Thursday, December 21, 2006

 

เก็บตกเรื่องขำๆ: อะไรๆ ก็ "แม้ว"

เก็บตกเรื่องขำๆ: อะไรๆ ก็ "แม้ว"
ขอบคุณแหล่งที่มาโดย : คุณจ๊ะจ๋าจ๋าจ๊ะ

"แม้ว ยัดเงิน Toshiba สร้างพัดลมขนาดยักษ์พัดถล่มแหลม ตะลุมพุก"

"คมช. เผยแล้วพบท่อใต้ดิน หลังสงสัย แม้ว ส่งท่อน้ำเลี้ยง ทรท."

"ไฟไหม้หนักไผ่สิงโต พบหลักฐานในที่เกิดเหตุ เป็น sim card AIS คาดแม้ว อยู่เบื้องหลัง""อุ๋ยเผย หุ้นตก แท้จริง แม้วทุบ!!"

"อากาศหนาววิปริต คมช. คาดแม้ว จับมือ มิตซูบิชิ ผนึกกำลังสร้าง Super Air ถล่มทั่วไทย"

"เชียงใหม่ ระส่ำแผ่นดินทรุด!! เหตุแม้ว ล็อบบี้ จีน ยิงนุคใต้ดิน ทำแผ่นดินไหว"

"ยาบ้าระบาดหนัก คมช. คาดแม้ว ส่งซิกว้าแดง หวังดิสเครดิต รัฐบาล"

"รมต. ต่างประเทศ ออกแถลงการเสียใจ ต่อมาเลย์ หลังแม้ว ส่งคลื่นใต้น้ำ ท่วมรับปีใหม่"

"เติ้งย้ำ ปลาฉลาม ใกล้สูญพันธ์ เพราะแม้ว ชอบกินหูฉลาม วอน NGO สอบ"

"DSI ฉุน เสี่ยปิคนิค พ้นคุก แฉแหลก แม้วบีบศาล"

"กระทรวงสาธารณสุธ เผย คนไทย ดื่มเหล้า ติดอันดับ5โลก เจ้ากระทรวงแย้ม คนหันมาดื่มกันมากเพราะเครียดเรื่องแม้ว"

"บิ๊กหอย เครียด บอลไทยไม่เข้าเป้า เหตุแม้ว ไม่ซื้อลิเวอร์พูล"

"มาร์ค มึน มีคนจ้องเลื่อยขาเก้าอี้ คาด คนในจับมือแม้ว"

"เหนาะ ว๊าก รู้ทันแม้ว หากกลับไทย มีนองเลือด"

"ใต้ยังเดือด คาดแม้ว ส่งคนป่วน"

"สนธิลิ้มท้องผูก แฉย้ำชัด แม้วส่งคนป่วนท้อง"

"สนธิบังย้ำชัด แม้วตัวการทำ 'เทย่า โรดจอร์' ท้อง"

"ทาทาแฉซ้ำ ย้ำอีกแรง ทาทาโดนแม้วหลอกให้ทำศัลยกรรมหน้าอก"

ขอบคุณครับ ด้วยความเคราพ

 
Hello everyone,

I am sorry that I don't update my blog quite long time because I am quite busy. By the way, I hope everyone who read my blog will have very best Christmas and Happy New Year.



"สำหรับกรณีหุ้นตก ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ เป็นเรื่องที่กระทบความมั่นคงหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า กองทัพยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้ เมื่อถามต่อว่าจะกระทบต่อความมั่นคงซ้ำไปอีกหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวปฏิเสธว่าไม่มี"

Thursday, November 23, 2006

 

Does Democracy need Election?

My friend came up this question to me.

Election is not totally democracy, as my personally thought, but it is one of the important sub-sections in the democracy meaning. Basically, Democracy (literally "rule by the people", from the Greek demos, "people," and kratos, "rule") is a form of government for a nation state, or for an organization in which all the citizens have a vote or voice in shaping policy, and generally Election just come up to answer the democratic system need.

If you say “Democracy is totally Election”, I am afraid to disagree with you because it is just partially right.

On the other hand, if you tell me “Election is totally Democracy”? I will answer quickly that it is right; in addition Election is one of the most important parts of democracy in its meaning, so that it is not democratic system definitely if we don’t have any Election.

Sunday, November 05, 2006

 

Sondhi Limthongkul

-

Who is he?

Sondhi Limthongkul (Thai: สนธิ ลิ้มทองกุล) is a Thai journalist and the owner of the Phujadkuan Daily (Thai: ผู้จัดกวน) [[1]], a local Thai business newspaper. He was a journalist and television personality host on MCOT TV channel [[2]] before his programme was suspended, the reason of which many view to be his revelation of the M-Benlo scandals [[3]] and his accusations that Mr.Thaksin Shinawatra, the Prime Minister is afraid of his own wife, Potjaman Shinawatra [[4]], during his show in September 2005.

His Quotes

Thaksin will be the best Prime Minister ever.. - 2000
PM. Thaksin is the best Prime Minister ever.. - 2001
PM. Thaksin is my best friend... - 2002
PM.Thaksin is my husband.. - 2003
Mr. Thaksin, Get Out !!! - 2004
Tyrant Thaksin, Go to the hell - 2005
Coup de'tat is so fantastic !!! - 2006
Coup Leader Get Out !!! - 2007
Tyrant Coup, Get Out !!! - 2008
Dictator Coup, Go to the hell !!! - 2009
Thaksin is my best husband ever.. - 2010
Myself, Get Out !!! - 2011

 

ดร.เสรี วงษ์มณฑา

-

มาอ่านบทสัมภาษณ์ของดร.เสรี วงษ์มณฑากันเถอะครับ


"ที่ได้ขึ้นไปแสดงความเห็นบนเวทีพันธมิตรฯ เพราะสุริยะใส (สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) มาชวน คือเขาได้ยินเราจัดรายการวิทยุคลื่น FM.98 วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ และมีบทความในคอลัมน์เหนือกระแสของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ก็ด่ารัฐบาล ก็เลยโทร.มาชวน เราก็ไปเลยเพราะทนกับอะไรที่ไม่ถูกต้องไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่งตอนตัดสินใจไปร่วมกับพันธมิตรฯ นี่ก็ไม่กลัวนะว่าจะถูกรัฐบาลกลั่นแกล้งหรือถูกยุบรายการ เพราะเรามีงานอย่างอื่นด้วย ถ้าจัดรายการไม่ได้เราก็ยังมีงานสอนหนังสืออยู่ จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่างมัน แต่ก็แปลกนะ กลับไม่เคยโดนอะไรเลย ไม่เคยโดนขู่ ไม่เคยแม้แต่โทร.มาถาม หรือขอร้องอะไร ตอนนี้ก็คงเหมือนคนอื่นๆคือดีใจที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แล้วก็ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนครั้งนี้"

อันนี้ ผมขอไม่วิจารณ์เรื่องนี้ล่ะกันครับ อ่านกันสนุก ๆ ครับ

Wednesday, November 01, 2006

 

โชเฟอร์แท็กซี่ขับชนรถถัง ผูกคอตาย

-

"โชเฟอร์แท็กซี่ขับชนรถถัง ผูกคอตาย 08:49 น. เวลา 00.20 น วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549เจ้าหน้าที่ตำรวจพบนายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี ชาว อ.เมือง จ.นนทบุรี ผูกคอห้อยกับเหล็กบันไดสะพานลอยสูง3 เมตร สวมหมวกไหมพรหมปิดบังใบหน้า ใกล้กันพบแผ่นกระดาษ เขียนข้อความว่า อดีตคนขับรถแท็กซี่พลีชีพเพื่อประชาธิปไตยและลบคำสบประมาท พลเอกอัคร ทิพย์โรจน์ รองโฆษกคณะปฎิรูปการปกครองในระบออประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากถึงขั้นพลีชีพ และมีกระดาษถ่ายเอกสารข่าวเกี่ยวกับตัวของนายนวมทองที่เคยขับรถพุ่งชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐจำนวนหนึ่ง "


Can I quote my statement from my article on 21 September 2006? Please re-read and discover the truth (which was proved by the period of time recently) in it.

"
4.) ทำไมถึงคิดว่าต้องมีคนตายด้วยเหรอ / แล้วคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร?

ยังไงก็จะมีคนตายจากการรัฐประหารครั้งนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนจริง ๆ

ทำไมผมถึงกล่าวอย่างนั้น?

พลเอกสนธิคือเหมือนที่ได้บอกไป ว่าถ้าเขาเขียนรัฐธรรมนูญอ่อนไปแล้วเขาไม่เข้าไปยุ่ง ให้คนมาประท้วงได้ ซึ่งเหมือนจะดีในแง่ให้สิทธิคน แต่เขาก็จะแย่ตรงที่จะโดนคนชอบทักษินไล่ มาชุมนุมไล่

แล้วเขาจะแก้ยังไง อันนี้น่าคิด

หรือว่าถ้าเขาใช้ทหารมาฆ่าคน ไม่ให้ชุมนุม ก็จะกลายเป็นอีกอย่าง คือเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแรง ๆ เลย ว่าห้ามคนชุมนุมเด็ดขาด
แน่นอนล่ะ แรก ๆ ก็คงได้ ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือเขียนอย่างนี้จะเขียนนานเท่าไหร่ เพราะถ้าเขียนนานเกินไป ก็จะโดนคนหาว่าบ้าอำนาจ คนก็ออกมาไล่อีก แล้วก็จะมีคนตาย พลเอกสนธิก็จะกลายเป็นทรราช

เพราะงั้น ถ้าผมเป็นทีมที่ปรึกษาพลเอกสนธิ ผมก็จะแนะนำไปตามนี้ แต่เรื่องเวลา บอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก

แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม
เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ

แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งไม่สงบหรอก มันคุมยากทักษิน คุมไม่ได้

แล้วพลเอกสนธิก็จะคุมได้เหรอ ตอนนั้นทักษินมีมากกว่าพลเอกสนธิอีกนะ มีทั้งคนที่ชอบเป็นฐานอยู่ต่างจังหวัดเยอะ มีทั้งกองทัพ มีทั้งตำรวจ มีทั้งเงิน

หรือถ้าไปเปรียบกับอดีตเลย ตอนนั้นพลเอกสุจินดามีก็เหมือนพลเอกสนธิตอนนี้ล่ะ แต่ก็เอาตัวไม่รอด
จัดม๊อบมาชนก็ก็ไม่จบง่าย ๆ แต่ที่แน่ ๆ จะทำให้มีคนตาย นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่า จะมีคนตายแน่ เพราะไม่ว่าจะทำไง ก็ต้องมีการปะทะ
แล้วก็ต้องใช้กำลัง แล้วคนก็ตาย ประเทศพังไปแล้ว

หรือถ้าจะกล่าวอีกในนัยยะหนึ่งก็คือ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่า คณะปฎิรูป จะเลือกที่จะปิดกั้นความคิดเห็นและการรวมตัวกันก็ไม่เป็นผลดี
และหากจะเลือกให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและการชุมนุมทางการเมืองก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายทั้งสิ้น ไม่มีทางใดที่จะเป็นผลดีเลย และเป็นทางเลือกที่จะนำไปสู่ทางหายนะของคณะปฏิรูปทั้งสิ้น

โดยความเชื่อส่วนตัวคิดว่าคณะปฏิรูปฯน่าจะเลือกที่จะปิดกั้นสื่อมากกว่า แต่การที่ยิ่งคณะปฏิรูป ยิ่งจะปิดกั้น ก็ยิ่งจะสูญเสียการสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นไปทุกที

และกลุ่มคนอีกฝั่งก็จะมีแนวร่วมมากขึ้นทุกที นี่ช่างเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของสังคมไทยจริงๆ


คือบางทีเจ้าตัว เขาไม่ได้บ้าอำนาจหรอก แต่ว่ามันไม่รู้จะทำไงเหมือนที่ทักษินเคยเป็นและพลเอกสนธิที่กำลังจะเป็น คือลงก็ไม่ได้ ไม่ลงก็ไม่ได้ และปัญหาคือจะเอาเวลาเท่าไหร่ที่ดีที่สุดต่อตัวเองอันนี้แก้ยากมาก
กล่าวโดยสรุป หากวางและเรียกร้องตามแนวคิดที่เขาพยายามจะใช้กำลังทางทหาร ล้มระบอบประชาธิปไตยไป ไม่มีวันล้าง มลทินตามกฎหมายได้หรอกครับ อันนี้

(ซึ่งวันนั้น ทั้งนายกทักษินและคปป.พลเอกสนธิก็คงอยู่ไม่ต่างอะไรกับพลเอกสุจินดาในปัจจุบันนี้ ตอนนี้คุณสุจินดาก็อยู่ในประเทศนี่ครับ ผมไม่ได้ว่าคุณสุจินดาถูกหรือผิด เพราะว่าที่สุดแล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่เคยผ่านกระบวนการทางกฎหมายเลย เราก็อยู่กันอย่างนี้อีก แล้วมันคุ้มไหมกับการสูญเสีย ผมไม่เข้าใจ)

แต่ก็อีกล่ะครับ ผลก็คือก็จะกลับไปตรงที่ผมวิเคราะห์ไปว่าก็ยังจะทำให้ฝ่ายเห็นด้วยกับนายกทักษิน และฝ่ายต่อต้านรัฐประหารออกมาเรียกร้องขุมนุมมากขึ้นทุกที เขียนตำหนิทุกวัน ออกข่าวต่อว่าทุกวัน สถานการณ์ก็จะกลับไปวุ่นวายเหมือนก่อนรัฐประหาร

