Wednesday, November 01, 2006
โชเฟอร์แท็กซี่ขับชนรถถัง ผูกคอตาย
-
"โชเฟอร์แท็กซี่ขับชนรถถัง ผูกคอตาย 08:49 น. เวลา 00.20 น วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549เจ้าหน้าที่ตำรวจพบนายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี ชาว อ.เมือง จ.นนทบุรี ผูกคอห้อยกับเหล็กบันไดสะพานลอยสูง3 เมตร สวมหมวกไหมพรหมปิดบังใบหน้า ใกล้กันพบแผ่นกระดาษ เขียนข้อความว่า อดีตคนขับรถแท็กซี่พลีชีพเพื่อประชาธิปไตยและลบคำสบประมาท พลเอกอัคร ทิพย์โรจน์ รองโฆษกคณะปฎิรูปการปกครองในระบออประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากถึงขั้นพลีชีพ และมีกระดาษถ่ายเอกสารข่าวเกี่ยวกับตัวของนายนวมทองที่เคยขับรถพุ่งชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐจำนวนหนึ่ง "
Can I quote my statement from my article on 21 September 2006? Please re-read and discover the truth (which was proved by the period of time recently) in it.
"
4.) ทำไมถึงคิดว่าต้องมีคนตายด้วยเหรอ / แล้วคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร?
ยังไงก็จะมีคนตายจากการรัฐประหารครั้งนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนจริง ๆ
ทำไมผมถึงกล่าวอย่างนั้น?
พลเอกสนธิคือเหมือนที่ได้บอกไป ว่าถ้าเขาเขียนรัฐธรรมนูญอ่อนไปแล้วเขาไม่เข้าไปยุ่ง ให้คนมาประท้วงได้ ซึ่งเหมือนจะดีในแง่ให้สิทธิคน แต่เขาก็จะแย่ตรงที่จะโดนคนชอบทักษินไล่ มาชุมนุมไล่
แล้วเขาจะแก้ยังไง อันนี้น่าคิด
หรือว่าถ้าเขาใช้ทหารมาฆ่าคน ไม่ให้ชุมนุม ก็จะกลายเป็นอีกอย่าง คือเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแรง ๆ เลย ว่าห้ามคนชุมนุมเด็ดขาด
แน่นอนล่ะ แรก ๆ ก็คงได้ ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือเขียนอย่างนี้จะเขียนนานเท่าไหร่ เพราะถ้าเขียนนานเกินไป ก็จะโดนคนหาว่าบ้าอำนาจ คนก็ออกมาไล่อีก แล้วก็จะมีคนตาย พลเอกสนธิก็จะกลายเป็นทรราช
เพราะงั้น ถ้าผมเป็นทีมที่ปรึกษาพลเอกสนธิ ผมก็จะแนะนำไปตามนี้ แต่เรื่องเวลา บอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก
แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม
เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ
แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งไม่สงบหรอก มันคุมยากทักษิน คุมไม่ได้
แล้วพลเอกสนธิก็จะคุมได้เหรอ ตอนนั้นทักษินมีมากกว่าพลเอกสนธิอีกนะ มีทั้งคนที่ชอบเป็นฐานอยู่ต่างจังหวัดเยอะ มีทั้งกองทัพ มีทั้งตำรวจ มีทั้งเงิน
หรือถ้าไปเปรียบกับอดีตเลย ตอนนั้นพลเอกสุจินดามีก็เหมือนพลเอกสนธิตอนนี้ล่ะ แต่ก็เอาตัวไม่รอด
จัดม๊อบมาชนก็ก็ไม่จบง่าย ๆ แต่ที่แน่ ๆ จะทำให้มีคนตาย นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่า จะมีคนตายแน่ เพราะไม่ว่าจะทำไง ก็ต้องมีการปะทะ
แล้วก็ต้องใช้กำลัง แล้วคนก็ตาย ประเทศพังไปแล้ว
หรือถ้าจะกล่าวอีกในนัยยะหนึ่งก็คือ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่า คณะปฎิรูป จะเลือกที่จะปิดกั้นความคิดเห็นและการรวมตัวกันก็ไม่เป็นผลดี
