย ๆไปเป็นเดือน ๆ ปี ๆ ประเทศเศรษฐกิจก็พัง เกิดความแตกแยกของคนที่ชอบกับไม่ชอบทักษิน จนรัฐบาลนั้น ๆ ทนไม่ได้ ก็สั่งให้ทำสลายฝูงชน คนก็ตายอีก รัฐบาลก็เป็นทรราชไป


แล้วถามว่าจะแก้ยังไง อันนี้มันผิดตั้งแต่การทำให้สังคมแตกความคิด dramatizeมากเกินไปเป็นสองส่วน อันนี้สังคมอยู่ไม่ได้ ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นสองฝั่ง ทั้งฝั่งที่เชียร์ทักษิณและฝั่งที่ต่อต้านทักษิน


คนที่อยู่ในด้านหนึ่งก็เชื่อไปแล้วว่าอีกด้านหนึ่งมันเลวสุดขีดโดยไม่ต้องคิดอะไรแล้ว คนที่ชอบทักษินก็จะบอกว่า ทีเขาชุมนุมได้ ไล่ได้ เราก็ไล่ได้สิ แล้วรัฐบาลนั้น ๆ ก็จะทำไง ก็วนไปในมิติเหมือนเดิม


รัฐบาลจะออก ออกไปรัฐบาลก็อาจแย่ได้ โดนม๊อบอีกฝั่งเอาเรื่อง ยึดทรัพย์เหมือนที่ทักษินจะโดน เขาก็ไม่ออก



พอไม่ออก ก็โดนอีก หาว่าบ้าอำนาจ เป็นรัฐบาลเผด็จการณ์ ก็โดนไล่อีก คือลงก็โดน ไม่ลงก็โดน เพราะสังคมมันแตกไปแล้ว มันฟื้นไม่ทันแล้ว สังคมอย่างนี้ ไม่น่าอยู่ครับ


ด้วยความเคราพความเห็นท่านอื่น ๆ เช่นกันครับ

-----------------------



This page is powered by Blogger. Isn't yours?