ซึ่งจะทำให้คนที่เคยสนับสนุนเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบเปลี่ยนใจและคณะรัฐประหารจะทนไม่ได้ จนอาจจะต้องกลับมาควบคุมการแสดงความคิดเห็นและห้ามการชุมนุมตลอดไป

ซึ่งเมื่อปิดกันการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม ก็จะมีแรงต้านจากประชาชน และต่างประเทศมากขึ้นทุกที่ และจะต้องหายนะในที่สุดโดยพลังของประชาชน

ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป

ซึ่งจริง ๆ เป็นการเดิมพันทะเลาะกันของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่เขาเล่นกันจะหมดหน้าตัก ปรุงแต่งมวลชนเข้ามา เอาความdramatizeที่ปรุงแต่งเข้ามา ไม่ใช้เหตุและผล แต่ประเทศไทยเราก็พังและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ

เหมือนสมัยแต่ก่อนหน้านั้นเราจะต้องเอาพลเอกสุจินดา คราประยูร ออกให้ได้ใช่ไหม ตอนนั้นเราก็ไม่สนหลักการอะไร เราขอเอาเขาออกให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นทุกคนก็Happy ที่ไล่นายกชาติชายไปได้โดยวิธีทางทหาร แต่อีกปีให้หลัง ก็ไม่เอาพลเอกสุจินดา ไล่เขาออกถ้าเราย้อนกลับไปตอนสมัยพลเอกสุจินดาจะเข้ามาเป็นนายก ถ้าเราคิดกันตามศาสตร์ของประชาธิปไตย หรือคิดตามหลักรัฐธรรมนูญ
พลเอกสุจินดาไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเลยที่มาใช้กำลังทางทหารในปี2534ในการยึดอำนาจ

แต่ถามว่าปัจจัยที่ทำให้พลเอกสุจินดา ได้ความชอบธรรมพอสมควรคือ หนึ่ง เขามีกองทัพในมือ สอง คือเขามีคนกรุงเทพบางส่วนที่ไม่ชอบพลเอกชาติชาย สนับสนุนเขา เอาดอกไม้ไปให้เขาคำตอบคือวิธีคิดที่จะเอาเป้าหมายโดยไม่สนวิธีการ คนจำนวนมากตอนนั้นก็สนับสนุน คือ ขอให้พลเอกชาติชายไปเถอะ แม้ว่าจะฉีกกฎหมายบ้าง แม้ว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญบ้าง แม้ว่าไม่เอาหลักการบ้าง เอาไว้ข้างๆ ก่อนก็ไม่เป็นไร เอาทหารมาก็ได้

ไม่เป็นไรหรอกเพราะเราต้องให้ประเทศมันเดินได้เร็วในแง่ของการกำจัดคนคอรัปชั่น เราไม่ต้องการพลเอกชาติชาย เพราะจะทำให้สังคมเดินได้ไม่ดีถ้ามีพลเอกชาติชาย เราไม่ต้องการไปติดกับระบอบชาติชาย

หลายคนที่วันนั้นคิดอย่างนี้แต่ผ่านไปหนึ่งปีให้หลัง (ปี2535) คนที่เชียรพลเอกสุจินดาให้ยึดอำนาจรัฐบาลชาติชายก็ คือคนที่กลับมาเป็นคนที่ต่อต้านพลเอกสุจินดาอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูในวันนั้น กฎหมายไม่เป็นไรหรอก ใช้คนไปกดดันให้เขาออก แม้ว่าจะเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน ก็ไม่ต้องสนใจ เพราะเรามีธงคือการเอาพลเอกสุจินดาออก


วันนั้นเราคิดอย่างนั้น วันนี้แบบเดียวกันแต่ต่างที่มิติของเวลา ซึ่งเป็นเวลาที่นานเอาการอยู่คือ15ปี วันนี้คือเอาทักษินออก

เมื่อจะเอาทักษินออก ไม่ต้องเอาหลักการหรอก กฏหมายและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉีกทิ้งไปก็ได้ ไม่ต้องสนใจหรอก ใช้กำลังทหารก็ได้ ประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จะคิดยังไงก็ไม่ต้องสนเพราะเราเป็นประเทศของเรา ไม่ต้องติดต่อการค้ากับใครก็ได้ ไม่ต้องใช้เหตุ ไม่ต้องใช้ผลหรอก

วันนี้ธงคือเอาทักษินออก เพราะฉะนั้นวิธีการยังไงก็ได้ เราขอแค่ความสะใจ สนุกกับการขับไล่คนที่ตัวเองไม่ชอบ เราจะไม่มีการเรียนรู้กับประวัติศาสตร์ คือถึงที่สุดก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาอีก คนตายกันอีก ประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อีก


วนกลับไปกลับมาตามประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป

หลายคนบอกว่าคุ้ม แต่ผมว่าไม่คุ้มครับ ตอนนั้นก็เกิดจากการรัฐประหารที่ทุกคนชื่นชมกัน ให้ดอกไม้ทหารกันที่ไล่พลเอกชาติชายออกไปได้
สุดท้ายพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535 ก็เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองและเป็นจุดด่างดำของประวัติศาสตร์การเมืองไทยจุดที่ 3 ต่อจากเหตุการณ์วันมหาวิปโยค เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 และการสังหารโหดเมื่อ 6 ตุลาคม 2519

ทั้งสามเหตุการณ์สะท้อนถึงการเสียดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง บ่งบอกถึงความไม่สามารถปรับตัวของสังคมเข้าสู่ดุลยภาพพฤษภาทมิฬสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มทหารและกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ในสถาบันการเมือง เนื่องจากการไม่ได้ทำงานของกลไกทางกฎหมาย
"

It seems to me that I don’t always want anyone (either you agree or disagree with my ideas) pass away from the political actions.

Someone may feel enjoy when they read this suicide news but, as for me, I exactly don’t. It doesn’t because I disagree with coup d’etat but it doesn’t because he is Thai. He is purely Thai.

As I used to say “ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดอย่างนั้นเลย เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างกัน เห็นเหรียญกันคนล่ะด้านแค่นั้นเอง จนถึงกับต้องเอาชีวิตกันเลย ผมว่ามันเกินไป”

Rest in peace.

Thank you for your reading.


Thursday, October 26, 2006

 

สุรวิชช์ วีรวรรณ - คอลัมนิสคนสนิทของสนธิ ลิ้มทองกุล


วันนี้เรามาดูข้อความของคุณสุรวิชช์ วีรวรรณ ที่ถือว่าเป็นคอลัมนิสชื่อดังคนหนึ่ง ของสำนักพิมพ์ผู้จัดการ และก็ยังถือเป็นคนที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง กันเถอะครับ ว่าคุณสุรวิชช์ คิดเห็นอย่างไรกับผู้นำรัฐประหารครั้งนี้ (พลเอก สนธิ) ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2549


-------------------------- Below is his statment ------------------------------

" ผ่านเดือนแรกของการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณมาแล้ว คนในสังคมเริ่มส่งเสียงกันจ้าละหวั่นว่า ข้อกล่าวหา 4 ข้อที่คณะรัฐประหารใช้อ้างในการล้มรัฐบาลทักษิณนั้นแท้จริงแล้วมันจริงใจหรือไก่กา

ตอนนี้เสียงที่เคยเข้าอกเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องทำรัฐประหารในสื่อมวลชนต่างๆ พร้อมกับเสียงประชาชน เริ่มตั้งคำถามด้วยความงุนงงสงสัย

พล.อ.สนธิครับ ภาพความชื่นชมของประชาชนต่อทหารเป็นภาพที่ทักษิณเคยผ่านมาแล้วในช่วงที่เข้ามาเป็นนายกฯ ใหม่ๆ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ คมช.ในตอนนี้ ก็ไม่ต่างกับบรรยากาศในระยะหลังๆ ที่สื่อมวลชนเริ่มพากันวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ

คนเหล่านี้เป็นแนวร่วมของการรัฐประหาร เพราะพอใจในผลลัพธ์ที่พวกเขาเคยต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อย ไม่ใช่พอใจที่ทหารยึดอำนาจ ไม่มีใครลืมหรอกครับว่า หนึ่งปีที่ต่อสู้ขับไล่ระบอบทักษิณนั้น เสียงของผู้นำกองทัพเกือบทั้งหมดล้วนออกมาท้วงติงตำหนิประชาชนที่ออกมาขับไล่ระบอบทักษิณ ด้วยท่วงทำนองที่ไม่แตกต่างไปกับเสียงของทักษิณและลิ่วล้อสักเท่าไหร่เลย

วันนี้ประชาชนที่เป็นแนวร่วมกำลังถูกทอดทิ้ง ความพยายามสืบทอดอำนาจของคนใน คมช.ร่ำลือกันไปทุกหย่อมหญ้า มีข่าวว่านายทหารบางคนที่เข้ามาชุบมือเปิบมีอำนาจวาสนาใหญ่โตขึ้น เดินสายล็อบบี้นักการเมืองให้จัดตั้งพรรคขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่พรรคละ 50-60 เสียงเพื่อสนับสนุนการสืบทอดอำนาจในอนาคต

พล.อ.สนธิครับ ไม่ทราบว่าท่านรู้เห็นเป็นใจหรือไม่ แต่ภาพเหล่านี้ไม่แตกต่างกับภาพของนายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ คนข้างกายของทักษิณในอดีตเลย

แต่บอกตรงๆ ครับว่า ไม่มีใครกลัวพวกท่านสืบทอดอำนาจหรอกครับ ถ้าหากสนใจประวัติศาสตร์สักนิด บทเรียนในอดีตมีให้พวกท่านศึกษามากมายว่าจุดจบจะเป็นอย่างไร

ประชาชนอาจใช้เวลา 1 ปีในการต่อสู้กับทักษิณที่มีทั้งความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง มีทั้งเงิน และอำนาจ แต่สำหรับ คมช.น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วันครับ

วันนี้ประชาชนที่คัดค้านการรัฐประหารด้วยความบริสุทธิ์ใจกำลังไหลไปรวมกับฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณ พวกเขาอาจจะมีอุดมการณ์เดียวกัน “ชั่วขณะ” เพื่อร่วมกันโค่นล้ม “ระบอบ คมช.” อย่างที่เคยเกิดเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อโค่นล้ม “ระบอบทักษิณ” มาแล้ว

แล้ว คมช.จะทำอย่างไรครับ จะจับกุมก็ไม่ได้ ถ้ายังไม่มีมาตรการใดที่จะแก้ไขหาทางออก กลุ่มผู้ชุมนุมก็จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน และจะเกิดในหลายๆ พื้นที่ แต่ถ้าเกิด คมช.ตบะแตกใช้กำลังเข้าไปปราบปราม คมช.ก็จะกลายเป็นทรราชแทนทักษิณในทันที

พล.อ.สนธิครับบอกหน่อยสิครับว่าจะทำอย่างไร

พล.อ.สนธิครับ มันไม่ย่ำยีหัวใจประชาชนที่ออกมาต่อสู้กับระบอบทักษิณไปหน่อยเหรอครับ"

--------------------------------- Above is his his statment -------------------



เอาล่ะ เมื่อวันนี้พล.อ. สนธิ เขาไม่ยอมมาตอบ ผมก็ขอตอบแทนพล.อ.สนธิท่านให้ก็ล่ะกันครับ คุณสุรวิชช์ วีรวรรณครับ ว่าจะให้พล.อ.สนธิเขาทำอย่างไร ก็ตอบง่าย ๆ ครับ ว่าให้ไปใช้อำนาจทางทหารไป ข่มขู่สำนักงานอัยการสูงสุดและศาลยุติธรรม ให้ยกฟ้องคุณสนธิ ลิ้มทองกุล อย่างเร่งด่วนที่สุด พร้อมทั้งช่วยเลื่อน ASTV ไปเป็น Free TV อย่างรวดเร็วที่สุด

ผมก็เห็นใจคนที่ศรัทธาในคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเหมือนกันนะครับ ที่วันนึง คนกลุ่มนี้ตื่นขึ้นมา ก็ต้องเชื่อว่า "นายกทักษิณเป็นนายกที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา"

และตื่นเช้ามาอีกไม่กี่วันถัดมา ก็ต้องบอกตัวเองอยู่ตลอดว่า "นายทักษิณ เป็นทรราช เทวทัต เป็นกุ๊ยปากซอยจนตรอก"

และก็อีกล่ะครับ ตื่นมาอีกไม่กี่วัน ก็ต้องชื่นชมทหารว่า "สำหรับตนแล้วรู้สึกดีใจที่มีคนมาทำรัฐประหาร และเห็นด้วยกับทหารอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู"

และก็ตื่นมาอีกไม่กี่วันต่อมา ก็ต้องเปลี่ยนความเชื่อของตน ไปว่าทหารอย่างรุนแรงว่า "ผู้ปกครองวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่วางแผนอยู่ข้างหลังนั้น คิดว่าพวกเราโง่ ท่านยึดอำนาจอีกครั้งไม่ได้หรอก ทางสากลไม่ยอม ไม่มีทาง ทักษิณผมยังไม่กลัวเลยท่าน ผมจะไปกลัวท่านทำไม อย่างมากท่านก็ฆ่าผม กระสุนปืนท่านลั่นออกจากปากกระบอกปืนพวกท่านเมื่อไร เมื่อผมสิ้นชีวิต เมื่อนั้นก็มีเรื่อง ผมไม่กล้าพูดว่าคุณโง่ แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเพียงแค่นี้คุณคิดไม่ออก ทำไมคุณถึงไปห่วงถึงการสืบทอดอำนาจของพวกคุณ เชื่อผมเถอะ ทหารหาญ แผลของคุณพฤษภาทมิฬ ยังไม่หายดีหรอก คุณมีปืน มีรถถังจริง แต่ไม่มีอะไรหรอก"

โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็เห็นใจบุคคลที่ชื่นชมคุณสนธิเขาน่ะครับ ว่าภายในระยะเวลาสั้น ๆ ต้องเปลี่ยนมิติแนวความเชื่อของตน ไปอย่างสวิงอย่างสุดขั้วสุด ๆ

ไม่แน่หลายท่านที่ชื่นชมคุณสนธิ พรุ่งนี้ตื่นขึ้นมาอาจต้องเปลี่ยนแนวความเชื่อของตน กลับไปเป็นว่า "นายกทักษิณ ก็ยังคงเป็นนายกที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา " อีกครั้ง ก็เป็นได้

ดังนั้น ผมก็อยากให้หลาย ๆ ท่านที่ชื่นชม หรือ เกลียดบุคคลใดก็ตาม ได้มีมิติความคิดเป็นของตัวเอง มั่นใจในความคิดของตัวเอง ดีกว่าที่จะให้ความเชื่อของตัวเองไปตามลัทธิใด ๆ ไปเป็นตัวกำหนดมิติของความเชื่อของท่าน คือเชื่อว่าบุคคลใด ๆ นั้นต้องดีหรือเลวไปแล้ว โดยที่ท่านยังมิได้วิเคราะห์สิ่งนั้นเสียเลย ว่าเป็นอย่างไร

ผมเชื่อว่าความเชื่ออย่างนั้น ไม่เป็นการฝึกให้บุคคลได้ใช้เหตุและผล แต่จะเป็นตัวฝึกความDramatizeแทน

ซึ่งผมมองว่าไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ด้วยความเคราพครับ

Friday, October 20, 2006

 

Sondhi - Sonthi - Thaksin

-

ก็อีกล่ะ ผ่านมาอีกไม่กี่วัน ก็ยิ่งตอบย้ำคำพูดของผม ที่ผมเคยกล่าวไป ให้เป็นจริงมากขึ้น

ณ ขณะนี้ ผมขอแบ่งการกลุ่มก้อนการเมืองเป็นด้วยกันสามกลุ่มหลัก ๆ คือ

กลุ่มที่1 กลุ่มผู้สนับสนุนคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

กลุ่มที่2 กลุ่มผู้สนับสนุนพลเอก สนธิ หัวหน้าคณะรัฐประหาร

กลุ่มที่3 กลุ่มผู้สนับสนุนคุณทักษิณ ชินวัตร


ตอนนี้ถ้าใครเป็นคนที่ชอบคุณสนธิ และชื่นชมพลเอก สนธิ คงต้องถึงเวลาที่จะต้องเลือกกลุ่มแล้วครับ ว่าจะอยู่กลุ่ม1หรือกลุ่ม2 เพราะคุณสนธิ ลิ้มทองกุล เขาไม่เอากลุ่มทหารพลเอกสนธิพวกนี้แล้วล่ะครับ

ถึงขนาดที่คุณสนธิถึงคณะรัฐประหารโดยตรง ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของเขา โดยกล่าวว่า



" “วันหลังผมจะเปิดให้ดูว่า เขาวางตัวใครบ้างเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนกับสุภาษิตจีนเขาบอกว่า ศพพ่อยังไม่ทันเย็นเลยลูกสาวจะแต่งงานแล้ว ฉันใดฉันนั้น ชัยชนะที่ได้เพราะว่าประชาชนช่วยส่งให้ ยังไม่ทันไร ยังไม่ทันจะทำเรื่องผิดให้เป็นถูกเลยคิดสืบทอดอำนาจกันแล้ว

พอเราทำเตรียมอาหารให้เรียบร้อย จังหวะเหมาะพอดี เขาก็เอาอาหารใส่กระทะแล้วผัด พอผัดเสร็จเขาตั้งบนโต๊ะ ตูม เขาก็นั่งกินกันแล้ว พอเขานั่งกินกันแล้ว เขาก็บอกว่า เออ ขอบใจนะ พันธมิตรฯ ก็พันธมิตรฯ มีหน้าที่สู้แล้วติดคุกนี่ ก็สู้แล้วติดคุกไป นี่คือทำไม การตัดสินใจแต่ละเรื่องถึงล่าช้า ถึงมีการติดขัดไปตลอด

ผมไม่ได้เสียดายกับการขโมยชัยชนะ เพราะผมไม่ได้ถือว่าผมเป็นวีรบุรุษ ผมเพียงแต่เสียดายจิตใจของพ่อแม่พี่น้องที่เข้ามาร่วมกันสู้ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ด้วยความรักชาติรักบ้านรักเมือง รักแผ่นดิน ผมเสียดายตรงนี้

ทหารหาญ แผลของคุณพฤษภาทมิฬ ยังไม่หายดีหรอก คุณมีปืน มีรถถังจริง แต่ไม่มีอะไรหรอก

อย่ามองอะไรสั้นๆ อย่ามองว่าเมื่อคุณเกษียณแล้วคุณอยากเป็นรัฐมนตรีกลาโหม อย่ามองว่าคุณเกษียณแล้วคุณต้องมาเป็นนายกฯ มันเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น

คมช. ประเมินประชาชนปี 2549 ผิด แทนที่จะใช้ประชาชนพวกนี้เป็นพื้นฐานสร้างประชาชนพวกนี้ให้เป็นฐานบ้าน ฐานตึกที่แข็งแรงแล้วค่อยสร้างตึกบนฐานอันนี้ กลับไม่สนใจ เรื่องแค่นี้ทำไมคิดไม่ออก ไปห่วงแต่การสืบทอดอำนาจตัวเอง

ผมรู้มาว่ามีคมช.บางคนบอกว่า สนธิมันน่ากลัวต้องเอาโซ่มาคล้องขาเอาไว้ ขอโทษอย่าเดาผิด เพราะผมสู้กับระบอบทักษิณมาแล้ว ไม่กลัวใครอีก อย่างมากก็ตาย แต่ถ้ามีกระสุนออกจากปากกระบอกปืนก็เป็นเรื่อง เวลานี้มีคนในคมช.บางคนมักใหญ่ใฝ่สูงสมคบกับนักกฎหมายบางคน

ระหว่างที่มีการล็อบบี้กันที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.) เพื่อบล็อกโหวตให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานนิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว มีนายพลคนหนึ่งพูดตอบคำโต้แย้งที่ผลักดัน นายมีชัย ว่าจะทำให้ฝ่ายพันธมิตรประชาชนที่ต่อสู้มาต้องผิดหวัง ซึ่งนายพลคนนั้นบอกว่า ไม่เป็นไรก็ให้พันธมิตรมันสู้ไป แล้วก็ติดคุกไป”"



แหม พึ่งจะรู้เหรอครับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผ่านไปแค่เดือนเดียวเองนะครับ อย่าพึ่งเป็นคนลืมง่ายอย่างนั้นสิ ตอนนั้นยังชื่นชมทหารอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูอยู่เลยครับ กฎหมายไม่เป็นไรหรอก รัฐธรรมนูญไม่เป็นไรหรอก ฉีกทิ้งไปก็ได้ เพราะมีธงคือการเอานายกทักษิณออก

แต่ตอนนี้ไปว่าทหารเขาซะอย่างนี้ซะแล้ว

ไม่แน่ต่อไป กลุ่มทหารรัฐประหารอาจให้ Free TV คุณก็ได้ แล้วคุณก็ต้องกลืนน้ำลายไปชื่นชมทหารกลุ่มรัฐประหารอีกนะครับ

จะดีเหรอครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น พูดกลับไปกลับมาอย่างนี้ ระวังจะเสียมวลชนเอานะครับ


อย่างที่ผมเคยบอกน่ะครับ

ผมเชื่อว่าสังคมไทยควรจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการเอาคนที่ตัวเองไม่ชอบออกไปโดยรู้จักอดทนเพียงพอที่จะแก้ปัญหาไปตามลำดับ ไม่ใช้โดยการฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อจะเอาคนที่ตัวเองไม่ชอบออกไป

ประวัติศาสตร์มันมีให้เห็นอยู่แต่เราไม่เรียนรู้กับมัน เราจะไม่มีหลักของสังคม สังคมจะทำอย่างนี้ทุกๆ คราวไป สังคมที่ทำอย่างนี้ทุกคราวไป เป็นสังคมที่เสี่ยงกับการเกิดความรุนแรง

แล้วประวัติศาสตร์ก็จะวนไปวนมา แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ประเทศที่เขาเจริญแล้ว เขาไม่เคยประสบ หรือเคยประสบมาเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว ซึ่งต่างกับเมืองไทยอย่างเห็นได้ชัด

โดยส่วนตัวผมอยากให้สังคมไทยควรจดจำว่าปัญญาชนหรือนักวิชาการท่านไหนสนับสนุนการรัฐประหารในตอนนี้ เวลานี้ ผมเชื่อว่านี่จะเป็นตราบาปทางการเมืองที่สำคัญสำหรับนักวิชาการท่านนั้น ๆ และตราบาปนี้จะเป็นเส้นแบ่งของนักวิชาการรุ่นนี้ไปอีกนานแสนนาน

ตอนนี้ หลายท่านอาจจะมองไม่เห็นภาพ เพราะว่าเรายังอยู่ที่ตำแหน่งปี 2534 อยู่ แต่ไม่เป็นไรครับ ผมรอได้ บางครั้งนักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ หรือรวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ ก็ต้องรอให้เวลาเป็นมิติของคำตอบ

คนที่ชื่นชมรัฐประหาร ณ วันเวลานอในตอนนี้ อีกปีสองปีก็อย่าออกไปเดินไล่ทหารหรือรัฐบาลหอยใหม่เขาล่ะกันครับ ให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับทหารตอนนี้ออกไปก็พอครับ ช่วงนั้นยิ่งโลกเราร้อน ๆ เพราะ Green House Effect อยู่ ด้วยครับ อากาศร้อน แดดแรง ๆ ออกไปเดินเล่นกลางถนนราชดำเนินอย่างนั้น อาจจะผิวไหม้ได้

ด้วยความเป็นห่วงครับผม

Monday, October 16, 2006

 

สนธิ ลิ้มทองกุล

-

ถ้าใครเป็นแฟนคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และได้ติดตามรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ตอนล่าสุดในวันที่13 ตุลาคม 2549 คงจะสงสัยมิใช่น้อย ว่าทำไมคุณสนธิ ถึงพยายามพูดโจมตีFree TVอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้ง ๆ ที่Free TV ณ ปัจจุบัน ก็ไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐบาลทักษิณแล้ว


“สัปดาห์ที่ผ่านมา 25 วันที่ผ่านมา นายจักรพันธ์ ยมจินดา ก็จัดรายการเหมือนเดิม

นายสรยุทธ สุทัศนจินดา ก็จัดรายการถึงลูกถึงคนเรื่องชาวบ้าน หลีกเลี่ยงการเมือง ในยามที่ระบอบทักษิณเสียเปรียบ ในยามที่ระบอบทักษิณได้เปรียบ ก่อนพวกคุณเข้า นายสรยุทธก็จัดรายการข่มขู่ชาวบ้าน ดูถูกพันธมิตรฯ ดูถูกประชาชน วุ่นวาย ทำไมถึงยุ่งนัก เมื่อไรจะจบเสียที ปกป้องนายทักษิณตลอดเวลา

ส่วนไอทีวี โดยนายกิตติ สิงหาปัตย์ ได้จัดการทำสกู๊ปเรื่องรัฐประหารในลักษณะที่มีหางเสียงที่ดูถูกและเหยียดหยามเช่นเคย ทุกวันนี้ไอทีวียังมีเชื้อสายระบอบทักษิณเป็นหนามทิ่มตำรัฐบาล ล่าสุดนายกิตติ สิงหาปัตย์ ทะลึ่งไม่เข้าเรื่องเลยไอทีวี พูดถึงรายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งขาติ พูดจาด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองลักษณะที่ไม่พอใจสภานิติบัญญัติฯ

เขาพูดยังไงรู้ไหม พล.อ.สนธิ คุณฟังให้ดี พูดบอกว่า มีเงินเดือนคนละแสนสี่พันบาท ที่เป็นเงินมาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นต่อไปนี้คนเหล่านี้เป็นบุคคลสาธารณะที่จะต้องถูกตรวจสอบ คุณกิตติ คุณบ้าไปหรือ

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล เคยเป็นผู้สื่อข่าวไอทีวี ลาออกไปเป็นนักการเมืองพรรคมหาชนแล้วสอบตก กลับมาทำงานไอทีวีเหมือนเดิม จัดรายการข่าวคู่กับสร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ ปรากฏว่า นางมัลลิกาพูดถึงเรื่องเงินเดือนสภานิติบัญญัติฯ ตามกิตติ สิงหาปัด แล้วดันถามคนดูว่า อยากรู้ไหมว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติเขาทำหน้าที่อะไร ไปดูภาพต่อไปนี้ แล้วเขาภาพคุณประทิน สันติประภพ ชกหน้า ส.ว.อดุลย์ เพื่อป้องกันตัว มันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย คุณมัลลิกา คุณทะลึ่งไม่เข้าเรื่อง พวกไอทีวีทะลึ่งไม่เข้าเรื่องทุกคน