และหากจะเลือกให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและการชุมนุมทางการเมืองก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายทั้งสิ้น ไม่มีทางใดที่จะเป็นผลดีเลย และเป็นทางเลือกที่จะนำไปสู่ทางหายนะของคณะปฏิรูปทั้งสิ้น
โดยความเชื่อส่วนตัวคิดว่าคณะปฏิรูปฯน่าจะเลือกที่จะปิดกั้นสื่อมากกว่า แต่การที่ยิ่งคณะปฏิรูป ยิ่งจะปิดกั้น ก็ยิ่งจะสูญเสียการสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นไปทุกที
และกลุ่มคนอีกฝั่งก็จะมีแนวร่วมมากขึ้นทุกที นี่ช่างเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของสังคมไทยจริงๆ
คือบางทีเจ้าตัว เขาไม่ได้บ้าอำนาจหรอก แต่ว่ามันไม่รู้จะทำไงเหมือนที่ทักษินเคยเป็นและพลเอกสนธิที่กำลังจะเป็น คือลงก็ไม่ได้ ไม่ลงก็ไม่ได้ และปัญหาคือจะเอาเวลาเท่าไหร่ที่ดีที่สุดต่อตัวเองอันนี้แก้ยากมาก
กล่าวโดยสรุป หากวางและเรียกร้องตามแนวคิดที่เขาพยายามจะใช้กำลังทางทหาร ล้มระบอบประชาธิปไตยไป ไม่มีวันล้าง มลทินตามกฎหมายได้หรอกครับ อันนี้
(ซึ่งวันนั้น ทั้งนายกทักษินและคปป.พลเอกสนธิก็คงอยู่ไม่ต่างอะไรกับพลเอกสุจินดาในปัจจุบันนี้ ตอนนี้คุณสุจินดาก็อยู่ในประเทศนี่ครับ ผมไม่ได้ว่าคุณสุจินดาถูกหรือผิด เพราะว่าที่สุดแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่เคยผ่านกระบวนการทางกฎหมายเลย เราก็อยู่กันอย่างนี้อีก แล้วมันคุ้มไหมกับการสูญเสีย ผมไม่เข้าใจ)
แต่ก็อีกล่ะครับ ผลก็คือก็จะกลับไปตรงที่ผมวิเคราะห์ไปว่าก็ยังจะทำให้ฝ่ายเห็นด้วยกับนายกทักษิน และฝ่ายต่อต้านรัฐประหารออกมาเรียกร้องขุมนุมมากขึ้นทุกที เขียนตำหนิทุกวัน ออกข่าวต่อว่าทุกวัน สถานการณ์ก็จะกลับไปวุ่นวายเหมือนก่อนรัฐประหาร
ซึ่งจะทำให้คนที่เคยสนับสนุนเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบเปลี่ยนใจและคณะรัฐประหารจะทนไม่ได้ จนอาจจะต้องกลับมาควบคุมการแสดงความคิดเห็นและห้ามการชุมนุมตลอดไป
ซึ่งเมื่อปิดกันการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม ก็จะมีแรงต้านจากประชาชน และต่างประเทศมากขึ้นทุกที่ และจะต้องหายนะในที่สุดโดยพลังของประชาชน
ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป
ซึ่งจริง ๆ เป็นการเดิมพันทะเลาะกันของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่เขาเล่นกันจะหมดหน้าตัก ปรุงแต่งมวลชนเข้ามา เอาความdramatizeที่ปรุงแต่งเข้ามา ไม่ใช้เหตุและผล แต่ประเทศไทยเราก็พังและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ
เหมือนสมัยแต่ก่อนหน้านั้นเราจะต้องเอาพลเอกสุจินดา คราประยูร ออกให้ได้ใช่ไหม ตอนนั้นเราก็ไม่สนหลักการอะไร เราขอเอาเขาออกให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนก็Happy ที่ไล่นายกชาติชายไปได้โดยวิธีทางทหาร แต่อีกปีให้หลัง ก็ไม่เอาพลเอกสุจินดา ไล่เขาออกถ้าเราย้อนกลับไปตอนสมัยพลเอกสุจินดาจะเข้ามาเป็นนายก ถ้าเราคิดกันตามศาสตร์ของประชาธิปไตย หรือคิดตามหลักรัฐธรรมนูญ
พลเอกสุจินดาไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเลยที่มาใช้กำลังทางทหารในปี2534ในการยึดอำนาจ