ผมเสียดายที่เอเอสทีวีเป็นทีวีผ่านดาวเทียม


อันนี้เป็นเรื่องเก่า ที่ผมเคยเล่าไปแล้ว แต่มาเล่าใหม่ โดยเจ้าตัวเอง

ผมเคยกล่าวไว้ในหัวข้อ After Coup De'tat 2006ของบทความผม ตั้งแต่ก่อนที่คุณสนธิจะกล่าวถึงเกือบหนึ่งอาทิตย์ด้วยกัน ที่เกี่ยวกับเรื่องที่คุณสนธิอยากให้ASTVของเขา ได้เป็นส่วนหนึ่งของFree TV

ผมก็เข้าใจเขาล่ะครับ ว่าเขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุด ที่ล้มรัฐบาลทักษิณได้ เขาก็ต้องขอของกำนัลบ้างเป็นธรรมดา ซึ่งเรามาจับตาดูท่าที ว่าพลเอกสนธิ จะให้อย่างที่คุณสนธิขอไหม แล้วถ้าไม่ให้ คุณสนธิจะล้มรัฐบาลพลเอกสุรยุทธนี้หรือไม่ แล้วเมื่อไหร่

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ ที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ที่ได้ถูกคุณ ธีรยุทธ บุญมี ขนานนามว่า "รัฐบาลแก่" นี้ จะทอนสตางค์อย่างไร ให้คุณสนธิได้พอใจ ถ้าผลประโยชน์ลงตัวกัน ด้านนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ก็ต้องไปแก้ที่ด้านอื่น ๆ ที่เขาไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรไปถึงได้

ประเด็นคือตำแหน่งต่าง ๆ และรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่บุคคลที่ขอมีอยู่อย่างไม่จำกัด อันนี้คือปัญหาของทุกรัฐบาล ที่จะทำอย่างไรให้ลงตัวที่สุด ถ้าไม่ลงตัว ปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมานั่นเอง เหมือนที่รัฐบาลทักษิณเคยเจอมา


เพราะยังผ่านไปได้ไม่กี่วัน คำพูดของผมก็จะกลับเข้ามาเป็นจริงแล้ว ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกก็ยังรักกันดีกับการรัฐประหารทั้งนี้อยู่เลย ไม่เชื่อลองวิเคราะห์คำพูดของคุณสนธิที่ได้กล่าวไว้ในรายการเมือไทยรายสัปดาห์


ทหารมาเพื่อทำให้ประชาธิปไตยดีขึ้นกว่าเก่า ซึ่งเราต้องดูต่อไปว่าจริงหรือเปล่า เดิมทีก็เชื่ออย่างนั้น แต่ตอนนี้เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ไม่ได้หมายความว่าผมไม่มีศรัทธากับคุณแล้วนะ พล.อ.สนธิ ผมยังมีศรัทธากับคุณอยู่ แต่ผมอาจจะไม่มีศรัทธากับคนใกล้ชิดคุณ

หลายท่านที่ได้ติดตามการเมืองมาอย่างใกล้ชิด อาจจะคุ้นกับคำพูดของคุณสนธิ ที่ว่า "ผมยังมีศรัทธากับคุณอยู่ แต่ผมอาจจะไม่มีศรัทธากับคนใกล้ชิดคุณ" ที่เป็นคำกล่าวยอดฮิตของเขา ที่ใช้เริ่มกล่าวโจมตีรัฐบาลทักษิณ ในช่วงแรก ๆ ที่รัฐบาลทักษิณ เมินเฉยคำพูดของเขา

ซึ่งจะเห็นเลยว่า ณ วันเวลานอนี้ เป็นคำพูดที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ต้องการส่งสัญญาณไปถึงรัฐบาลแก่และพลเอกสนธิอย่างไม่ต้องสงสัย ว่าถ้าทอนสตางค์มาให้เขาไม่ครบ เป็นอันเห็นดีกัน


สุดท้ายแล้ว เชื่อผมสิครับ ว่ามิติของการเมืองก็คือการทอนสตางค์ซึ่งกันและกัน โดยที่เอายุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เข้ามาเล่น

ผมถึงบอก ผมไม่ตำหนินะ ถ้าใครจะเล่นกันเชิงยุทธศาสตร์ เชิงยุทธวิธี แต่บางครั้งเราเล่นกันมากเกินไป เล่นกันทางด้านยุทธศาสตร์มากเกินว่าด้านวิชาการ แล้วสุดท้ายก็มีแต่ทำให้ประเทศโดยส่วนรวมเสียหาย

ซึ่งแน่นอนล่ะ ว่าบุคคลที่ได้รับชัยชนะ ก็จะเป็นคนบอกว่าตัวเขาเองถูกต้อง อันนี้เป็นความจริงที่เราไม่สามารถปฎิเสธได้ แต่ชัยชนะที่ได้มาบนการทำสงครามที่รุนแรงเกินไป สงครามที่เล่นกันแบบหมดหน้าตัก ให้ความDramatizeเข้าหาสังคมกันจนเกินพอดี

ผมถามว่าสังคมอย่างนี้ เป็นสังคมที่น่าอยู่จริง ๆ หรอกหรือ

หรือกล่าวอีกนัยยะก็คือ ชัยชนะบางครั้ง อาจจะดูเหมือนจะดีก็ได้ในมิติของผู้ชนะ แต่ถ้าชัยชนะนั้น เป็นชัยชนะที่ชนะอยู่บนซากของธงชาติของประเทศไทย คุณภูมิใจกับชัยชนะนั้นไหมล่ะครับ

วันนี้ คุณสนธิ ได้หรือสูญเสียเงินไปเท่าไหร่กับสงครามการเมืองครั้งนี้ ?

วันนี้ นายกทักษิณได้หรือสูญเสียเงินไปเท่าไหร่กับสงครามการเมืองครั้งนี้ ?

แล้ววันนี้ สังคมไทยเรา ได้หรือสูญเสียเงินไปเท่าไหร่กับสงครามการเมืองครั้งนี้ ?

กับเพื่อต้องการชัยชนะกัน เพื่อศักดิ์ศรีของคนเพียงไม่กี่คน ที่สุดท้ายเราก็ไม่มีใครได้อะไรกันเลย นอกจากที่เราบอกกับตัวเองได้ว่า เราชนะแล้ว ผมถามว่าชัยชนะเยี่ยงนั้น เป็นชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจแล้วหรอกหรือ?


Sunday, October 15, 2006

 

"Thai style"

-

Today, I read some discussions about “Thai style” in terms of democratic meaning. It seems to me that the following idea is quite interesting, so that I would like to share this idea to all of you.


Some Thai people like to quote "Thai style" democracy (in addition to all other kinds of "Thai style" objects) in order to justify when bad things happen, when those people agree to the wrong doings either because they are tired of finding the right solutions, or because they are afraid of fighting for the right things (especially when you see tanks and guns).

Quoting "Thai style" is just an excuse, not a solution. But how does it work to win argument and make people leave the problems and satisfied with "Thai style" whatever things (democracy, biggest sexual industry in the world, corruptions) we have?

It works because we are so proud of the independence of Thailand, the only under-developed nation never been colonized, survived WW1,2 mostly intact.

So patriotism is our macho, and if we use it in an argument, it makes us "higher" than others, because if we love the country more than they are, we are correct (you have to say it first to claim the priority of "loving my country").


Those people love to use "Thai style" as excuses NOT to change and convince people to get numb to the obviously wrong things in Thailand.

"Why you want to change the things in our great Thailand?",

"You can’t use western thinking here, it's Thailand. Don’t you love your country?",

"You don’t deserve to be Thai if you want to change this great Thailand, we have our own ways. etc."

Then opposing people will shut up and LEAVE the problems, waiting for another 14-15 years, to have it occur again, if not forever. Sad things about politics and abusive use of patriotism are that they label everything with nationality.


"Democracy? Who needs it, it's western concept, we have Thai style constitutional monarchy here...and boy we love to tear down the constitution when it doesn’t work",

"Science? It's materialisticism, it's western, it makes more and more bad-moral people",

“Computer? Computer is a machine that stores knowledge in its memory, and does automated calculations on that knowledge which can lead to materialisticism and it makes more and more bad-moral people too”


You have to wake up and realize that quoting "Thai style" on the wrong things, and satisfied with it is the ultimately abusive use of patriotism that leads to making Thailand the place which nurtures "malignant growth" and all sorts of social problems.


Thank you anyway for Mr. V For Vendetta to share his definition of “Thai style” in his point of view as my reference.

Monday, October 09, 2006

 

North Korea nuke test

-

Today let me switch from the Thai politics topic to the international politics because of the North Korea’s nuclear action.


Someone may feel shocked when they got to know that North Korea had carried out the nuclear test. From my point of view, this is terrible news, but it is not a surprise to me.


I realize all around the world, including US, UK, Indonesia, Russia, Australia, United Nation, Japan, South Korea, or even China (N. Korea's ally); condemn this kind of nuke action.


It is also my conviction because I can not accept any kinds of war in this century, particularly World War Three.


When I saw these nations around the world condemn this North Korea action, it seems to me that it looks like they denounce about Thai coup de’ tat as well.


Let me come back to talk about North Korea in more details. North Korea, officially the Democratic People's Republic of Korea, is an East Asian country occupying the northern half of the Korean Peninsula.


Its government defines itself as a Communist-led democratic multi-party state of the Juche political ideology, although in practice, it is thought to function as a dictatorship.


North Korea is widely considered to be one of the few remaining Communist states. The government is dominated by the Korean Workers' Party (KWP), to which 80 percent of government officials belong.


Anyway, North Korea's socialist economy has been relatively stagnant since the 1970s. Publicly owned industry produces nearly all manufactured goods. The government focuses on heavy military industry, with an estimated 13% of the nation's GDP being spent on the military as of 2005.


It is obvious that North Korea emphasize on the military industry, particularly WMD (Weapons of Mass Destruction) as nuclear weapons.


In the 1990s North Korea faced significant economic disruptions, including a series of natural disasters, political mismanagement, serious fertilizer shortages, and the collapse of the Soviet bloc.


These resulted in a shortfall of staple grain output of more than 1 million tons from what the country needs to meet internationally-accepted minimum requirements.


The resulting famine killed between 600,000 and 3.5 million people in the DPRK during the 1990s. By 1999, foreign aid reduced the number of famine deaths, but North Korea's continuing nuclear program led to a decline in international food and development aid.


In the spring of 2005, the World Food Program reported that famine conditions were in imminent danger of returning to North Korea, and the government was reported to have mobilized millions of city-dwellers to help rice farmers.


Recent evidence suggests serious food shortages continue.


It seems to me that many of you agree with me that North Korea should think how to deal with their people in terms of food, instead of testing the Nuclear weapon.


I personally believe that North Korea will be truly isolated now, as Thailand was done from Coup de'tat action, but will be many more.


If we compare this North Korea country with Thailand, do you really want us to be as communism like North Korea?


I understand that some of you can claim that communists have some pros too and I agree with you as well, but we should also accept that we are living in the world of democratic which I can’t say whether the democratic way is the best anyhow.


It is true if one day North Korea can beat the US, UK, Australia and Japan, the Thai people who directly support the coup de’ tat (undemocratically means) can claim this Thai coup de’ tat 2006 was right.

But when?

Sunday, October 08, 2006

 

After Coup De'tat 2006

-

มีหลายท่านสงสัย ว่าบ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร ในช่วงหลังการเกิดรัฐประหาร ในปี2006ครั้งนี้

ตอนนี้บางท่านอาจเห็นว่าบ้านเมืองเรา แบ่งกลุ่มเป็นเพียงแค่สองหรือสามพวก แต่ในทัศนะของผม ผมเชื่อว่าตอนนี้บ้านเมืองเราแบ่งได้มากกว่านั้นมาก ณ ตอนนี้ และกำลังรบกันเชิงรัฐศาสาตร์อย่างดุเดือด

มาดูทัศนะความคิดผม ว่ามิติการมองของผม เห็นว่าแต่ล่ะกลุ่ม เป็นอย่างไร และใครคือผู้นำของแต่ล่ะกลุ่ม และกลุ่มไหนกำลังจะซุ่มเข้าโจมตีกันและกัน


มวยคู่แรก ที่น่าติดตามชม คือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เจอกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

ที่ถ้ารัฐบาลทหารนี้ (ในนามรัฐมนตรีที่คุมทางด้านเศรษฐกิจ) ไม่ได้ให้ผลประโยชน์ที่เพียงพอกับสิ่งที่คุณสนธิต้องการแล้วล่ะก็ (ไม่ว่าจะเป็นASTVที่จะได้เข้าเป็นFree TVก็ดี หรือผลประโยชน์ทางการโฆษณาต่าง ๆ ก็ดี) มวยคู่นี้ เกิดขึ้นแน่นอนครับ


ซึ่งใครเป็นแฟนคลับคุณสนธิ (ที่ไม่ใช่พึ่งมาติดตามตอนเขาไล่คุณทักษิณในช่วงปีสองปีนี้เท่านั้น) จะรู้ดีว่าคุณสนธิ ไม่ถูกกับอดีตผู้ว่าแบงค์ชาติคนนี้อย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการยุให้นายกทักษิณ (ในสมัยนั้น) ปลดผู้ว่าคนนี้อย่างทันที เมื่อผู้ว่าม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลคนนี้ ดันไปปลดคนรู้ใจเขา คุณวิโรจน์ นวลแข

คุณวิโรจน์ นวลแข เป็นคนที่สนิท เพื่อนรักกับคุณสนธิเพราะว่าเขาเป็นผู้ที่เข้าที่เข้ามาช่วยตอนคุณสนธิประสบปัญหาทางการเงินในเครือ M Groupชองเขาเข้า

คุณสนธิ โจมตีผู้ว่าม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ในสมัยที่ตอนรัฐบาลทักษิณ ยังเรืองอำนาจอย่างที่สุด พร้อมแถมท้าย ให้รัฐบาลทักษิณ ปลดผู้ว่าคนนี้ (ในตอนที่รัฐบาลทักษิณยังผูกมิตรกับคุณสนธิ)

"วันนี้ท่านไม่ใช่คุณชายอุ๋ย ที่ทำธุรกิจส่วนตัวอยู่ และท่านก็บอกว่าท่านลาออกจากกรรมการแต่ในข้อเท็จจริงท่านก็ถือหุ้นอยู่ ท่านต้องระวังตรงนี้อย่างมากๆ ตรงนี้แหละครับคุณสโรชา ที่ผมเอง ผมไม่อยากจะให้ท่านพลาด

ในเมื่อท่านสามารถเอานโยบายของการควบคุมทางการเงินที่เขาเรียกว่าบัสเซิลทู ซึ่งตามกฎกติกาแล้วเมืองไทยจะใช้เมื่อปี 2550 ท่านบอกว่าท่านอยากให้สถาบันการเงินไทยดี เอามาใช้เดี๋ยวนี้เลย ในเมื่อท่านมีวิสัยทัศน์อย่างนี้ ท่านลาออกมาเล่นการเมืองดีกว่า ท่านอย่าอยู่เลย เพราะถ้าท่านอยู่ไปแล้ว ท่านทำอะไรไป เดี๋ยวคนหาว่าท่านเป็นอย่างโน้นอย่างนี้อีก"


และแน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งเดียวที่คุณสนธิพูดถึง ธนาคารกรุงไทย ในรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ในสมัยนั้น คุณสนธิยังโจมตีผู้ว่าคนนี้ทางเวปไซตร์ของเขาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในนามของเซี่ยงเส้าหลง ถึงขนาดที่กล่าวว่า

"คุณทักษิณตั้งผู้ว่าแบงค์ชาติคนนี้ได้ ก็ปลดผู้ว่าคนนี้ได้ คอยดู"


และยิ่งไปกว่านั้น คุณสนธิ ยังมองผู้ว่าคนนี้เหมือนกับว่าเป็นคนที่เข้ามาเป็นมือที่สาม ภายหลังจากการไล่รัฐบาลทักษิณออกไปได้ ทั้ง ๆ ที่เขาน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการไล่รัฐบาลทักษิณ


แต่แล้วม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล คนนี้ กลับเข้ามาเอาเนื้อปลาไปทาน


ติดตามดูกันครับ ว่ามวยคู่นี้ จะเป็นอย่างไร ฝ่ายหนึ่งมีรัฐบาลทหารหนุนอยู่ มีตำแหน่งรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจอยู่ อีกฝ่ายมีสื่อมวลชนพร้อมมาดนักพูดที่พูดให้คนเชื่อได้อย่างน่าทึ่ง ใครจะเป็นผู้ชนะ



มวยคู่ที่สองก็คือระหว่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กับ คุณเอกยุทธ อัญชันบุตร


ใครไม่รู้จักคุณเอกยุทธ แสดงว่าอาจไม่ใช่แฟนพันธ์แท้ทางการเมืองตัวจริงก็ว่าได้


ผมขออนุญาติท่านที่เชี่ยวชาญทางการเมือง ขอย้อนกลับไปเล่าว่าใครคือเอกยุทธ อัญชันบุตร อย่างBrieflyก่อนล่ะกันครับ


"จอร์จ ตัน" คือชื่อที่ "เอกยุทธ อัญชันบุตร" โด่งดังในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในฐานะมือบริหาร "เฮดจ์ฟันด์" (กองทุนบริหารความเสี่ยง) มือฉกาจ ที่เล่นกับความเสี่ยงทุกชนิด ทั้งหุ้น ค่าเงิน และความผันผวนของราคาน้ำมัน


เอกยุทธยังเป็นดีลเมคเกอร์ที่เชี่ยวชาญทางด้าน M&A(ควบรวมกิจการ) อยู่ในมาเลเซีย ธุรกิจของเขาราบรื่นในฐานะเพื่อนสนิทลูกชาย ดร.มหาธีร์ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลของมาเลเซีย


แต่ในเมืองไทยเขาเป็นนักเล่นหุ้นระดับ "พันล้าน" เข้าออกอย่างไร้ร่องรอย จนถูกตั้งฉายานามในหมู่เซียนเมืองไทยว่า "ป.(ป๊อด)ลอนดอน" ซึ่งคนมักเข้าใจผิดว่าเป็น "ปิ่น จักกะพาก" อดีตราชาเทคโอเวอร์เมืองไทยที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ


หรืออีกด้านหนึ่งของคุณเอกยุทธ อัญชันบุตร ก็คือเขาเป็นนักธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ไทยอินไซเดอร์ ในอดีตเคยต้องคดีแชร์ชาร์เตอร์ และกบฏทหารนอกราชการ เมื่อ พ.ศ. 2528 (กบฏ 9 กันยายน 2528) และหลบคดีออกนอกประเทศ เพิ่งจะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากคดีหมดอายุความแล้ว


แล้วคนนี้มาเกี่ยวอะไรกับการเมืองไทย ณ ปัจจุบัน?


เขาเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ในช่วงที่รัฐบาลทักษิณเรืองอำนาจอย่างที่สุด โดยมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ไปที่ตลาดหลักทรัพย์ ฐานอำนาจการเงินของระบอบทักษิณ


เขาเป็นคนที่ทำให้คุณทักษิณ ถึงกับท้า "ว่ามาซดกันตัว ๆ เลยดีกว่า" ต่อหน้าสื่อมวลชนในสมัยที่ทักษิณยังเรืองอำนาจสมัยนั้น


แต่แล้วก็มีบุคคลที่เข้ามาปกป้องรัฐบาลทักษิณอยู่อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ใครคนนั้นจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากสื่อมวลชนผู้ยิ่งใหญ่ นามว่า สนธิ ลิ้มทองกุล


แน่นอนล่ะ ว่าวันนี้ ด้วยจุดยืนที่จะเอาทักษิณออกไปที่เหมือนกันของทั้งคู่ก็ตาม แต่คุณเอกยุทธ อัญชันบุตร ก็ยังมีความชิงชังส่วนตัวในตัวคุณสนธิอยู่ไม่ใช่น้อยในสมัยที่มาโจมตีเขา


ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวโจมตีคุณสนธิอย่าตรงไปตรงมา ทั้งในนามแฝงของเขา(ไต๋กอ) และ/หรือ จากนามจริงของเขาเองเลยก็ตาม แถมมีคำขู่ไปถึงคุณสนธิอีกอย่างไม่กลัวเกรง ในเวปไซต์ของเขาในวันที่ 7 October 2006นี้

"ก็ขอให้พักผ่อนที่ลอนดอน (SOAS, University of London) ให้สบายๆ ก่อนแล้วกัน และถ้ากลับจากนิวยอร์กเมื่อไหร่...ไม่แน่อาจจะมีของขวัญไปฝากให้ถึงสำนักงาน…"


คู่นี้จะเป็นอย่างไร นับเป็นคู่ที่น่าจับตามองกันอีกคู่หนึ่ง ว่าคุณเอกยุทธ อัญชันบุตร จะแค่ขู่ หรือว่าเอาจริง แล้วคุณสนธิ จะสู้ หรือจะตั้งรับ อันนี้ผมเอง ก็ตอบไม่ได้ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด


วันนี้ผมยกตัวอย่างคู่ Samples ให้ดูก่อนสองคู่ ไว้วันหลัง จะมาUpdate คู่อื่น ๆ ให้เพิ่มอีกมากครับ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กันเชิงยุทธศาสตร์ของระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ในมิติต่าง ๆ เป็นต้น


ผมเคยให้ความเห็นว่า สังคมเราพังไปแล้ว ใครบอกว่าบ้านเมืองเราสงบสุขแล้ว ผมขออนุญาติที่จะเห็นตรงข้ามด้วยเถอะครับ แต่จะพังอย่างไร คนที่จะมาตายเนื่องด้วยเหตุการณ์ Coup De'tatครั้งนี้ เป็นฝ่ายไหน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกันครับ


กล่าวโดยสรุปคือ อันนี้ผมไม่ได้มองว่าใครถูกใครผิด เพราะถึงที่สุดแล้ว ผู้ชนะก็จะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เสมอ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า "The Winners Write History"


ถึงที่สุดแล้ว คุณจะเห็นว่า รัฐศาสตร์ ก็คือเป็นการศึกษากระบวนการแบ่งปันและถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เป็นศาสตร์ที่แย่งช่วงชิงอำนาจของกันและกัน คนนึงไป คนนึงมา ไม่มีจีรังยั่งยืน


หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือรัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง กระบวนการทางการเมือง สถาบันทางการเมือง รวมถึงปรากฎการณ์ต่างๆทางการเมือง การกำหนดยุทธวิถีในทางการเมือง ตลอดทั้งการนำพาประเทศไปในทิศทางต่าง ๆ โดยใช้การเมืองเป็นพื้น
ฐานของการขับเคลื่อนประเทศ


การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ โดยอาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอี่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้น


โดยส่วนตัว บางครั้ง ผมก็ไม่ตำหนิฝ่ายที่เล่นการเมืองเชิงมิติของยุทธวิธีนะ เพราะผมเข้าใจว่าเขาจำเป็น


แต่บางทีเราเล่นกันเกินไป คือตอนนี้การเมืองไทย เขาเล่นกันแบบหมดหน้าตัก คือคนนึงต้องอยู่ อีกคนต้องไป สังคมเลยแตกเป็นสองส่วนอย่างเห็นได้ชัด อันนี้มันเกินไป แล้วผมถามว่าสังคมแบบนี้หรือ เป็นสังคมที่คนไทยอยากจะอยู่ จริง ๆ


สังคมที่มีแต่ความเกลียดชัง สังคมที่เราต้องเห็นอีกคนเป็นคนที่เป็นสีขาว อีกคนต้องเป็นสีดำ

แล้วสุดท้าย ประเทศชาติเราได้อะไรหรือครับ ?

Tuesday, October 03, 2006

 

Rule of Law

นิติรัฐ หรือที่เรียกกันว่า "Rule of Law" หมายถึง รัฐที่มีการปกครองด้วยกฎหมาย การดำเนินการต่างๆของนิติรัฐย่อมต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งเป้าหมาย รูปแบบวิธีการ และเนื้อหาขอบเขต

หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่ง หลักนิติรัฐนั้นคือ รัฐที่กฎหมายเป็นใหญ่ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน ยอมรับว่าคนจะเชื่อใจการใช้อำนาจของรัฐได้ ว่าจะไม่ออกมารังแกประชาชน

หลักการของนิติรัฐ ก็คือการปกครองโดยกฎหมาย เป็นแบบของการจัดตั้งระบบการเมืองการปกครอง (political system)

ที่อิงอยู่บนฐานรากของหลักยึดพื้นฐาน 3 ประการคือ

(1) ความชอบด้วยระบบกฎหมาย (legal system)

(2) ความชอบด้วยกฎหมาย (legality)

(3) ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (constitutionality)


ทั้งนี้ เพื่อให้หลักยึดพื้นฐานดังกล่าว ทำหน้าที่ในการจัดกรอบการสร้างระบบกฎหมายและระบอบการเมืองการปกครองของรัฐให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และการจัดกรอบการออกกฎหมายให้เป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วย


ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร หลักนิติรัฐก็ถูกทำลายลงด้วย สิ่งซึ่งคุ้มครองเราทั้งหลายสิทธิเสรีภาพทั้งหลายถูกจำกัดลง แม้เราไม่รู้สึก จริง ๆแล้วมันไม่เหมือนเดิมแล้ว


ผมเชื่อว่าสังคมไทยควรจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการเอาคนที่ตัวเองไม่ชอบออกไปโดยรู้จักอดทนเพียงพอที่จะแก้ปัญหาไปตามลำดับ ไม่ใช้โดยการฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อจะเอาคนที่ตัวเองไม่ชอบออกไป


แม้ว่าการเลือกตั้ง จะไม่ใช่ทุกอย่างของระบอบประชาธิปไตย แต่อย่างน้อยก็มีฐานความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย แต่การรัฐประหารไม่มีพื้นฐานของความชอบธรรมแห่งมิติประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง

Monday, October 02, 2006

 

General Surayud Chulanont, Interim PM

-

เรามาฟื้นความจำกันกับข่าวBBCกันหน่อยครับ ว่าปี1992 มีใครกล่าวไว้อย่างไรบ้าง

" In 1992, After expressing his displeasure at the crackdown, in which many civilians were killed, General Surayud Chulanont began to campaign for a more modern, accountable army, telling Time magazine: "It convinced me that the army should never be involved in politics." ", from BBC News