แต่ถามว่าปัจจัยที่ทำให้พลเอกสุจินดา ได้ความชอบธรรมพอสมควรคือ หนึ่ง เขามีกองทัพในมือ สอง คือเขามีคนกรุงเทพบางส่วนที่ไม่ชอบพลเอกชาติชาย สนับสนุนเขา เอาดอกไม้ไปให้เขาคำตอบคือวิธีคิดที่จะเอาเป้าหมายโดยไม่สนวิธีการ คนจำนวนมากตอนนั้นก็สนับสนุน คือ ขอให้พลเอกชาติชายไปเถอะ แม้ว่าจะฉีกกฎหมายบ้าง แม้ว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญบ้าง แม้ว่าไม่เอาหลักการบ้าง เอาไว้ข้างๆ ก่อนก็ไม่เป็นไร เอาทหารมาก็ได้
ไม่เป็นไรหรอกเพราะเราต้องให้ประเทศมันเดินได้เร็วในแง่ของการกำจัดคนคอรัปชั่น เราไม่ต้องการพลเอกชาติชาย เพราะจะทำให้สังคมเดินได้ไม่ดีถ้ามีพลเอกชาติชาย เราไม่ต้องการไปติดกับระบอบชาติชาย
หลายคนที่วันนั้นคิดอย่างนี้แต่ผ่านไปหนึ่งปีให้หลัง (ปี2535) คนที่เชียรพลเอกสุจินดาให้ยึดอำนาจรัฐบาลชาติชายก็ คือคนที่กลับมาเป็นคนที่ต่อต้านพลเอกสุจินดาอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูในวันนั้น กฎหมายไม่เป็นไรหรอก ใช้คนไปกดดันให้เขาออก แม้ว่าจะเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน ก็ไม่ต้องสนใจ เพราะเรามีธงคือการเอาพลเอกสุจินดาออก
วันนั้นเราคิดอย่างนั้น วันนี้แบบเดียวกันแต่ต่างที่มิติของเวลา ซึ่งเป็นเวลาที่นานเอาการอยู่คือ15ปี วันนี้คือเอาทักษินออก
เมื่อจะเอาทักษินออก ไม่ต้องเอาหลักการหรอก กฏหมายและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉีกทิ้งไปก็ได้ ไม่ต้องสนใจหรอก ใช้กำลังทหารก็ได้ ประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จะคิดยังไงก็ไม่ต้องสนเพราะเราเป็นประเทศของเรา ไม่ต้องติดต่อการค้ากับใครก็ได้ ไม่ต้องใช้เหตุ ไม่ต้องใช้ผลหรอก
วันนี้ธงคือเอาทักษินออก เพราะฉะนั้นวิธีการยังไงก็ได้ เราขอแค่ความสะใจ สนุกกับการขับไล่คนที่ตัวเองไม่ชอบ เราจะไม่มีการเรียนรู้กับประวัติศาสตร์ คือถึงที่สุดก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาอีก คนตายกันอีก ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อีก
วนกลับไปกลับมาตามประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป
หลายคนบอกว่าคุ้ม แต่ผมว่าไม่คุ้มครับ ตอนนั้นก็เกิดจากการรัฐประหารที่ทุกคนชื่นชมกัน ให้ดอกไม้ทหารกันที่ไล่พลเอกชาติชายออกไปได้
สุดท้ายพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535 ก็เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองและเป็นจุดด่างดำของประวัติศาสตร์การเมืองไทยจุดที่ 3 ต่อจากเหตุการณ์วันมหาวิปโยค เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 และการสังหารโหดเมื่อ 6 ตุลาคม 2519
ทั้งสามเหตุการณ์สะท้อนถึงการเสียดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง บ่งบอกถึงความไม่สามารถปรับตัวของสังคมเข้าสู่ดุลยภาพพฤษภาทมิฬสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มทหารและกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ในสถาบันการเมือง เนื่องจากการไม่ได้ทำงานของกลไกทางกฎหมาย
"
It seems to me that I don’t always want anyone (either you agree or disagree with my ideas) pass away from the political actions.
Someone may feel enjoy when they read this suicide news but, as for me, I exactly don’t. It doesn’t because I disagree with coup d’etat but it doesn’t because he is Thai. He is purely Thai.