เรื่องนี้ มีหลายฝ่ายยินดี หลายฝ่ายอยากจะไว้อาลัย กับเหตุการณ์ครั้งนี้ของประเทศไทย

เช่น

ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ที่ได้นายกรัฐมนตรี(ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง)มาจากศิษย์เก่าของโรงเรียนเป็นคนแรกในปี 2549 หลังจากที่มีศิษย์เก่าจากโรงเรียนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี 2519 - 2520 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช

และในมิติกลับกัน

ขอแสดงความอาลัยกับหลายท่านที่ไม่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 โดนฉีกทิ้งโดยการทำรัฐประหารในปี2549 และประชาธิปไตยของประเทศไทยที่ย้อนหลังไป15-39ปี

ยินดีและไว้อาลัยด้วยครับ

ผมมีเรื่องเล่าสนุก ๆ เล่าให้ฟังครับ ถือว่าคลายเครียดไปในตัว

ใคร
เคยติดตามข่าวงานศิษย์เก่านักเรียนไทยของOxBridge ที่คุณอนัน ปันยารชุน (Cambridge) มาโต้วาทีแข่งกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Oxford)

บรรยากาศในงาน เป็นไปอย่างกันเอง

คุณอนัน เริ่มโจมตีค่ายOxfordก่อน โดยกล่าวว่า Oxford ยังไม่มีนายกรัฐมนตรีเลย แต่Cambridgeมีแล้ว (คือตัวเขาเอง)

คุณอภิสิทธิ์ ในสไตร์ขุนพลของพรรคประชาธิปปัตย์อยู่แล้ว เลยกล่าวกลับไปว่า ถึงค่ายOxford ยังไม่มีคนไหนเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย แต่ค่ายOxford ก็มีหัวหน้าฝ่ายค้านที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ก็แล้วกัน

เล่นเอาเรียกเสียงฮาได้จากผู้ชม ผู้ฟังได้หลายอยู่


แล้วคุณล่ะ

ถ้าให้คุณเลือก ระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ จะเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านที่มาจากการเลือกตั้ง

คุณจะเป็นแบบไหน?


แบบไหนที่จะรักษาความภูมิใจในตัวตำแหน่งได้มากกว่ากัน

แบบไหนที่จะรักษาคุณค่าทางสังคมของระบอบประชาธิปไตยมากกว่ากัน


แบบไหนที่จะรักษาฐานความชอบธรรมจากปวงชนมากกว่ากัน


แบบไหนที่จะรักษาฐานความชอบธรรมของมิติทางด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มากกว่ากัน

แบบไหนที่จะรักษาคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยได้มากกว่ากัน



ผมคงตอบไม่ได้

ให้ผู้อ่านทุกท่านได้คิด วิเคราะห์และตัดสินใจกันเองก็แล้วกันครับ

-----

Additional Information:

มีคนคอมเม้นผมเข้ามา บอกว่าจริง ๆ มีนายกรัฐมนตรีท่านอื่นอีก ที่จบจากมหาวิทยาลัยOxford ก็ขอขอบคุณที่ช่วยแนะนำครับ ซึ่งผมเข้าใจว่าคุณอนันกับคุณอภิสิทธิ์ คงจะหมายถึงบุคคลเท่าที่ไปร่วมในงานน่ะครับ อย่างท่านหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านคงไม่สามารถไปร่วมในงานรวมศิษย์เก่าได้น่ะครับ เพราะว่าท่านเสียไปแล้ว

ยังไงก็ขอบคุณที่ทักท้วง แนะนำกันเข้ามานะครับ

ยินดีอย่างยิ่งครับ เพราะผมก็ไม่ใช่เทวดาที่ไหน บางครั้งก็อาจจะผิดกันได้ก็ได้

ขอบคุณครับ

Saturday, September 30, 2006

 

UIUC Ph.D. Candidate View

-

วันนี้ได้เข้าไปอ่านบทความของว่าที่ด๊อกเตอร์ทางกฏหมายอีกท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Illinois Urbana-Champaign (UIUC), United States (คุณ POL_US)

เลยเอามาให้อ่านครับ ว่าเขาคิดเห็นอย่างไร และแตกต่างหรือเหมือนกับแนวความคิดของผมอย่างไร

"ผมว่านะ .... กงล้อประวัติศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรอก ... คอยติดตามดูแล้วกัน ..... ตั้งแต่ในอดีตมา 'รัฐประหาร ... ประชาชนยินดี ... ผู้นำรัฐประหารพยายามครองอำนาจและแสวงประโยชน์ ... ผู้ยึดอำนาจหรือพวกพ้องร่ำรวยล้นฟ้า .... ประชาชนเพิ่งรู้สึกตัว .... เรียกร้องประชาธิปไตย ..... ตามด้วยประชาธิปไตยเบ่งแบนแบบสุด ๆ จนดูเหมือนไร้ขอบเขต ..... คอรับชั่นแพร่หลาย มากับนักการเมืองที่เรามองว่าชั่ว ...... แล้วก็รัฐประหาร .............ประชาชนออกมายินดี ........'

กงล้อประวัติศาสตร์ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง .... แล้วคุณจะกลับไปอยู่ในวงล้ออย่างนั้นหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ใจจะไขว่คว้าครับ "

"Thailand subjected to evil circle at all the time as my following elaborated:

Notorious corruption problems in politics -- Coup d'tate -- No protest; no violence; greeting by people who hate civilian government -- Attempt to continously dominate political mechanism by coup leader -- Publicly protesting by people -- Democracy plus anarchy -- Notorious corruption problems in politics again. "


บางท่านอาจจะคิดและตั้งคำถามกับผมว่า แล้วไม่มีกลุ่มคนที่องค์ความรู้ใกล้เคียงผม (หรือมากกว่าผม) มีความเห็นต่างกับผมบ้างหรือ?

ผมก็เรียนตามตรงว่าก็ต้องมีอยู่แล้วครับ เพราะว่าบางทีการเลือกข้างที่ตัวเองชอบ ก็ไม่ได้มาจากฐานทางความรู้ที่มีอย่างเดียว อาจจะมีปัจจัยอื่นเป็นตัวส่งผลเข้ามามากมาย มิติของความรู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นฐานของการตัดสินใจ แต่สุดท้ายแล้ว บุคคลนั้น ๆ ก็จะเอาหลาย ๆ อย่างเข้ามาในการตัดสินใจของตัวเอง

ซึ่งผมไม่กล้าบอกหรอกครับ ว่าความคิดเห็นของผมต้องถูกต้อง หรือในมิติกลับกันก็คือความคิดเห็นต่างกับผมต้องไม่ถูกต้อง

แต่ผมเคราพความเห็นต่างกับผมนะ คุณอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร ผมไม่ซีเรียส และผมก็ยินดีที่จะเคราพความเห็นของผู้อื่น ให้เกียรติความคิดของผู้อื่น

ผมว่าอันนี้สำคัญมาก เป็นสิ่งที่คนไทยควรจะต้องมี ถ้าเราไม่ให้เกียรติกัน สังคมเราเดินไปไหนไม่ได้หรอกครับ

เชื่อผมเถอะครับ

"I may not agree with what you say, but to your death I will defend your right to say it."

Voltaire: 1694-1778; Fr. Writer and philosopher


และขอฝากไว้อีกอย่างครับ


ว่ามิติของการให้ความรู้จะทำให้ประเทศไทยยั่งยืน แต่มิติการให้ความ
dramatize มิติของการไม่ให้เกียรติความรู้ผู้อื่น จะทำให้ชาติพัง และแตกเป็นเสี่ยง ๆ


Friday, September 29, 2006

 

Oxford Ph.D. View

-

วันนี้พึ่งพูดถึงมหาวิทยาลัยOxfordไป ไม่ทันไร มีคนรู้จักที่เป็นคนต่างชาติที่เรียนจบPh.D.จากOxford ก็อีเมลมาหาเลย ไม่รู้ทำไมบังเอิญจังเลย

ผมตัดเอาข้อความบางส่วนจากอีเมลผม มาให้อ่านกันสนุก ๆ ล่ะกันครับ ว่าในมุมมองของคนต่างชาติจบการศึกษาระดับPh.D.จากOxford

ว่าเขาคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้


" I'm looking forward to see what changes the Coup leaders have brought about.


Thailand has never been short on ruthless generals with a lust to rule. By my calculation since 1932 when clique of army officers overthrew the last absolute monarch, Thailand has suffered 18 coups.


I guess the Coup will be unpopular with the farmers and with the poor but popular with the people of Bangkok, who have long wanted Thaksin out. (I was certainly no great admirer of his corruption but liked his work with the poor and his attenpt to crack down on the terrorists in the South). But I have a great concern that Thailand 's young democracy once again is in the hands of the army.


Some argue that Thailand's generals did the right thing they removed Thaksin whose business dealings tarnished his government, and they have resolved a political stalemate that had paralyzed Thailand for all of this year.

But I wonder if by going outside the democratic system to save Thailand, the now ruling "old guard"the military leadership and its backers in the Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy has done more harm than good.


For a start, they have shown an apparent indifference toward the majority of Thais, especially the rural population that still staunchly supports Thaksin. Their voices have been silenced by the refusal of the Council to hold a fresh ballot for at least a year.


Equally troubling is that the Council has bypassed or undermined democratic institutions such as parliament and the Constitutional Court, which renders judgment on issues such as the validity of elections.


The Council says fresh elections will be held in a year; that's too long to wait. It is only through a return to genuinely accountable, elected government that Thailand can have long-lasting stability and prosperity. A house full of mice eating at the foundations of Thailand's democracy is a health hazard to all."


คุณ ๆ ท่าน ๆ อ่านกันแล้ว คิดเห็นกันอย่างไรล่ะครับ??

ไว้อาลัยหรือว่าดีใจกับเหตุการณ์ Coup d'etat ครั้งนี้กันเหรอครับ

เหอ ๆ


สำหรับตัวผมเอง ผมคงไม่บอกว่าผมเห็นด้วยหรือเห็นต่างกับมิติความเห็นข้างต้น แต่ที่แน่ ๆ คือผมเคราพในความเห็นของเขา ผมเคราพความเห็นของผู้อื่น ที่แม้ว่าจะเหมือนหรือไม่เหมือนตัวผมเองก็ตาม

แต่ผมก็เคราพ และยินดีรับฟังครับ

Thursday, September 28, 2006

 

Students at Oxford regret coup

-

ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเราแตกความคิดเห็นออกเป็นสองฝั่งอย่างDramatize และทำให้เกิดการดูถูกกันระหว่างกลุ่มอย่างรุนแรงเฉกเช่นปัจจุบัน เกิดการไม่ให้เกียรติทางความคิดของกลุ่มบคคลฝั่งตรงข้าม

ยกตัวอย่างเช่น

ว่ากลุ่มหนึ่งเขลากว่ากลุ่มของตัวเองบ้างล่ะ อีกกลุ่มหนึ่งมิติขององค์ความรู้ไม่พอบ้างล่ะ หรืออีกกลุ่มไม่มีการศึกษาพอบ้าง มิติการคิดต่ำกว่าStandardบ้างล่ะ


บางท่านไปดูถูกกลุ่มรากหญ้าบ้างว่าไม่มีความรู้

บางท่านก็ไปดูถูกกลุ่มพันธมิตรบ้าง ว่าเชื่อใดยไม่ใช้สติ


ผมมีความเชื่อมั่นว่ามิติของการดูถูกกันอย่างนี้ ผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่าจะนำพาให้สังคมเราแตกเป็นเสี่ยง ๆ

สังคมที่ความคิดDramatizeเกินไป ไม่ใช้เหตุและผลในการแก้ปัญหา ไม่เคราพให้เกียรติผู้อื่น เป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ เป็นสังคมที่ขาดหลักที่จะยึดเหนี่ยวสังคม


ผมสมมติว่าถ้าเกิดเราไม่มีหลักของสังคมที่เป็นตัวยึดประเทศไว้ แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ประเทศไทยเราจะอยู่ได้อย่างไร น่าเป็นห่วง



บางทีไม่ได้เกี่ยวกับความรู้ไม่พอหรอกครับ แต่บางทีคนเรามองเหรียญสองด้าน แต่คนล่ะมิติการมองเท่านั้นเองล่ะครับ


ประเด็นคือสิ่งที่เราควรทำคือการเคราพสิทธิของบุคคลฝ่ายตรงข้าม

เคราพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง รู้จักการให้เกียรติความคิดของบุคคลฝ่ายตรงข้าม อันนี้สำคัญครับ


ผมเชื่อว่าถ้าสังคมเราไม่ให้เกียรติกันแล้ว สังคมเราอยู่กันไม่ได้หรอก บ้านเมืองเราจะเดินไปข้างหน้าไม่ได้หรอกครับ


อันนี้ผมเชื่อเป็นการส่วนตัว ว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหน หรือฝั่งที่เป็นกลางจริง ๆ ทุกฝ่ายก็อยากให้บ้านเมืองเราอยู่กับล่องกับลอย ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง


แต่อาจต่างกันที่มิติของการImplement ต่างกันด้วยกลยุทธวิธีการของแต่ล่ะบุคคล


วันนี้ผมเลยเอาความเห็นของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่น่าจะเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นบุคคลที่เขลา มาให้อ่านกันครับ เป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยOxford


ที่ ๆ เดียวกับที่ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับปริญญาโทมา ก่อนที่ปัจจุบันจะมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์นั่นแหละครับ


หรือก็คือที่เดียวกับ Tony Blair, PM of UK นั่นแหละครับ ที่เดียวกัน


Oxford - A discussion group of postgraduate Thai students at Oxford University, called "Oxford Initiative" (OI) said at a meeting last Thursday that the group was in the process of issuing a statement to express disagreement with the coup. The monthly informal discussion, which was held at the Royal Oak pub on Woodstock Road, represented the first reaction to the coup from Thai students in the United Kingdom


Speaking on condition of anonymity, a leading Oxford Initiative member said he regretted that the Thai military had chosen to achieve political ends through non-democratic means.


"I don't understand why the problem cannot be solved through a dialogue and people's participation. Democracy cannot exist without people expressing their views. So I'm preparing a statement to express the group's disagreement with the coup,'' said a member of Oxford Initiative.


Another member of the OI said that there had been informal talks within the Thai students' community at Oxford, but most of them hesitated to express their views publicly. The same student admitted that the current state of political situation in Thailand was not so conductive to students voicing critical views of the political situation. As a result Oxford Initiative emerged as the only group to put forward their views to the media.


All OI members hope that the Council for Democratic Reform (CDR) will return a civilian rule to Thailand as soon as possible. "I hope that the CDR will allow the Thai people to have their say as soon as possible,'' an OI member said.

The Nation

หรือว่ากลุ่มนักศึกษาOxfordกลุ่มนี้ จะเขลาเท่ากับกลุ่มที่คุณไม่เห็นด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ (รึเปล่าครับ)


ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน


ผมคิดว่าวันนี้เราเล่นการเมืองเกินจุดที่เราควรเล่น คือเราเล่นกันแบบหมดหน้าตัก


คือไม่เอาจนตัวเองตายก็ต้องเอาอีกฝั่งให้ตายให้ได้ ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมโดยรวมเสีย ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย มันจะเป็นแผลในใจของคนกลุ่มนึง


ซึ่งอาจจะคือกลุ่มที่แพ้กลุ่มไหนก็ตาม ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา เป็นคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

 

Ultraman vs Coup

-












Ultraman: We want democracy back, and therefore we will kick you out from Thailand now.

Coup: Freeze now!! We have many tanks to attack you if you don't freeze.

Ultraman: No. We will fight until we got the democratical country back.

Coup: Fight back!!!!!!!

เห็นรูปนี้ผมก็อดขำไม่ได้ อันนี้ไม่ได้เห็นด้วยหรือในทางตรงข้ามผมก็ไม่ได้เห็นต่างอะไรในตัวรูปนี้นะครับ กล่าวคือไม่ได้มีนัยยะทางการเมืองไทยแต่อย่างใด แต่เห็นแล้วก็ขำจริง ๆ ครับ ว่าคนคิดเรื่องนี้ คิดได้อย่างไร แถมมีแปลงร่างให้ดูอีก



เชื่อเลยว่า

"Imagination is more important than knowledge"


วันนี้คลายเครียดวันนึงนะครับ เดี๋ยวคนอ่านจะเครียดกันที่เอาแต่เนื้อหาวิชาการมาให้อ่านกันเยอะไป การเมืองต้องอย่าไปซีเรียสกับมันมากครับ

If you feel serious about Thai politics, I suggest you to take a deep breath and chill out.

Wednesday, September 27, 2006

 

What is Democracy?

-

วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับคำว่าประชาธิปไตยกันเถอะครับ ว่าความหมายของตัวประชาธิปไตยเอง หมายถึงอย่างไร

Definition of Democracy:

Democracy, from wikipedia website, (literally "rule by the people", from the Greek demos, "people," and kratos, "rule") is a form of government for a nation state, or for an organization in which all the citizens have a vote or voice in shaping policy.

เห็นหลายคนเข้าใจความหมาย Democracyไปในตามความเข้าใจของตัวเอง ผมเลยเอาความรู้เรื่อง Democracy ที่เป็นสากลมาให้ดูกันครับ ไม่รู้ว่าจะเบื่อกันไหม ถ้าน่าเบื่อก็ขออภัยด้วยครับ

บางท่านบอกว่ารู้จัก Democracy ดี ใครบ้างเอ๋ยที่จะรู้ว่า Democracy มีด้วยกันกี่ชนิดด้วยกัน

1. Direct

Direct democracy is a political system where the citizens vote on all major policy decisions. It is called direct because, in the classical forms, there are no intermediaries or representatives. Current examples include many small civic organizations (like college faculties) and town meetings in New England (usually in towns under 10,000 population).

2. Representative

Representative democracy is so named because the people select representatives to a governing body. Representatives may be chosen by the electorate as a whole (as in many proportional systems) or represent a particular district or constituency), with some systems using a combination of the two. Some representative democracies also incorporate some elements of direct democracy, such as referenda.

Liberal

Liberal democracy is a representative democracy (with free and fair elections) along with the protection of minorities, the rule of law, a separation of powers, and protection of liberties (thus the name liberal) of speech, assembly, religion, and property. Conversely, an illiberal democracy is one where the protections that form a liberal democracy are either nonexistent, or not enforced. The experience in some post-Soviet states drew attention to the phenomenon, although it is not of recent origin. Napoleon for example used plebiscites to ratify his imperial decisions.


หลักการของระบบประชาธิปไตยประกอบด้วย 5 หลักการคือ

1. หลักเสียงข้างมากที่รับฟังเสียงข้างน้อย (Majority Rule and Minority Right)

2. หลักเสรีภาพ (Rule of Freedom) ทุกคนมีเสรีภาพในการครองชีวิต ที่ไม่ไปละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น

3. หลักเสมอภาค (Rule of Equity) ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการบริการพื้นฐานของรัฐเท่าเทียมกัน

4. หลักผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง (Popular Sovereignty) เพราะผู้บริหารที่มาปกครองบ้านเมืองเป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง และทำสัญญาประชาคมกับประชาชนว่าจะมาทำงานใดให้กับประชาชน

5. หลักกฎหมาย (Rule of Law) กฎหมายที่ออกมาต้องบังคับใช้กับทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียมกัน

เอาล่ะ ถ้าเรามาCompareกับบ้านเมืองเราดู เรามาดูว่ารัฐบาลทักษิน เข้ากับหลักข้อไหน และไม่เข้ากับหลักข้อไหนบ้าง

หรือถ้าอีกมิติหนึ่งก็คือว่าคปป.หรือรสช.จะเข้าหรือไม่เข้ากับหลักข้อไหนบ้าง อันนี้ผมให้แต่ล่ะคนวิเคราะห์กันเองนะครับผม

อ๊ะ ๆ จะมาถามผมล่ะสิ ว่าผมคิดเห็นอย่างไร ไม่ตอบหรอก รู้หน่า จะจัดข้างให้ผมใช่ไหมล่ะ :P ยังไงก็ปล่อยผมอยู่ตรงกลางเป็นคนให้ความรู้คนอื่น ๆ ล่ะกันนะครับ

ไม่รู้จะทำให้หลายคนง่วงนอนไหม เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนล่ะกันครับ

Monday, September 25, 2006

 

มูชาราฟ ปัดข่าวรัฐประหารระหว่างไปต่างประเทศ

-

" ประธานาธิบดีเปรเวซ มูชาราฟ ของปากีสถาน ออกมาปฏิเสธข่าวลือที่ว่ามีการก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทหารของเขาในช่วงที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกา พร้อมกับย้อนถามผู้สื่อข่าวว่า ปากีสถานเป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือถึงได้เกิดรัฐประหารง่าย ๆ "


อันนี้ผมไม่ได้กล่าวเองนะครับ แต่เป็นประธานาธิบดีเปรเวซ มูชาราฟ ของปากีสถาน ณ วันที่26 September 2549 วันนี้พอดีตื่นขึ้นมาลองมาอ่านข่าว ก็เจอเขาเขียนอย่างนี้ ฟังแล้ว ก็นึกสงสารประเทศเราเหมือนกันเนอะครับ เจอขนาดประเทศปากีสถานยังพูดอย่างนี้เลย เหมือนเขาตั้งใจจะว่ากระทบชิ่งเราเลย ว่า

"ปากีสถานเป็นประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศไทยหรือ ถึงได้เกิดรัฐประหารง่าย ๆ อย่าเอาประเทศปากีสถานไปเทียบกับประเทศเยี่ยงนั้น ผมรับไม่ได้"



บางคนมาถามผมว่าประเทศไทยเรา จะย้อนกลับไปกี่ปี บางคนบอกย้อนไป10ปี บางคนบอก15ปี

โดยส่วนตัวผม ในแง่ของเศรษฐกิจหรือในแง่สังคม ผมคงตอบไม่ได้ว่าย้อนไปไกลขนาดไหน แต่ถ้าผมมองในแง่ความเติบโตของระบอบประชาธิปไตยของไทยเรา ผมมองว่ามันย้อนไป15-39ปี อันนี้ ผมมีเหตุผลในมิติคำตอบของผมเอง ไว้ว่าง ๆ เดี๋ยวจะมาตอบเหตุผลล่ะกันครับ ว่าทำไมผมคิดอย่างนั้น

บางคนก็บอก "We stepped backward to move forward" โอเค ผมก็ฟังนะ ผมก็คิดอยากให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เถอะ แม้ว่าทางวิชาการแล้วมันจะเป็นไปไม่ได้ก็ตาม

เมื่อวานก็นั่งถกกับเพื่อนต่างชาติเรื่องนี้ เขาถามคำถามที่ผมไม่รู้จะตอบยังไงมาหลายคำถาม ไว้จะเอามาเล่าสู่กันฟังด้วยเช่นกันครับ


Sunday, September 24, 2006

 

Update News

-

ผมจะUpdateในหัวข้อ Future Political Analysis - Questions and Answers ที่อยู่รองล่างสุดเป็นหลักนะครับ ถ้ามีคนไหนถามผมมา มาจะเอาลงหัวข้อนี้เป็นหลักครับ

เพิ่มเติมครับ : ว่าผมเอามาแบ่งเป็นหัวข้อด้านบนด้วย เพื่อที่จะได้อ่านง่าย ๆ ครับ

ติดตามUpdateได้ครับ เขียนหัวข้อนี้ขึ้นมาตั้งแต่ตอนวันที่23 September ครับ แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มเติมบางคำถามแทรกเข้าไป อาจจะยาวหน่อย แต่ก็ให้คนอ่านถือว่าคล้าย ๆ กับเป็นการเรียนประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ แทรกกับความรู้ทางกฏหมายไปในตัวครับ ไม่รู้คนอ่านจะเบื่อกันไหม ยังไงก็ขอให้สนุกกับการอ่านบทความผมล่ะกันครับ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

 

Power as aphrodisiac, particularly Coup Power

-

History, after all, presents many examples of military men who have found it hard to give up the power they seized.

In Pakistan, Gen Pervez Musharraf overthrew Prime Minister Nawaz Sharif in 1999 and named himself president in 2001.

He was elected to a five-year term in 2002 but - despite international and domestic pressure - has reneged on a promise to relinquish his role as head of the army.

In Chile, Gen Augusto Pinochet seized power in 1973 and finally left office in 1990, after his surprise defeat in a 1988 plebiscite which he intended would grant him a further eight years in office.

For eight years after leaving power he remained commander-in-chief of the army, immune from prosecution or removal, and then became a senator-for-life.

Nigeria's former military ruler Ibrahim Babangida - who has said he will stand in next April's presidential elections - came to power in a 1985 coup and was only toppled in 1993 by mass protests.

Power as aphrodisiac

Richard Reeve, an Africa analyst at the London-based Chatham House think-tank, says the military leaders involved in coups often remain in charge far longer than they themselves initially envisaged.

"Very often they don't intend to stay in power when they seize power - it's that old 'power as an aphrodisiac' thing. Once you have it, it's hard to give up. There's also a fear of prosecution [if they leave power].

"It's very hard to go back to your previous life as a soldier, so you would be looking for a financial pay-off, an amnesty or to keep the power yourself."

The length of time a coup leader stays in power may also depend on the size of the force behind him, Mr Reeve says, with larger, more structured armies better equipped to take over the role of government.

"There's often a feeling that the military is a more permanent institution than the political institution," Mr Reeve said.

Although Gen Sonthi and his military council have proposed a 12-month timetable for a return to a democracy, only time will tell if they stick to that commitment.


ขออภัยคนที่ไม่ชอบอ่านภาษาอังกฤษนะครับ แต่พอดีsourceมาเป็นภาษาอังกฤษน่ะครับ

http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5368328.stm


กล่าวโดยสรุปก็คืออย่างที่ผมกล่าวไปน่ะครับ ว่าบางทีเจ้าตัวที่มีอำนาจอยู่ ก็ไม่ได้อยากอยู่หรือครับ แต่ว่าจะลงก็ไม่ได้ เพราะว่าก็กลัว จะอยู่ก็จะโดนอำนาจประชาชนไล่ คือทั้งขึ้นทั้งล่อง ประวัติศาสตร์เขียนไว้ชัดครับ

อันนี้ค่อนข้างWorld Wide ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของไทยอย่างเดียวหรอกครับ ผมคิดอย่างนี้ แต่ถ้าถามไปถึงเรื่องการลงอำนาจของทหาร ว่าลงเมื่อไหร่ หลายคนถาม ว่าเขาจะลงเมื่อไหร่ ต่อให้ผมเป็นคปป. หรือ รสช.