As I used to say “ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป”
Rest in peace.
"โชเฟอร์แท็กซี่ขับชนรถถัง ผูกคอตาย 08:49 น. เวลา 00.20 น วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549เจ้าหน้าที่ตำรวจพบนายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี ชาว อ.เมือง จ.นนทบุรี ผูกคอห้อยกับเหล็กบันไดสะพานลอยสูง3 เมตร สวมหมวกไหมพรหมปิดบังใบหน้า ใกล้กันพบแผ่นกระดาษ เขียนข้อความว่า อดีตคนขับรถแท็กซี่พลีชีพเพื่อประชาธิปไตยและลบคำสบประมาท พลเอกอัคร ทิพย์โรจน์ รองโฆษกคณะปฎิรูปการปกครองในระบออประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากถึงขั้นพลีชีพ และมีกระดาษถ่ายเอกสารข่าวเกี่ยวกับตัวของนายนวมทองที่เคยขับรถพุ่งชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐจำนวนหนึ่ง "
Can I quote my statement from my article on 21 September 2006? Please re-read and discover the truth (which was proved by the period of time recently) in it.
"
4.) ทำไมถึงคิดว่าต้องมีคนตายด้วยเหรอ / แล้วคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร?
ยังไงก็จะมีคนตายจากการรัฐประหารครั้งนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนจริง ๆ
ทำไมผมถึงกล่าวอย่างนั้น?
พลเอกสนธิคือเหมือนที่ได้บอกไป ว่าถ้าเขาเขียนรัฐธรรมนูญอ่อนไปแล้วเขาไม่เข้าไปยุ่ง ให้คนมาประท้วงได้ ซึ่งเหมือนจะดีในแง่ให้สิทธิคน แต่เขาก็จะแย่ตรงที่จะโดนคนชอบทักษินไล่ มาชุมนุมไล่
แล้วเขาจะแก้ยังไง อันนี้น่าคิด
หรือว่าถ้าเขาใช้ทหารมาฆ่าคน ไม่ให้ชุมนุม ก็จะกลายเป็นอีกอย่าง คือเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแรง ๆ เลย ว่าห้ามคนชุมนุมเด็ดขาด
แน่นอนล่ะ แรก ๆ ก็คงได้ ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือเขียนอย่างนี้จะเขียนนานเท่าไหร่ เพราะถ้าเขียนนานเกินไป ก็จะโดนคนหาว่าบ้าอำนาจ คนก็ออกมาไล่อีก แล้วก็จะมีคนตาย พลเอกสนธิก็จะกลายเป็นทรราช
เพราะงั้น ถ้าผมเป็นทีมที่ปรึกษาพลเอกสนธิ ผมก็จะแนะนำไปตามนี้ แต่เรื่องเวลา บอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก
แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม
เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ
แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งไม่สงบหรอก มันคุมยากทักษิน คุมไม่ได้
แล้วพลเอกสนธิก็จะคุมได้เหรอ ตอนนั้นทักษินมีมากกว่าพลเอกสนธิอีกนะ มีทั้งคนที่ชอบเป็นฐานอยู่ต่างจังหวัดเยอะ มีทั้งกองทัพ มีทั้งตำรวจ มีทั้งเงิน
หรือถ้าไปเปรียบกับอดีตเลย ตอนนั้นพลเอกสุจินดามีก็เหมือนพลเอกสนธิตอนนี้ล่ะ แต่ก็เอาตัวไม่รอด
จัดม๊อบมาชนก็ก็ไม่จบง่าย ๆ แต่ที่แน่ ๆ จะทำให้มีคนตาย นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่า จะมีคนตายแน่ เพราะไม่ว่าจะทำไง ก็ต้องมีการปะทะ
แล้วก็ต้องใช้กำลัง แล้วคนก็ตาย ประเทศพังไปแล้ว
หรือถ้าจะกล่าวอีกในนัยยะหนึ่งก็คือ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่า คณะปฎิรูป จะเลือกที่จะปิดกั้นความคิดเห็นและการรวมตัวกันก็ไม่เป็นผลดี
และหากจะเลือกให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและการชุมนุมทางการเมืองก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายทั้งสิ้น ไม่มีทางใดที่จะเป็นผลดีเลย และเป็นทางเลือกที่จะนำไปสู่ทางหายนะของคณะปฏิรูปทั้งสิ้น
โดยความเชื่อส่วนตัวคิดว่าคณะปฏิรูปฯน่าจะเลือกที่จะปิดกั้นสื่อมากกว่า แต่การที่ยิ่งคณะปฏิรูป ยิ่งจะปิดกั้น ก็ยิ่งจะสูญเสียการสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นไปทุกที
และกลุ่มคนอีกฝั่งก็จะมีแนวร่วมมากขึ้นทุกที นี่ช่างเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของสังคมไทยจริงๆ
คือบางทีเจ้าตัว เขาไม่ได้บ้าอำนาจหรอก แต่ว่ามันไม่รู้จะทำไงเหมือนที่ทักษินเคยเป็นและพลเอกสนธิที่กำลังจะเป็น คือลงก็ไม่ได้ ไม่ลงก็ไม่ได้ และปัญหาคือจะเอาเวลาเท่าไหร่ที่ดีที่สุดต่อตัวเองอันนี้แก้ยากมาก
กล่าวโดยสรุป หากวางและเรียกร้องตามแนวคิดที่เขาพยายามจะใช้กำลังทางทหาร ล้มระบอบประชาธิปไตยไป ไม่มีวันล้าง มลทินตามกฎหมายได้หรอกครับ อันนี้
(ซึ่งวันนั้น ทั้งนายกทักษินและคปป.พลเอกสนธิก็คงอยู่ไม่ต่างอะไรกับพลเอกสุจินดาในปัจจุบันนี้ ตอนนี้คุณสุจินดาก็อยู่ในประเทศนี่ครับ ผมไม่ได้ว่าคุณสุจินดาถูกหรือผิด เพราะว่าที่สุดแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่เคยผ่านกระบวนการทางกฎหมายเลย เราก็อยู่กันอย่างนี้อีก แล้วมันคุ้มไหมกับการสูญเสีย ผมไม่เข้าใจ)
แต่ก็อีกล่ะครับ ผลก็คือก็จะกลับไปตรงที่ผมวิเคราะห์ไปว่าก็ยังจะทำให้ฝ่ายเห็นด้วยกับนายกทักษิน และฝ่ายต่อต้านรัฐประหารออกมาเรียกร้องขุมนุมมากขึ้นทุกที เขียนตำหนิทุกวัน ออกข่าวต่อว่าทุกวัน สถานการณ์ก็จะกลับไปวุ่นวายเหมือนก่อนรัฐประหาร
ซึ่งจะทำให้คนที่เคยสนับสนุนเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบเปลี่ยนใจและคณะรัฐประหารจะทนไม่ได้ จนอาจจะต้องกลับมาควบคุมการแสดงความคิดเห็นและห้ามการชุมนุมตลอดไป
ซึ่งเมื่อปิดกันการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม ก็จะมีแรงต้านจากประชาชน และต่างประเทศมากขึ้นทุกที่ และจะต้องหายนะในที่สุดโดยพลังของประชาชน
ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป
ซึ่งจริง ๆ เป็นการเดิมพันทะเลาะกันของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่เขาเล่นกันจะหมดหน้าตัก ปรุงแต่งมวลชนเข้ามา เอาความdramatizeที่ปรุงแต่งเข้ามา ไม่ใช้เหตุและผล แต่ประเทศไทยเราก็พังและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ
เหมือนสมัยแต่ก่อนหน้านั้นเราจะต้องเอาพลเอกสุจินดา คราประยูร ออกให้ได้ใช่ไหม ตอนนั้นเราก็ไม่สนหลักการอะไร เราขอเอาเขาออกให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนก็Happy ที่ไล่นายกชาติชายไปได้โดยวิธีทางทหาร แต่อีกปีให้หลัง ก็ไม่เอาพลเอกสุจินดา ไล่เขาออกถ้าเราย้อนกลับไปตอนสมัยพลเอกสุจินดาจะเข้ามาเป็นนายก ถ้าเราคิดกันตามศาสตร์ของประชาธิปไตย หรือคิดตามหลักรัฐธรรมนูญ
พลเอกสุจินดาไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเลยที่มาใช้กำลังทางทหารในปี2534ในการยึดอำนาจ
แต่ถามว่าปัจจัยที่ทำให้พลเอกสุจินดา ได้ความชอบธรรมพอสมควรคือ หนึ่ง เขามีกองทัพในมือ สอง คือเขามีคนกรุงเทพบางส่วนที่ไม่ชอบพลเอกชาติชาย สนับสนุนเขา เอาดอกไม้ไปให้เขาคำตอบคือวิธีคิดที่จะเอาเป้าหมายโดยไม่สนวิธีการ คนจำนวนมากตอนนั้นก็สนับสนุน คือ ขอให้พลเอกชาติชายไปเถอะ แม้ว่าจะฉีกกฎหมายบ้าง แม้ว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญบ้าง แม้ว่าไม่เอาหลักการบ้าง เอาไว้ข้างๆ ก่อนก็ไม่เป็นไร เอาทหารมาก็ได้