ผมก็คงบอกไม่ได้จริง ๆ มันต้องดูเงื่อนไขและสถานการณ์ตลอดเวลา อาจจะเป็นหนึ่งปี แบบที่เขาบอก แต่เอาเข้าจริง หนึ่งปีผ่านไป รู้ได้ไง ว่าคนชอบทักษินจะไม่ออกมาชุมนุม เกิดออกมา เขาก็กลายเป็นทรราชเลยถ้าไปฆ่าคน

แต่ถ้าไม่ฆ่า ก็จะทำไงกับกลุ่มชุมนุมก็จะกลายเป็นวนลูปกับทักษินที่เคยพยายามคุมชุมนุมให้สงบ แต่ว่ายิ่งคุม ยิ่งยากครับ ไม่ง่าย ยุทธวิธีที่มีอยู่ ผมว่าไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหานี้ได้ครับ


 

Democracy


ผมไปเจอการDiscussกันระหว่างสองกลุ่มความเห็นในแง่มิติของระบอบประชาธิปไตย และเห็นแง่มุมของคุณคนหนึ่ง น่าสนใจ เลยเอามาให้ดูครับ

"Do not try to give excuses to your ignorance of the essence of democracy by quoting countries like China, Japan, and US. First, have you been working or studying in China, Japan, and US?

Will you be willing to live in China 10-20 years ago, when they gunned down students in the Square??

We only accept China, as of today, because we see it is heading more and more towards democracy where the country and people respect the free speech and freedom of others, within the limit that no others' rights are violated.

Ask Taiwanese today if they wanna join China like Hong Kong, they will say, "yeah, maybe if China become more democratic."


It has nothing to do with following the developed to every inches of details. It is about democracy was taken away from the people. And my rights and others are violated badly, when the constitution was revoked.

Quoting "Thai style" is not the excuse to get away with this issue.

We are not discussing how to build best environment-friendly autos, or best industry QCs(none of which Thailand is ever good at, anyhow), we are discussing democracy and fundamental rights.
"

โดยส่วนตัวสำหรับผม ผมว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร จะดีหรือไม่ดีอย่างไร มันคงเป็นปรัชญาที่เถียงกันไม่จบ ไม่ว่าในClassปรัชญาต่าง ๆ ก็คงถกกันได้นาน แต่แต่จากประวัติศาสตร์โลกและของไทย จากสิ่งที่เรามีประสบการณ์ และการสังเคราะห์ทางวิชาการนั้น

พบว่าการที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สามารถมีอำนาจเหนือคนกลุ่มอื่นๆในประเทศหรือสังคม ล้วนอันตราย

โดยเฉพาะเมื่อคนกลุ่มนั้นถืออาวุธไว้ เฉกเช่นทหาร ไว้ผมจะเอาประวัติศาสตร์การทำใช้กำลังเข้ายึดอำนาจของต่างประเทศมาให้ดูกัน

การแทรกแซงโดยกลุ่มผู้มีอาวุธนั้นล้วนอันตราย
และไม่เคยจบลงแบบดีๆ สักครั้งเดียว การCheck and Balanceที่ขาดหายไป จะทำให้สังคมแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ
ผมไม่อยากให้ประเทศไทยเป็นอย่างนั้น แต่ผมคงไม่สามารถ Shape ประเทศให้ไปทิศทางนั้น ๆ ได้โดยตัวผมเอง ผมทำได้แต่ให้ความรู้แก่คนอื่น ๆ ให้ทัศนะของผม แล้วก็ให้สังคมส่วนใหญ่เป็นคนตัดสินใจไป

 

Definitions of Overthrow and Coup D'etat


คนไทยยังคงสับสนและใช้ปนกันอยู่ ระหว่างคำว่าปฏิวัติ และ รัฐประหาร บางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร วันนี้โอกาสดีมาจำแนกคร่าวๆให้ฟัง

ปฏิวัติ [V] overthrow, See also: stage a revolution, Syn. เปลี่ยนแปลง, ปฏิรูป, Example: ผู้นำทหารปฏิวัติไม่สำเร็จเลยต้องหนีออกนอกประเทศ

รัฐประหาร [N] coup d'etat, See also: overthrow a government, Example: การขึ้นสู่อำนาจของเขานั้นไม่ใช่ได้มาโดยการทำรัฐประหาร แต่ได้มาโดยการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปัญญาชน, Thai definition: การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

revolution [N] การปฏิวัติ, Syn. mutiny, rebellion, revolt
revolution [N] การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง, Syn. innovation, transformation
revolution [N] การหมุนหนึ่งรอบ, Syn. circle, rotation
revolution [N] วัฏจักร, Syn. cycle

coup [N] รัฐประหาร, See also: ปฏิวัติ, Syn. revolution, overthrow
coup d'etat [N] การรัฐประหาร, See also: การชิงอำนาจ, การปฏิวัติ, Syn. putsch, takeover

*coup d'etat อ่านว่า คู-เด-ทา

อันนี้อย่าไปอ่าน โค-ดี-แต๊ด นะครับ มีเพื่อนผมอ่านผิดเยอะมาก ผมก็อดขำไม่ได้ บางคนไปเรียนต่างประเทศตั้งนาน แต่ก็เข้าใจครับ คำพวกนี้ ประเทศเจริญแล้วเขาไม่ค่อยเจอครับ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2541 ให้ความหมายทั้ง 2 คำนี้ไว้ว่า

คำ : รัฐประหาร
เสียง : รัด-ถะ-ปฺระ-หาน; รัด-ปฺระ-หาน
คำตั้ง : รัฐ; รัฐ-
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา :
นิยาม : การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง :  98/4/2


คำ : ปฏิวัติ
เสียง : ปะ-ติ-วัด
คำตั้ง : ปฏิวัติ
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ป. ปฏิวตฺติ)
นิยาม : การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง : &nbsp98/4/2


ซึ่งเราจะใช้ในโอกาสต่างๆดังนี้ (จริงๆแล้วถ้าไม่ได้ใช้จะดีกว่า)
ปฏิวัติ ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและล้มล้างระบบการปกครองเดิม ไปสู่การปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ ประชาธิปไตย"
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ สังคมนิยม"
"สังคมนิยม ไปสู่ ประชาธิปไตย"
ในไทยเคยมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือเมื่อปี 2475 คณะราฎร ล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตย

รัฐประหาร ใช้คำนี้เมื่อมีการยึดอำนาจและดำเนินการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลไปสู่รัฐบาลใหม่ โดยที่ยังคงระบบการปกครองเดิมไว้

แถม รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่ยกเลิกไป http://www.local.moi.go.th/law1.htm

http://www.gamer-gate.net/index.php?a=bbs&b=view&id=31454&p=1

ซึ่งจริง ๆ จะเห็นว่าไม่ใช่คนอื่น ๆ หรอกครับที่ยังไม่เข้าใจ ผมเองก็เรียกผิดเยอะครับระหว่าง
ปฏิวัติ กับรัฐประหาร ไม่เชื่อดูบทความผมสิครับ :) แต่เอาเถอะครับ ผมไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์เอกภาษาไทยเหมือนกับอาจารย์ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพิ่มเติมข้อมูลการปฏิวัติ-กบฏ-รัฐประหารในประเทศไทยนะครับ

-ปฎิวัติ 1 ครั้ง (4 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร)

-กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฎ ร.ศ.130
2.กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)
3.กบฎนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)
5. กบฎเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พย. 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)
8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)
10.กบฎ 26 มีนาคม 2520
11.กบฎยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)
12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

-รัฐประหาร 8 ครั้ง -> 9 times
1.พ.อ. พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิ.ย. 2476)
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พ.ย. 2490)
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พ.ย. 2494)
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)
6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)
7.พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)
8.พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)
9. พลเอกสนธิ ในปี2549
นั่นเอง

 

Thai Coup D’etat in 2006

Thai Coup D’etat in 2006

I decided to write this statement because I want to give you information about coup d’etat , particularly 2006 Thai coup d’etat, in the world history without any bias (i.e., purely knowledge).

What is coup d’etat?

This is the definition of coup d’etat from wikipedia information: “A coup d'état (pronounced /ku de'ta/), or simply coup, is the sudden overthrow of a government through unconstitutional means by a part of the state establishment, that mostly replaces just the top power figures.”


I truly agree with the wikipedia definition and anyway want to re-write the definition again as my opinion for easy to understand.


In my personal definition, coup d’etat is the way that the coups come up to exercise the power using their weapons of destruction rather than using any kind of democratic method, while this action always did in the non-democratic world and also be condemned by many democratic countries.


Coup d’etat can be called in Ku-DeTa- in Japanese language but I truly believe that many Japanese people do not know the definition of this word well as from my real experience (i.e. even in Japanese language), because they don’t have a chance to face with the coup d’etat action before as Japan is one of the democratic countries and the second world's largest economies in 2006.


Why do I say that the coup d’etat is for the non-democratic world?

Please see the following information[1] and observe about the name of each country, so that you will clearly understand why I said that the coup d’etat is for both of the non-democratic world and non-civilization world.

Currently-serving leaders who came to power via coups

I am quite sure that many of you don’t know each 11 countries well, as I did before, so that I want to give randomly some brief explanations.

Mauritania (Arabic: موريتانية Mūrītāniyyah), officially the Islamic Republic of Mauritania, is a country in northwest Africa. According to many sources[3] , it can be called as one of the poorest countries in the world as well as a curse bringing corruption and violence to the country.


Central African Republic[4] (French: République Centrafricaine IPA: /ʀepyblik sɑ̃tʀafʀikɛn/ or Centrafrique /sɑ̃tʀafʀik/) is a landlocked country in central Africa. The Central African Republic is one of the poorest countries, if not the very poorest, in the world.


Pakistan, officially the Islamic Republic of Pakistan (Urdu: اسلامی جمہوریۂ پاکستان), is a country located in South Asia that overlaps with the Greater Middle East. The economic information[5] of this country is being a very poor country in 1947, and imprudent policies led to a slowdown markedly in the late 1990s.


Sudan (officially the Republic of the Sudan or Republic of Sudan) is the largest country by area in Africa, situated in Northern Africa. Sudan[6] has turned around a struggling economy with sound economic policies and infrastructure investments, but it still faces formidable economic problems as it must rise from a very low level of per capita output.


This is some examples of all 11 countries which is currently-serving leaders who came to power via coups. I personally believe that imprudent policies and non-democratic politics system lead to bring each 11 country as very poor countries compared to the others.


Currently, some minority Thai people are really proud themselves because their country name can be put in this above source in 2006. However, many civilization countries (i.e., surely the democratic countries and civilization world in year of 2006) don’t agree with the Thai coup d’etat and did the convictions in all aspects and all methods.


From my source information, they reported that Japan, United Kingdom, USA, European Union states (25 countries including United Kingdom), Australia, New Zealand, South Korea, South East Asia, and United Nation condemn unreservedly this 2006 Thai coup d'eta action officially and urged everyone to do likewise.


Almost democratic countries always did the sanctions in term of both of economics and politics for the country which does the coup d’etat. Surely, it is absolutely obvious that the economies of above democratic countries can be thought to be much bigger than the non-civilization and non-democratic countries as the information shows that the first and second world's largest economies[2] in this century are USA and Japan respectively. The following third, fourth and fifth world’s largest economies are from both European Union states and United Kingdom.


It means that it is very obvious that the 1-5 worlds’ largest economies condemn directly to Thailand and they intend to extremely sanction Thailand in all aspects because of the 2006 Thai coup d’etat and this will bring Thailand to be one of the world’s poorest countries very soon as Mauritania, Pakistan, Sudan, Central African Republic and many undemocratic countries.


However, I am not aware of why some Thai people who would like the coup to exercise their guns and weapons of mass destruction power without any rule of laws and constitutions, and also why they want to put their nation name in the above world history list (i.e., in the world record history of currently-serving leaders who came to power via coups).


If you were them, do you really want to proud about this action as a non-civilization and undemocratic method? Why do they don’t care about the sanctions from almost democratic countries which are the world’s biggest economies in this century? Why do they want to bring their country to be the same level as Libya, Equatorial Guinea, Lansana Conté, Blaise Compaoré, Zine El Abidine Ben Ali, Tunisia, Sudan ,The Gambia, Pakistan, the Central African Republic, and Mauritania which were expected in all senses to be as non-civilization and non-democratic countries in this century?


On 20th September 2006 in Japan, Shinzo Abe won his party's support (LDP) to replace Prime Minister Junichiro Koizumi and embarked on an agenda that includes rewriting the pacifist constitution as purely democratic way, while Thailand ended the democratic PM and replace him by military coup PM as a coup d’eta and using absolutely non-democratic technique to rewrite their constitution.


Why do Japanese people can allow the government to rewrite the constitution without using military method and undemocratic way? Why do Thai people can not rewrite the constitution with using democratic ways as civilization technique?


In conclusion, I personally believe and feel extremely confident that this coup d’tat will bring Thailand to end as street violence in 1992 in the future, because almost Thai people will not accept the rule of military again as the past, so that this country will be one of the poorest countries in the world.


References

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Coup_d'%C3%A9tat

[2]http://www.australianpolitics.com/foreign/trade/03-01-07_largest-economies.shtml

[3] http://en.wikipedia.org/wiki/Mauritania

[4] http://en.wikipedia.org/wiki/Central_African_Republic

[5] http://en.wikipedia.org/wiki/Pakistan

[6] http://en.wikipedia.org/wiki/Sudan#Economy


This page is powered by Blogger. Isn't yours?