ไม่เป็นไรหรอกเพราะเราต้องให้ประเทศมันเดินได้เร็วในแง่ของการกำจัดคนคอรัปชั่น เราไม่ต้องการพลเอกชาติชาย เพราะจะทำให้สังคมเดินได้ไม่ดีถ้ามีพลเอกชาติชาย เราไม่ต้องการไปติดกับระบอบชาติชาย
หลายคนที่วันนั้นคิดอย่างนี้แต่ผ่านไปหนึ่งปีให้หลัง (ปี2535) คนที่เชียรพลเอกสุจินดาให้ยึดอำนาจรัฐบาลชาติชายก็ คือคนที่กลับมาเป็นคนที่ต่อต้านพลเอกสุจินดาอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูในวันนั้น กฎหมายไม่เป็นไรหรอก ใช้คนไปกดดันให้เขาออก แม้ว่าจะเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน ก็ไม่ต้องสนใจ เพราะเรามีธงคือการเอาพลเอกสุจินดาออก
วันนั้นเราคิดอย่างนั้น วันนี้แบบเดียวกันแต่ต่างที่มิติของเวลา ซึ่งเป็นเวลาที่นานเอาการอยู่คือ15ปี วันนี้คือเอาทักษินออก
เมื่อจะเอาทักษินออก ไม่ต้องเอาหลักการหรอก กฏหมายและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉีกทิ้งไปก็ได้ ไม่ต้องสนใจหรอก ใช้กำลังทหารก็ได้ ประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จะคิดยังไงก็ไม่ต้องสนเพราะเราเป็นประเทศของเรา ไม่ต้องติดต่อการค้ากับใครก็ได้ ไม่ต้องใช้เหตุ ไม่ต้องใช้ผลหรอก
วันนี้ธงคือเอาทักษินออก เพราะฉะนั้นวิธีการยังไงก็ได้ เราขอแค่ความสะใจ สนุกกับการขับไล่คนที่ตัวเองไม่ชอบ เราจะไม่มีการเรียนรู้กับประวัติศาสตร์ คือถึงที่สุดก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาอีก คนตายกันอีก ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อีก
วนกลับไปกลับมาตามประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป
หลายคนบอกว่าคุ้ม แต่ผมว่าไม่คุ้มครับ ตอนนั้นก็เกิดจากการรัฐประหารที่ทุกคนชื่นชมกัน ให้ดอกไม้ทหารกันที่ไล่พลเอกชาติชายออกไปได้
สุดท้ายพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535 ก็เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองและเป็นจุดด่างดำของประวัติศาสตร์การเมืองไทยจุดที่ 3 ต่อจากเหตุการณ์วันมหาวิปโยค เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 และการสังหารโหดเมื่อ 6 ตุลาคม 2519
ทั้งสามเหตุการณ์สะท้อนถึงการเสียดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง บ่งบอกถึงความไม่สามารถปรับตัวของสังคมเข้าสู่ดุลยภาพพฤษภาทมิฬสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มทหารและกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ในสถาบันการเมือง เนื่องจากการไม่ได้ทำงานของกลไกทางกฎหมาย
"
It seems to me that I don’t always want anyone (either you agree or disagree with my ideas) pass away from the political actions.
Someone may feel enjoy when they read this suicide news but, as for me, I exactly don’t. It doesn’t because I disagree with coup d’etat but it doesn’t because he is Thai. He is purely Thai.
As I used to say “ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป”
Rest in peace.
Thank you for your reading.